“ตลาดฟินเทคเวียดนาม” มูลค่าสูงถึง 18 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2567

ตามข้อมูลของนักวิเคราะห์จากบริษัทการเงิน Robocash Group เปิดเผยว่าตลาดฟินเทค (FinTech) ของเวียดนาม จะมีมูลค่าสูงถึง 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2567 โดยเวียดนามเป็นหนึ่งในผู้นำอาเซียนที่เป็นแหล่งจัดหาเงินทุนแก่ธุรกิจฟินเทค รองจากสิงคโปร์ ทั้งนี้ กิจการส่วนใหญ่ราว 93% ดำเนินธุรกิจเงินร่วมลงทุน มุ่งเชื่อมโยงในการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์และกระเป๋าเงินออนไลน์

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ทางการตลาดถือว่ามีการแข่งขันกันสูง ปริมาณการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้น 152.8% นับตั้งแต่ปี 2559 และมีผู้ใช้ฟิคเทคหน้าใหม่กว่า 29.5 ล้านคน ด้วยเหตุนี้ ทุกๆวินาที ชาวเวียดนามจะใช้บริการฟินเทคอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ความต้องการบริการดิจิทัลของคนเวียดนามมีความหลากหลาย อาทิ การทำธุรกรรม การชำระเงินและกระเป๋าเงิน) นับว่าเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1270404/viet-nam-fintech-market-expected-to-reach-18-billion-by-2024.html

สมาคม Fintech กำหนดเป้าหมายภายในประเทศกัมพูชา

สมาคมการเงินและเทคโนโลยีแห่งกัมพูชา (CAFT) นำเสนอวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตของอุตสาหกรรมในการประชุมสามัญประจำปีครั้งแรก โดยงานนี้มีวิทยากรจาก ธนาคารกลางของประเทศกัมพูชา (NBC) และ องค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ ได้รวบรวมผู้นำจากภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงสถาบันบริการการชำระเงิน (PSI), การประกันภัย, การธนาคาร, การเงินขนาดเล็กและอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งประธาน CAFT มองว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรวมกลุ่มธุรกิจให้กว้างขวางขึ้น เพราะจะช่วยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นวงกว้าง ผ่านการทำงานร่วมกันภายใต้นวัตกรรมใหม่ ซึ่งในขณะนี้ CAFT กำลังดำเนินการจัดทำเอกสารแนวคิดที่จะส่งไปยัง NBC เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการการรวมกลุ่ม โดยปัจจุบันการใช้งานหลักสำหรับโซลูชันฟินเทคคือการโอนเงินแบบดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50816982/fintech-association-outlines-goals-at-its-first-annual-meeting/

เวียดนามอยู่อันดับ 2 ของการลงทุนธุรกิจ FinTech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากรายงาน ‘FinTech in ASEAN’ ที่เผยแพร่โดยธนาคารยูโอบี (UOB) เปิดเผยว่าเวียดนามดึงดูดเงินทุนในธุรกิจฟินเทค คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36 ของการลงทุนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงดึงดูดเงินทุนเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.4 ในปีที่แล้ว โดยสิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศที่ดึงดูดเงินทุนจากทั่วโลกมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51 ส่วนประเทศอินโดนีเซีย (12%) ไทย และมาเลเซีย มีสัดส่วนน้อยกว่า 2 ของการลงทุนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เวียดนามเป็นผู้นำการร่วมลงทุน (VC) ในธุรกิจ FinTech นอกจากนี้ บริษัทฟินเทคได้ตั้งตลาดเป้าหมายกว่า 300 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือคนที่กำลังมองหาการลงทุนและการให้บริการประกันชีวิต ซึ่งตลาดการชำระเงินผ่านโมบายของเวียดนาม คาดว่าจะเติบโตสูงถึง 70.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568

จำนวนคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-ranks-second-in-fintech-investment-in-southeast-asia-407593.vov

กัมพูชาได้รับการจัดอันดับด้าน “FinTech” เป็นครั้งแรก

กัมพูชาได้รับการยอมรับเป็นครั้งแรกในปี 2019 จากรายงาน Fintech100 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง H2 Ventures และ KPMG โดยทำการประเมินบริษัทฟินเทคทั่วโลกจากการริเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม และการบริการต่างๆ ซึ่งมีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในการพัฒนา โดยรายงานจาก Fintech100 มีทั้งรางวัล “Top 50” และ “Emerging 50” ซึ่งจุดประสงค์เพื่อจัดอันดับบริษัทจากทั่วโลกในอุตสาหกรรมบริการด้านการเงิน โดยทาง Clik ที่เป็นผู้รวบรวมบริการชำระเงินแบบดิจิทัลตั้งอยู่ในกรุงพนมเปญเป็นตัวแทนของประเทศกัมพูชาที่ได้รับการจัดอันดับ ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Clik ได้รับการยอมรับในด้านนวัตกรรมการชำระเงินแบบดิจิทัล โดยเมื่อเดือนที่แล้วได้รับการขนานนามว่าเป็น “ Best AI และ Machine Learning Startup” ที่งาน Asean Rice Bowl Startup Awards. โดยตลาดฟินเทคในภูมิภาคเป็นตลาดที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 72 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 ตาม Fintech Outlook ประจำปีของ Frost & Sullivan

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50661022/local-startup-earns-spot-in-fintech-ranking/

FinTech เวียดนาม โอกาสที่ Startup ไทยควรรีบคว้า

ในทุกๆปี องค์กรด้านการสนับสนุนและพัฒนาสตาร์ทอัพ (BSSC) จะจัดงาน Vietnam Startup Wheel ได้จัดงานประกวดสตาร์ทอัพใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ซึ่งในปี 2556 จนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการและธุรกิจสตาร์ทอัพราว 4,000 บริษัท และประชาชนกว่า 90,000 คน โดยงานดังกล่าวสร้างมูลค่าสนับสนุนการลงทุนกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งชาติเวียดนามยังได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฟินเทค เพื่อให้การสนับสนุนรัฐบาลในการสร้างและพัฒนาระบบนิเวศน์ของฟินเทคในประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ ทำให้ธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพในเวียดนามมีตลาดที่ชัดเจน เฟื่องฟูและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่เวียดนามยังคงเผชิญกับความท้าทายของธุรกิจ FinTech โดยสรุปได้ดังนี้ ภาวะขาดแคลนการระดมทุน, ความปลอดภัยในการดำเนินธุรกรรมทางการเงิน, กระบวนการขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจด้านฟินเทคยังคงมีความซับซ้อนและใช้เวลานาน และรัฐบาลยังขาดแคลนบุคลากรและหน่วยงานในการสนับสนุนหรือความเข้าใจในระบบของธุรกิจดังกล่าว เป็นต้น นอกจากนี้ แนวทางการดำเนินธุรกิจฟินเทคในเวียดนาม มองว่ามีศักยภาพด้านธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพในเวียดนามนับเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการลงทุนและขยายธุรกิจมายังเวียดนาม โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจการชำระเงินดิจิทัล การซื้อของออนไลน์ การท่องเที่ยว เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมทั้งการลงทุนในธุรกิจการเงินส่วนบุคคลและนิติบุคคล ตลอดจนด้านเทคโนโลยีการเกษตร สำหรับผู้ที่จะเข้าตลาดฟินเทคสตาร์ทอัพเวียดนามจำเป็นต้องศึกษาบริบทของประเทศ และจำเป็นต้องผ่านการรับรองจากรัฐบาลเวียดนามซึ่งเป็นผู้ดูแลทรัพยากรทั้งหมดของประเทศเสมอ

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/fintech-startup-vietnam