ASEAN-Korea Startup Innovation Week 2024 ต้อนรับสตาร์ทอัพด้านไอทีจากเมียนมาเข้าร่วมการแข่งขันแนวคิดนวัตกรรม

ตามข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา บริษัทสตาร์ทอัพด้านไอทีของเมียนมาได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขันนำเสนอผลงานสัปดาห์นวัตกรรมสตาร์ทอัพอาเซียน-เกาหลี ปี 2024 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 ตุลาคม โดยงานสัปดาห์นวัตกรรมปี 2024 ได้มีการเชิญชวนสตาร์ทอัพระยะเริ่มต้นของอาเซียน ซึ่งสตาร์ทอัพที่ได้รับเลือกจะต้องเข้าร่วมโปรแกรมเร่งรัดและการประชุมทางธุรกิจแบบเสมือนตั้งแต่วันที่ 2 ถึง 13 กันยายน จากนั้นพวกเขาจะต้องปรากฏตัวที่งานในเกาหลี การแข่งขันแนวคิดนวัตกรรม ซึ่งสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกจะต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการเสนอวิธีแก้ปัญหาต่อคณะกรรมการตัดสินซึ่งจะถามคำถามในวันที่ 21 ตุลาคม สตาร์ทอัพชั้นนำจะเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลและสนทนาข้างกองไฟในวันที่ 22 ตุลาคม และเข้าร่วมทัวร์ระบบนิเวศสตาร์ทอัพของเกาหลีในวันที่ 23 ตุลาคม อย่างไรก็ดี ศูนย์อาเซียน-เกาหลีจะดูแลด้านที่พักและเที่ยวบินไป-กลับสำหรับสตาร์ทอัพแต่ละรายที่ได้รับการคัดเลือกสำหรับงานนี้ และขอให้สถานทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในกรุงโซลเสนอสตาร์ทอัพ 2 แห่งเป็นตัวแทน นอกจากนี้ ตัวแทนต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติและข้อกำหนดการสมัคร ซึ่งคณะกรรมการประสานงานอาเซียนว่าด้วยวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (ACCMSME) ยังสามารถแนะนำผู้ประกอบการรายหนึ่งรายสำหรับแต่ละประเทศในอาเซียนได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/asean-korea-startup-innovation-week-2024-welcomes-myanmar-it-startups-to-join-pitch-competition/

กนอ.ประกาศเดินหน้าแผนปี’64 ศูนย์กลางฐานการผลิตของภูมิภาคอาเซียน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Industry Toward 2021” ถึงทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในปี 2564 หลังสถานการณ์โควิด-19 ในงานฉลองครบรอบ 48 ปี การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) “The Journey of Sustainable Partnership” ว่า ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวให้สอดรับกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปโดยใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงฯได้เริ่มขับเคลื่อนนโยบายหลายประการที่เป็นจุดเปลี่ยนเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนา ประการแรก คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ โดยเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมอาหาร อีกทั้งผลักดันมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมในสาขาอื่นๆ เพื่อขยายผลการพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างครอบคลุม ประการที่สอง : การยกระดับผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ช่วยสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากด้วยการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน ประการที่สาม : การส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมที่เป็น มิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของสถานประกอบการผ่านโครงการ Factory 4.0 การยกระดับสถานประกอบการสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่สอดคล้องกับแนวนโยบาย BCG ของรัฐบาล

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2486117

จำนวนธุรกิจครัวเรือนหันมาเป็นบริษัท ยังคงอยู่ในระดับต่ำ

จากรายงานของคณะกรรมการประชาชนประจำเมือง เปิดเผยว่าจำนวนผู้ประกอบการครัวเรือนหันมาเปลี่ยนสถานะธุรกิจเป็น “บริษัท” ลดลง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนธุรกิจอยู่ที่ 3,675, 3,380 และ 1,621 ในปี 2560, 2561 และ 8 เดือนแรกของปี 2562 ตามลำดับ ทั้งนี้ ทางประธานชมรมตัวแทนจัดเก็บภาษีเมือง ระบุว่าแม้จะมีความพยายามในการส่งเสริมของรัฐบาล แต่จำนวนผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นใหม่ (Startup) และธุรกิจครัวเรือนหันมาเปลี่ยนเป็นบริษัทยังอยู่ในระดับไม่สูงมาก นอกจากนี้ ธุรกิจครัวเรือนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและเจ้าของธุรกิจมีความสับสนในเรื่องของการทำบัญชีและภาษีที่ซับซ้อน รวมไปถึงไม่เข้าใจนโยบายภาษีอย่างถ่องแท้อีกด้วย และอีกหนึ่งอุปสรรคที่ไม่ให้ธุรกิจครัวเรือนหันมาเป็นบริษัทได้ คือ ภาระการผูกพันตามกฎหมายและต้นทุนทางอ้อมที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ รองประธานคณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้กรมสรรพกรของเมืองไปให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นใหม่ ในเรื่องของนโยบายภาษีใหม่ และเร่งขอให้สมาคมธุรกิจในโฮจิมินห์ให้ทำงานร่วมกับชมรมตัวแทนจัดเก็บภาษีเมือง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายภาษี

18 ล้านคน นับว่าเป็นตัวเลขทางสถิติส

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571022/number-of-business-households-turning-into-companies-remains-low.html

FinTech เวียดนาม โอกาสที่ Startup ไทยควรรีบคว้า

ในทุกๆปี องค์กรด้านการสนับสนุนและพัฒนาสตาร์ทอัพ (BSSC) จะจัดงาน Vietnam Startup Wheel ได้จัดงานประกวดสตาร์ทอัพใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ซึ่งในปี 2556 จนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการและธุรกิจสตาร์ทอัพราว 4,000 บริษัท และประชาชนกว่า 90,000 คน โดยงานดังกล่าวสร้างมูลค่าสนับสนุนการลงทุนกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งชาติเวียดนามยังได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฟินเทค เพื่อให้การสนับสนุนรัฐบาลในการสร้างและพัฒนาระบบนิเวศน์ของฟินเทคในประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ ทำให้ธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพในเวียดนามมีตลาดที่ชัดเจน เฟื่องฟูและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่เวียดนามยังคงเผชิญกับความท้าทายของธุรกิจ FinTech โดยสรุปได้ดังนี้ ภาวะขาดแคลนการระดมทุน, ความปลอดภัยในการดำเนินธุรกรรมทางการเงิน, กระบวนการขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจด้านฟินเทคยังคงมีความซับซ้อนและใช้เวลานาน และรัฐบาลยังขาดแคลนบุคลากรและหน่วยงานในการสนับสนุนหรือความเข้าใจในระบบของธุรกิจดังกล่าว เป็นต้น นอกจากนี้ แนวทางการดำเนินธุรกิจฟินเทคในเวียดนาม มองว่ามีศักยภาพด้านธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพในเวียดนามนับเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการลงทุนและขยายธุรกิจมายังเวียดนาม โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจการชำระเงินดิจิทัล การซื้อของออนไลน์ การท่องเที่ยว เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมทั้งการลงทุนในธุรกิจการเงินส่วนบุคคลและนิติบุคคล ตลอดจนด้านเทคโนโลยีการเกษตร สำหรับผู้ที่จะเข้าตลาดฟินเทคสตาร์ทอัพเวียดนามจำเป็นต้องศึกษาบริบทของประเทศ และจำเป็นต้องผ่านการรับรองจากรัฐบาลเวียดนามซึ่งเป็นผู้ดูแลทรัพยากรทั้งหมดของประเทศเสมอ

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/fintech-startup-vietnam