เวียดนามเผยเนื้อหมูที่นำเข้าจากญี่ปุ่นขายได้ดี แม้ว่าราคาจะอยู่ในระดับสูงก็ตาม

ผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่นำเข้าจากญี่ปุ่นกำลังได้รับความนิยมในตลาดเวียดนาม ถึงแม้ว่าราคาสูง 4-5 เท่าเมื่อเทียบกับสินค้าในท้องถิ่น โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดหมูแอฟริกัน (ASF) ส่งผลต่ออุปทานเนื้อหมูในท้องถิ่น ซึ่งตลาดและซูปเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในเวียดนาม มีราคาเนื้อหมูอยู่ที่ 150,000-320,000 ด่งต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า ทั้งนี้ เวีดยนามนำเข้าเนื้อหมูจากต่างประเทศ มากกว่า 70,000 ตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งผลิตภัณฑ์หมูที่นำเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับทางเลือกในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์หมูของญี่ปุ่นมีราคาสูง 4-5 เท่ากว่าตลาดในประเทศ นอกจากนี้ พ่อค้าเนื้อหมูชาวญี่ปุ่นรายหนึ่ง กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ของเขาขายดีมากกว่าหมูไอเบริโกของสเปน จำนวนยอดคำสั่งซื้อออนไลน์เกือบ 100 กิโลกรัมต่อวัน ลูกค้าส่วนใหญ่มาจากเมืองโฮจิมินห์

ที่มา : https://vnexplorer.net/japanese-imported-pork-sells-well-despite-high-prices-a202059181.html

เวียดนาม-ญี่ปุ่น ขยายความร่วมมือทางการค้าทวิภาคี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น หารือแนวทางในการสร้างความเชื่อมั่นและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างสองประเทศ รวมถึงการค้าชายแดนและข้อตกลงการค้าเสรี “CPTPP” หลังจากสิ้นสุดของโรคระบาด เศรษฐกิจหันมาฟื้นตัวในภูมิภาคและทั่วโลก ซึ่งรัฐมนตรีทั้งสองท่านต่างแสดงความกังวลต่อลัทธิกระทำฝ่ายเดียวและเน้นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการค้าข้ามพรมแดนในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวและหลังจากสิ้นสุดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP จะช่วยให้เศรษฐกิจโลกและกลุ่มสมาชิกมีการพัฒนามากขึ้น ขยายห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาคและระดับโลก ขณะที่ ส่งเสริมการใช้อีคอมเมิรซ์และเศรษฐกิจดิจิทัลในการผลิต อย่างไรก็ตาม การอภิปรายดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายแสดงให้เห็นถึงการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อขยายการค้าทวีภาคีมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแค่ข้อตกลง CPTPP แต่ยังมีข้อตกลงอื่นๆอีก เช่น หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลง ASEAN-Japan เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-japan-seek-to-expand-bilateral-trade-ties/177873.vnp

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผย 8 สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มี 8 รายการสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.4 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด จำแนกสินค้า ดังต่อไปนี้

  • โทรศัพท์และชิ้นส่วน 21.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (17.7%)
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 19.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 19.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (15.9%)
  • เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ 12.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (10.5%)
  • เครื่องจักรและส่วนประกอบ 10.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รองเท้า 8.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.7%)
  • ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.1%)
  • ยานพาหนะและส่วนประกอบ 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.1%)
  • อาหารทะเล 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.9%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/8-commodities-with-export-value-of-over-3-billion-usd/177870.vnp

INFOGRAPHIC : เวียดนามเกินดุลการค้า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าเวียดนามเกินดุลการค้า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 โดยแบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออก 121.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้า 117.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าสำคัญ ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ, เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบ, รองเท้า เป้นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-trade-surplus-tops-4-billion-usd/177871.vnp

ยอดค้าปลีกเวียดนาม 6 เดือนแรก เพิ่มขึ้นแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโรคระบาด

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าปลีกสูงถึง 1,895,600 พันล้านด่ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79.6 ของมูลค่าทั้งหมดและเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้น เมื่อภาครัฐดำเนินมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมนั้น ทำให้ผู้คนมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ในขณะที่ เครื่องใช้ในครัวเรือนและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ทั้งนี้ เมือง/จังหวัดที่มีการทำธุรกรรมการค้าปลีกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ได้แก่ ไฮฟอง (10.4%) รองลงมาโฮจิมินห์ (10.1%), ฮานอย (9.9%, ด่งนาย (8.4%), บินห์ดินห์ (4.3%), บ่าเหรี่ยะ-หวุงเต่า (3%) และทัญฮว้า (0.9%) ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน รายได้จากที่พักและบริการจัดเลี้ยง อยู่ที่ 234,700 ล้านด่ง ลดลงร้อยละ 18.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ลดลงอย่างรุนแรงถึงร้อยละ 26.1 เนื่องจากผลกระทบของมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/retail-sales-enjoy-sixmonth-increase-despite-epidemic-impact-415539.vov

คนเวียดนามกว่า 7.8 ล้านคนได้รับผลกระทบจาก COVID-19

กระทรวงแรงงาน ภายใต้กระทรวงแรงงาน ผู้พิการและสวัสดิการสังคม (MOLISA) เปิดเผยว่าคนตกงานสูงถึง 1.4 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูป ค้าปลีก โลจิสติกส์และภาคธุรกิจการบริการ เป็นต้น บริษัทยักษ์ใหญ่บางแห่ง ประกาศปลดพนักงานเพิ่มขึ้น อาทิ บริษัทผลิตรองเท้าสัญชาติไต้หวัน “Pouyuen Vietnam” เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างรายใหญ่ที่สุดในเมืองโฮจิมินห์ ในขณะที่ บริษัทรองเท้าอีกเมืองหนึ่ง “Hue Phong Footwear Jsc” ลดจำนวนแรงงานลงเหลือครึ่งหนึ่ง 4,600 คน ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนผู้คนที่ได้รับประโยชน์จากการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เป็น 565,000 ราย ส่งผลให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินประมาณ 7 ล้านล้านด่ง (300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวของ GDP ในช่วงครึ่งปีแรก อยู่ที่ 1.81% ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก การว่างงานเพิ่มขึ้นและธุรกิจมีรายได้ลดลง ท่ามกลางมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/78-million-vietnamese-workers-jobs-affected-by-covid19-415530.vov

Vietnam Economic Factsheet : Apr.2563

เศรษฐกิจเวียดนาม ประจำเดือนเมษายน 2563

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

  • พื้นที่การเกษตรกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IPI)
  • ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้านการใช้จ่าย

  • ยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคล
  • การใช้จ่ายภาครัฐบาลรวม
  • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่, ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การค้าระหว่างประเทศ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
  • ทุนสำรองระหว่างประเทศ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด

ภาคการเงิน

  • ปริมาณเงินความหมายกว้าง (M2)
  • อัตราแลกเปลี่ยน
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • สินเชื่อในประเทศ