ส่งออกกุ้งเวียดนามไปยังแคนาดา โต 32%
สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงครึ่งปีแรกของเดือนพ.ค. ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เป็นมูลค่า 54.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในเดือนม.ค. การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เผชิญกับภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกในเดือนที่ผ่านมา มีการเติบโตในอัตราเลขสองหลัก (Double-Digit Growth) ทั้งนี้ แคนาดาเป็นผู้นำเข้ากุ้งรายใหญ่ของเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 6 ของตลาดต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.7 ของยอดส่งออกทั้งหมด ในขณะที่ ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นมูลค่า 49.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ศูนย์กลางการค้าโลก (World Trade Center) ชี้ว่าในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ เวียดนามนำเข้ากุ้งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาอินเดีย เวียดนาม ไทย จีนและเอกวาดอร์ ตามลำดับ สำหรับราคาเฉลี่ยส่งออกกุ้งของเวียดนาม มีราคาสูงสุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดแคนาดา
ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-shrimp-exports-to-canada-surge-32-21651.html
เวียดนามเผย 5 เดือนแรก ยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์โต
กรมศุลกากรเวียดนาม (GDC) เปิดเผยว่าเดือนพ.ค. ยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ลดลง แต่ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ กลับเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่แล้ว การส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังต่างประเทศ ลดลงร้อยละ 3.7 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 9.7 ในแง่มูลค่า ด้วยปริมาณ 42,821 ตัน และมูลค่า 263.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ในขณะที่ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกสินค้าดังกล่าว เพิ่มขึ้นทั้งในแง่ปริมาณและมูลค่า ร้อยละ 17.1 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ของยอดส่งออกทั้งหมด รองลงมาสหภาพยุโรป ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ร้านอาหารและโรงแรมในสหรัฐฯและยุโรปนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์แปรรูปลดลง
ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cashew-nut-exports-grow-in-first-five-months/177379.vnp
ลิ้นจี่เวียดนามที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น “ขายหมด”
ผู้อำนวยการสำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบทในจังหวัดบั๊กซาง กล่าวว่าลิ้นจี่สดที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นนั้น คาดว่าจะขายได้ดี ซึ่งในวันที่ 21 มิ.ย. ทางจังหวัดดังกล่าว ส่งออกลิ้นจี่สดไปยังญี่ปุ่นผ่านการขนส่งทางอากาศ ด้วยปริมาณ 3 ตัน และเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ได้ส่งออกลิ้นจี่สดเพิ่มอีก 6 ตัน ผ่านทางทะเล ส่งผลให้ปริมาณขายลิ้นจี่ในญี่ปุ่น อยู่ที่ราว 10 ตัน โดยจะเริ่มวางขายในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ “ราคาลิ้นจี่ที่ขายในตลาดต่างประเทศ ปรับตัวสูงถึง 40,000 ด่งต่อกิโลกรัม ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าเมื่อเทียบกับราคาในประเทศ อย่างไรก็ตาม หากได้การวางแผนที่ดี จะสามารถส่งออกไปยังญี่ปุ่นหลายร้อยตัน”
ที่มา : http://en.dangcongsan.vn/economics/vietnamese-lychee-sold-out-in-japan-555343.html
เวียดนามเผยราคาส่งออกข้าวต่ำสุด ในรอบ 2 เดือน
อุปทานข้าวในประเทศอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวหัก (Broken Rice) ของเวียดนามปรับตัวลดลงอยู่ที่ 450 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ณ วันที่ 19 มิ.ย. ถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา สำนักข่าวเวียดนาม ระบุว่าผลผลิตข้าวในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุมาจากอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวฤดูร้อน-ใบไม้ร่วง ปริมาณส่งออกข้าวดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 2.3-2.5 ล้านตัน หลังการบริโภคภายในประเทศเพียงพอแล้ว ในขณะเดียวกัน ราคาส่งออกข้าวในวันที่ 4 มิ.ย. พบว่าราคาปรับตัวสูงสุด 475 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เป็นผลมาจากอยู่ในช่วงฝนตกหนักกระทบต่อการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ ทั้งปริมาณและมูลค่าส่งออกข้าว ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากเวียดนามมากที่สุด ด้วยปริมาณรวม 1.3 ล้านตัน (+22.4%YoY) คิดเป็นมูลค่า 598.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (+41.4%YoY) รองลงมาจีน ตามลำดับ
ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rice-export-price-lowest-in-two-months/177308.vnp
สหภาพยุโรปจะยกเลิกภาษีปลาทูน่าจากเวียดนาม เมื่อข้อตกลงการค้ามีผลบังคับใช้
สหภาพยุโรปจะปรับลด/ยกเลิกภาษีผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าของเวียดนาม (สด,แช่เย็นแช่แข็ง) ประกอบไปด้วยปลาทูน่ากระป๋อง ปริมาณ 11,500 ตัน และลูกชิ้นปลาทูน่ากระป๋อง 500 ตัน ล้วนได้รับการยกเว้นทุกปี เมื่อข้อตกลงการค้าเสรีทั้งสองฝ่ายมีผลบังคับใช้ในเดือนสิ.ค. ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว คาดว่าจะสร้างโอกาสอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมปลาทูน่าของเวียดนามเกี่ยวกับการเข้าถึงตลาดใหม่ ได้รับการลดภาษีและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ อาทิ ไทยและจีน ในขณะที่ กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีส่วนแบ่งการตลาดขนาดใหญ่ในตลาดอียู แต่ว่ายังไม่ได้รับข้อตกลงการค้าเสรีใดๆเลย ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเล (VASEP) ระบุว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในตลาดส่งออกสำคัญ ยังไม่อาจคาดการณ์ได้ ซึ่งคู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ เอกวาดอร์ ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA ถือเป็นข้อตกลงทันสมัยที่สุด ครอบคลุมด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอียูกับประเทศกำลังพัฒนา
สหรัฐอเมริกาสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในเวียดนาม
องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ร่วมมือกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) และกรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) ณ วันที่ 22 มิ.ย. เปิดตัวโครงการประเมินระดับความพึงพอใจในการดำเนินธุรกิจ ผ่านระบบ National Single Window (NSW) ซึ่งรายงานดังกล่าว พื้นฐานมาจากการสำรวจ “ความพึงพอใจทางธุรกิจและขั้นตอนการบริหารผ่านระบบ NSW” ตั้งแต่เดือนก.ย.62 – มี.ค.63 ทั้งนี้ ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โครงการอำนวยความสะดวกทางการค้าของ USAID ได้ทำงานร่วมมือกับองค์กรที่หลากหลาย เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำธุรกิจที่เวียดนาม อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสถิติการค้าสหรัฐฯ-เวียดนาม ชี้ให้เห็นว่าเมื่อปีที่แล้ว มูลค่าการค้าทั้งสองฝ่ายเติบโตสูงถึง 77.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทาง USAID ยังคงสนัสนุนรัฐบาลเวียดนามและภาคเอกชน ในการปฏิรูปและยกระดับความพึงพอใจทางธุรกิจ ผ่านเครื่องอำนวยความสะดวกในการค้า “NSW”
ที่มา : https://vnexplorer.net/us-supports-vietnam-to-improve-business-satisfaction-a202054474.html