สหรัฐฯ เป็นซัพพลายเออร์ผักผลไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

สมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (Vinafruit) เปิดเผยว่าสหรัฐอเมริกาเป็นซัพพลายเออร์ผักและผลไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ มูลค่าการส่งออกผักผลไม้อยู่ที่ 102.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้ารวมอยู่ที่ 376.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 42 แต่มีการนำเข้ามาจากหลากหลายประเทศ ได้แก่ นิวซีแลนด์ สหรัฐฯและเกาหลี ทั้งนี้ คุณ Pham Thien Hoang เจ้าของร้านค้า GreenSpace เป็นผู้นำเข้าผลไม้ กล่าวว่าผลไม้จากสหรัฐฯ เป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับผู้บริโภคชาวเวียดนาม โดยเฉพาะแอปเปิ้ล องุ่นและเชอรี่ที่มีการนำเข้ามากที่สุด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/us-becomes-vietnams-largest-supplier-of-fruits-vegetables/173843.vnp

เวียดนามเผยยอดส่งออกในช่วงครึ่งแรกของเดือนพ.ค. หดตัวลง

มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคมปีนี้ ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานับตั้งแต่ต้นปีนี้ ยกเว้นสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนม.ค. ที่อยู่ในช่วงวันหยุดเต็ต (Tet) ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่ารายการสินค้าส่งออกลดลงอย่างหนัก ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน (-16.9%), เครื่องจักรและส่วนประกอบ (-14.5%) ขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 คิดเป็นมูลค่า 9.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก และกระทบอย่างสำคัญต่อกิจกรรมการส่งออกและนำเข้าของเวียดนาม นอกจากนี้ การค้าต่างประเทศจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 หากว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อในช่วงสิ้นไตรมาสที่สอง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/exports-shrink-to-lowest-in-first-half-of-may/173836.vnp

แบงก์ชาติเวียดนามปรับลดดอกเบี้ยแก่ผู้กู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

จากรายงานของธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าทางธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ด้วยมูลค่ามากกว่า 1.12 ล้านล้านล้านด่ง (49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ของผู้กู้ราว 322,190 รายที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงธนาคารยังขยายระยะเวลาการชำระหนี้ จำนวน 215,136 ราย สินเชื่อรวมประมาณ 137.94 ล้านล้านด่ง ในขณะที่ ยอดสินเชื่อใหม่คงค้างในระบบ ประมาณ 600 ล้านล้านด่ง พร้อมกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.5-2.5 ต่อปี แก่ผู้กู้ราว 190,000 คน ทั้งนี้ ธนาคารกลางโอนเงินไปยังสถาบันการเงินเวียดนาม ด้วยมูลค่า 16 ล้านล้านด่ง ซึ่งทำตามนโยบายสังคม ดังนั้น นายจ้างสามารถกู้สินเชื้อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 เพื่อจะนำไปจ่ายเงินเดือนแก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นอกจากนี้ ทางรองผู้ว่าธนาคารกลาง ระบุว่าภาคธุรกิจขนส่ง การท่องเที่ยว นำเข้า-ส่งออก จะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากเชื้อไวรัสดังกล่าว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/banks-cut-interest-rates-for-borrowers-affected-by-covid19/173801.vnp

เวียดนามเผยบริษัทอสังหาฯ พร้อมฟื้นตัวหลังหมดโควิด-19

บริษัทอสังหาริมทรัพย์เริ่มมองถึงก้าวต่อไป เล็งเห็นโอกาสหลังจากวิกฤติโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย คาดฟื้นตัวในไม่ช้า จากรายงานทางสถิติของกระทรวงก่อสร้าง เผยว่าร้อยละ 80 ของตัวแทนขายอสังหาฯ หยุดการดำเนินงานชั่วคราวในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ในขณะเดียวกัน ธุรกิจอื่นๆ ยังคงสามารถดำเนินงานได้อยู่ในระดับปานกลาง โดยจำนวนบริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนใหม่ในไตรมาสแรก ลดลงร้อยละ 12 ขณะที่ บริษัทที่หยุดดำเนินงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นร้อยละ 94 อย่างไรก็ตาม คนในวงในส่วนใหญ่เชื่อว่าผลกระทบจะเป็นเพียงระยะสั้นและตลาดจะกลับมาแข็งแกร่งในอีก 2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ คุณ Nguyen Quoc Bao รองผู้อำนวยการบริษัทอสังหาฯแห่งหนึ่ง กล่าวว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังอยู่ในช่วงฝ่าวิกฤติโควิด-19 เพื่อเตรียมความพร้อมต่อวงจรการเติบโตใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของบริษัทที่มีกำลังการผลิตต่ำ แต่สำหรับธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินและการดำเนินงานอย่างมืออาชีพที่จะนำฝ่าวิกฤติโควิด-19 ไปได้ ผลกระทบเป็นเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้น ‘วิกฤติสร้างโอกาส’ นอกจากนี้ ตลาดอสังหาฯเวียดนาม ยังคงมีข้อได้เปรียบอย่างมากและเป็นที่สนใจแก่นักลงทุน เพราะว่าด้วยจำนวนประชากรราว 100 ล้านคน และร้อยละ 55 อยู่ในช่วงอายุ 25-40 ปี ที่มีกำลังซื้อสูงและมีความต้องการที่อยู่อาศัย ประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจมั่งคง ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเจริญเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว (Rapid Urbanization)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/real-estate-firms-gear-up-for-race-after-pandemic/173808.vnp

เวียดนาม คาดสินเชื่อปี 63 โต 9-10%

การเติบโตสินเชื่ออาจโตเพียงร้อยละ 9-10 ในปีนี้ หากเทียบกับปีที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 13 ถึงแม้ว่ามีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปได้ในทิศทางที่ดี ตามข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ โดยอัตราการเติบโตจะต่ำกว่าที่ธนาคารตั้งเป้าไว้ร้อยละ 11-14 ในปีนี้ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของบริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า กล่าวว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ของธนาคารกลางเวียดนามไว้ที่ระดับ 0.5 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา อาจไม่ช่วยกระตุ้นความต้องการสินเชื่อของธุรกิจ ซึ่งการลดลงดังกล่าวจะมีผลกระทบในเชิงบวกต่อระบบธนาคารและอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจมากกว่าเมื่อเทียบกับการตัดดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้นจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ลดต้นทุนแก่ธนาคารอย่างมีนัยสำคัญและสนับสนุนให้ธุรกิจขยายการชำระหนี้สินและการปรับโครงสร้างหนี้ อย่างไรก็คาม อัตราดอกเบี้ยข้างต้นปรับตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งความต้องการของผู้บริโภคยังคงอยู่ในวงจำกัด ทำให้ธุรกิจไม่กู้ยืมแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม

ที่มา :https://en.vietnamplus.vn/credit-growth-forecast-to-slow-to-910-percent-in-2020/173671.vnp

‘สนามบินเถาะซวน’ วางแผนในการรองรับผู้โดยสาร 5 ล้านคนต่อปี

สำนักงานการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) ตั้งเป้าเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินเถาะซวนในจังหวัดทัญฮว้าให้เป็น 5 ล้านคนในปี 2573 โดยทางสำนักงานอนุมิติการวางแผนเพื่อพัฒนาสนามบินในปี 2573 ด้วยการวางเป้าหมายไปสู่ปี 2593 รวมถึงยื่นแผนโครงการไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่ออนุมัติแผน ทั้งนี้ ตามข้อมูลรายงานใหม่ปี 2573 สนามบินเถาะซวนจะก้าวไปสู่สนามบินนานาชาติ ในขณะเดียวกัน ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและสินค้า เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 5 ล้านคน และ 25,000 ตันต่อปี ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/tho-xuan-airport-plans-to-serve-5-million-passengers-per-year/173655.vnp

พานาโซนิคย้ายโรงงานจากไทยไปเวียดนาม

โดย nuttachit I Marketeer

สำนักข่าวนิคเคอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่าพานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น มีแผนปิดโรงงาน ผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าในประเทศไทย เพื่อย้ายกำลังการผลิตไปรวมกับโรงงานผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าในเวียดนามให้เป็นโรงงานหลักในการผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้า เหตุผลสำคัญ คือ ลดต้นทุนการจัดหาชิ้นส่วน ซึ่งการย้ายกำลังการผลิตในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยมีเป้าหมายลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย 100 ล้านเยนหรือประมาณ 29.56 ล้านบาทในเดือนมีนาคม 2565

‘Marketeer’ วิเคราะห์ออกเป็น ดังนี้

  1. ลดต้นทุนค่าแรงสูงบนรายได้การผลิตที่ลดลง ลดต้นทุนในการจัดหาชิ้นส่วน และลดต้นทุนในการจ้างแรงงานที่มีค่าแรงขั้นต่ำถูกกว่าประเทศไทย
  2. ยอดขายในไทยลดลงบนการแข่งขันที่สูง แม้พานาโซนิคจะเข้ามาทำธุรกิจในไทยมาอย่างยาวนาน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พานาโซนิค ถูกสินค้าแบรนด์เกาหลี และจีน เข้ามาท้าทายตลาดอย่างต่อเนื่องจนรายได้และกำไรในการขายสินค้าพานาโซนิคลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2562

ทั้งนี้ ศิริรัตน์  ยงค์เจริญชัย ผู้จัดการทั่วไปสายสื่อสารองค์กร บริษัท พานาโซนิค แมนเนจเม้นท์ ประเทศไทย จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การควบรวมโรงงานผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าไปอยู่ที่ประเทศเวียดนามเป็นไปตามนโยบายของบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น ที่มีพิจารณาแผนการดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งเรื่องของพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า และการบริหารด้านการผลิตและต้นทุนให้มากขึ้น

ที่มา : https://marketeeronline.co/archives/165880

อัพเดท สถานการณ์ COVID-19 เวียดนาม วันที่ 19.05.2563

คนเวียดนามกลับจากต่างประเทศติดเชื้อเพิ่ม 4 คนแต่ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มในประเทศมากกว่า 1 เดือน

พัฒนาการที่สำคัญในวันนี้

  • เวียดนามไม่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ในระดับชุมชน กว่า 1 เดือน แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่กลับจากต่างประเทศ 4 ราย
  • ยกเว้นการห้ามการเดินทางเข้าประเทศของคนต่างประเทศ โดยจะพิจารณาอนุญาตให้นักลงทุนชาวต่างชาติ ผู้เชี่ยวชาญ แรงงานทักษะสูง ผู้บริหารกิจการ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาชาวเวียดนามที่ศึกษาในต่างประเทศ โดยจะต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและกักตัวอย่างเข็มงวด
  • เวียดนามส่งเสริมการท่องเที่ยว “Safe Haven Tourism” ซึ่งเน้นการจำกัดความเสี่ยง COVID-19 และคาดว่า การท่องเที่ยวจะเป็นแหล่งรายได้ถึงร้อยละ 10-15 และจ้างงาน 1.3 ล้านคน
  • รองประธานหอการค้าสหภาพยุโรปประจำเวียดนามเห็นว่า เวียดนามเตรียมตัวดีในการกระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติ COVID-19 และจำเป็นประเทศที่ปลอดภัยและน่าดึงดูดสำหรับธุรกิจและนักลงทุนจากต่างประเทศ พร้อมย้ำว่า เวียดนามจะต้องว่า เวียดนามจะต้องไม่ปกป้องธุรกิจของเวียดนามเพียงอย่างเดียว เนื่องจากจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม โดยเฉพาะการส่งออกเมื่อการค้าของโลกกลับสู่ภาวะปกติ
  • วันที่ 21 พ.ค. 2563 สถานเอกอัครราชทูตฯ จะจัดเที่ยวบินพิเศษสำหรับคนไทยที่ตกค้างกลับไทย

มาตรการสำคัญที่ยังบังคับใช้

  • ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการป้องกันอย่างต่อเนื่องเพื่อมิให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
  • แนะนำให้ประชาชนหมั่นล้างมือ สวมหน้ากาก
  • งดกิจกรรมเฉลิมฉลอง พิธีกรรมทางศาสนา และมหกรรมกีฬา
  • ยังคงห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าเวียดนาม เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
  • บุคคลที่เดินทางเข้าเวียดนามจะถูกกักตัว 14 วัน

ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย