คณะผู้แทนรัสเซียเข้าพบนักธุรกิจที่ UMFCCI

คณะผู้แทนนำโดย Mr. Grigoriev Evgeny Dmitrievich ประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ภายนอก สมาชิกของรัฐบาลเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในสหพันธรัฐรัสเซีย เข้าพบนักธุรกิจที่สำนักงานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาร์ (UMFCCI) ในย่างกุ้ง เมื่อ 22 ตุลาคม 2566 โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัสเซียและเมียนมาร์ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทางทะเล ผลิตผลทางการเกษตร และภาคการส่งออกอื่นๆ ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางธุรกิจ รวมทั้งยังมีการพูดคุยเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และการผลิตชารัสเซีย ภาคไฟฟ้าจากพลังงานน้ำขนาดเล็ก และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ นักธุรกิจที่เข้าร่วมงานได้หารือประเด็นทางเศรษฐกิจที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ และประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ชี้แจงถึงภาคส่วนที่จะเชื่อมโยงกับภาคการส่งออกข้าว ภาคผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การขนส่งและวิชาการ ภาคประมงทะเลน้ำลึก และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/russian-delegation-meets-businesspersons-at-umfcci/#article-title

UMFCCI และ YPGCC หนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ยูนนาน-เมียนมาร์

เจ้าหน้าที่สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) เข้าพบคณะผู้แทน นำโดยประธานหอการค้าทั่วไปมณฑลยูนนาน (YPGCC) เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 โดยได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจทวิภาคีและการยกระดับการค้า ด้านประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา กล่าวว่า ยูนนานถือเป็นท่าเรือบกที่สำคัญในด้านความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจกับเมียนมา และได้ขอให้ทางหอการค้ายูนนานช่วยเหลือเมียนมาในเรื่องของข้อบังคับและกฎระเบียบการนำเข้าของจีน รวมทั้งได้เชิญชวนให้ยูนนานลงทุนในภาคพลังงาน และภาคส่วนอื่นๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและกิจกรรมส่งเสริมการค้า ด้าน ดร.เกา เฟิง ประธาน YPGCC กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเยือนเมียนมาครั้งนี้ เพื่อสร้างบันทึกความร่วมเมือ ที่ลงนามระหว่างยูนนานและเมียนมาร์ ในภาคพลังงานและเหมืองแร่ การบรรเทาภัยพิบัติ การท่องเที่ยว การบรรเทาความยากจน และยกระดับระเบียงเศรษฐกิจเมียนมาร์-จีน นอกจากนี้ การประชุมยังได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาการลงทุนแบบทวิภาคี การพัฒนาการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการค้า การแลกเปลี่ยนข้อมูล การเสริมสร้างความร่วมมือเชิงปฏิบัติ ธุรกิจท่าเรือ อุปทานสินค้าข้าวและปุ๋ย การส่งออกสินค้าเกษตร การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และการค้าข้ามพรมแดน

อย่างไรก็ดี ผู้แทนจากทั้งสองสภายังหารือเกี่ยวกับโอกาสความร่วมมือที่อาจเกิดขึ้นและความคิดเห็นเกี่ยวกับภาคเหมืองแร่ เหล็กและเหล็กกล้า การขนส่ง อีคอมเมิร์ซ การท่องเที่ยว เกษตรกรรม เภสัชกรรม อ้อย น้ำตาล ถั่วลิสง ผัก การประมง ผลิตภัณฑ์อาหาร การวิจัย และสารเคมีทางการเกษตร

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/umfcci-ypgcc-to-bolster-yunnan-myanmar-economic-cooperation/

ญี่ปุ่น บริจาคสิ่งของหนุน สปป.ลาว เพื่อเป็นประธานอาเซียนในปี 67

รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดหายานพาหนะ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มูลค่ากว่า 63 พันล้านกีบ (500 ล้านเยน) ให้แก่สปป.ลาว เพื่อสนับสนุนในการเป็นประธานอาเซียนที่จะจัดการประชุมขึ้นในปี 2567 ซึ่งประกอบไปด้วย รถยนต์โตโยต้า คัมรี ไฮบริด 33 คัน ซึ่งจะใช้ในการขนส่งรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาเมื่อเข้าร่วมประชุมอาเซียนที่ประเทศลาวในปี 2567 และอุปกรณ์ไอทีเพื่อปรับปรุงระบบสื่อสารและสัญญาณอินเทอร์เน็ต โดยมีนายทองพัน สะหวันเพ็ด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสปป.ลาว และนายเคนอิจิ โคบายาชิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศสปป.ลาว เข้าร่วมพิธีลงนามที่กระทรวงการต่างประเทศในเวียงจันทน์เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พ.ย.2565 ที่ผ่านมา

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten232_Japan_y22.php

สปป.ลาว จับมือ กัมพูชา ยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาคีร่วมกัน

รัฐบาลของกัมพูชาและสปป.ลาว ลงนามความร่วมมือทวิภาคีเพื่อประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งคำมั่นสัญญาดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมระหว่างสมเด็จเฮง สัมริน ประธานสภาแห่งชาติกัมพูชา และนายสายสมพอน พมวิหาน ประธานสภาแห่งชาติสปป.ลาว ที่ได้เยือนกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา ทั้งนี้ผู้นำทั้งสองให้คำมั่นสัญญาว่าจะส่งเสริมความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐ การพัฒนาเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ของประชาชนทั้ง 2 ประเทศ

ที่มา: https://english.news.cn/20221125/a46c029fa77f47df8b9f007ef7239258/c.html

สปป.ลาว-เวียดนาม สานสัมพันธ์ด้านสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว

นางสวนสวรรค์ วิกนาเกต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว กล่าว่า สปป.ลาวและเวียดนามกำลังต่อยอดจากความสำเร็จในอดีตในด้านข้อมูล วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว และกำลังขยายความสัมพันธ์ไปสู่ความสำเร็จที่มากขึ้นในอนาคต เนื่องในโอกาสปีมิตรภาพและความสามัคคีของลาว-เวียดนาม 2022 ซึ่งสปป.ลาวและเวียดนามทำงานร่วมกับเวียดนามเพื่อฝึกอบรมบุคลากรและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผ่านการจัดหาอุปกรณ์และหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านสื่อ และยังให้ความช่วยเหลือในการสร้างสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในจังหวัดหลวงพระบาง จำปาสัก อุดมไซ สะหวันนะเขต บ่อแก้ว และไชยสมบูรณ์ ด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเวียดนามได้สร้างโรงเรียนศิลปะแห่งชาติในสปป.ลาว ด้วยงบประมาณาคา 77 พันล้านดอง ซึ่งแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2553 ด้านการท่องเที่ยว สปป.ลาวเตรียมยื่นจดทะเบียนอุทยานแห่งชาติหินน้ำไหลที่มีพื้นที่ติดต่อกับเวียดนามให้ยูเนสโกพิจารณาเป็นมรดกโลก

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_132_Laos_vietnam.php

 

ประธานาธิบดีเรียกร้องให้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อจัดการกับความท้าทายระดับโลก

ประธานาธิบดีทองลุน สีสุลิด ได้เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐสำคัญของเอเชีย ทำงานอย่างใกล้ชิดมากขึ้นในการจัดการกับความท้าทายที่โลกกำลังเผชิญ ตั้งแต่ความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจไปจนถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศ ประธานาธิบดีกล่าวว่าประเทศในเอเชียควรมีบทบาทมากขึ้นในกิจการระหว่างประเทศ สิ่งนี้จะส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สร้างความไว้วางใจและความเคารพซึ่งกันและกัน และปรับปรุงเงื่อนไขสำหรับการพัฒนา การบูรณาการทางเศรษฐกิจ และการเชื่อมโยงภายในเอเชีย ทั้งนี้เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตและมีสัญญามากมาย เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรมากกว่าครึ่งโลก ประเทศจีนเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกและเป็นเศรษฐกิจการผลิตและผู้ส่งออกสินค้าที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตลาดผู้บริโภคที่เติบโตเร็วที่สุด ในขณะเดียวกัน อินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งในห้าของโลก ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าที่สำคัญและเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชีย ขณะที่อาเซียน รวมทั้งลาว มีบทบาทสำคัญในสถาปัตยกรรมระดับภูมิภาค

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten102_President_y22.php

‘สัมพันธ์เวียดนาม-ลาว’ ผลักดันการค้าให้เติบโตอย่างยั่งยืน

นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี 1962 เวียดนามและสปป.ลาว ได้ส่งเสริมความร่วมมือผ่านซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยในปี 2559-2563 การค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศ สามารถบรรลุการค้ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หลังจากนั้นได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และภัยธรรมชาติ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่าการค้าทวิภาคีในปี 2563 ลดลง 11.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการส่งออกเวียดนามอยู่ที่ 571.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.5% อย่างไรก็ดี การค้าทวิภาคีกลับมาขยายตัวขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2564 เพิ่มขึ้น 33.3% คิดเป็นมูลค่า 1.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุสำคัญมาจากการแก้ไขปัญหาของผู้นำเวียดนามและสปป.ลาว ทั้งในเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่อย่างรวดเร็วและขจัดอุปสรรคของการดำเนินธุรกิจทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังตลาดสปป.ลาว ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า, เครื่องจักรและอุปกรณ์ม ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปุ๋ยและผัก เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamlaos-trade-ties-growing-sustainably/228623.vnp

 

สปป.ลาว ซาอุดีอาระเบีย กระชับความร่วมมือทวิภาคี

สปป.ลาวและซาอุดีอาระเบียวางแผนที่จะขยายความร่วมมือในด้านการค้า การลงทุน การขุด พลังงาน การเกษตร การศึกษา และการท่องเที่ยว ภายหลังการมาเยือนของเจ้าชาย Faisal bin Farhan Al Saud รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่อกระชับและขยายความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีที่มีอยู่ระหว่างสองประเทศเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ฝ่ายสปป.ลาวเสนอให้ซาอุดิอาระเบียพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการฝึกอบรมภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับสำหรับเจ้าหน้าที่ทางการทูตสปป.ลาวและยังขอให้ซาอุดิอาระเบียพิจารณาลงทุนในการเกษตรและนำเข้าผลิตผลทางการเกษตรจากสปป.ลาว

 ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaosSaudi_55_22.php

กัมพูชา-สิงคโปร์ ร่วมส่งเสริมการค้าทวิภาคี

กัมพูชา-สิงคโปร์ ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความพยายามในการฟื้นฟูวิกฤตหลังวิกฤตโควิด-19 และความคืบหน้าของการตอบสนองของอาเซียนต่อวิกฤตโควิด-19 ไปจนถึงการส่งเสริมการค้าทวิภาคีระหว่างกัน โดยกัมพูชาและสิงคโปร์ยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสิงคโปร์มีมูลค่าสูงถึง 4.2 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ในด้านการลงทุนของสิงคโปร์ในกัมพูชาระหว่างปี 1994-2020 มีมูลค่ารวมกันอยู่ที่ 1.29 พันล้านดอลลาร์ โดยสิงคโปร์นำเข้าสินค้าทางการเกษตรจากกัมพูชาเพิ่มขึ้น รวมไปถึงพริกไทย น้ำตาลปี๊บ มะม่วง และข้าวสาร เป็นสำคัญ ในขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาจากสิงคโปร์ ได้แก่ น้ำมัน เครื่องจักร อาหารและเครื่องดื่ม กระดาษ อัญมณี และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501042016/cambodia-singapore-to-further-boost-bilateral-trade/

รัฐบาลจีนจับมือพันธมิตรสร้างสถาบันฝึกอบรมด้านไอที

กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารสปป.ลาวกำลังร่วมมือกับ China Railway Construction Group Co., Ltd. เพื่อสร้างสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสปป.ลาวให้ดีขึ้น สถาบันจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และวิศวกรรม ICT การก่อสร้างสถาบันจะได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีมูลค่าสูงสุด 85.72 ล้านหยวน (156.30 พันล้านกีบ) อาคารจะมีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็น อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอบ ขณะที่อาคารอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ครูและนักเรียนจะได้รับการฝึกอบรมและทดสอบความพร้อมในการเปิดสถาบันใหม่ไปก่อน การลงทุนในสถาบันดังกล่าวจะเป็นการปูพื้นฐานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_50.php