พาณิชย์จับมือผู้ส่งออกข้าวถก BERNAS ดันข้าว กข79 บุกตลาดมาเลเซีย

กรมการค้าต่างประเทศ ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยหารือหน่วยงานกำกับดูแลการนำเข้าข้าวของรัฐบาลมาเลเซีย (BERNAS) กระชับความสัมพันธ์ทางการค้า เปิดตัวข้าวขาวพื้นนุ่ม กข 79 หวังเรียกคืนส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในมาเลเซีย นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 กรมการค้าต่างประเทศได้ประชุมผ่านระบบ Video Conference ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และหน่วยงานกำกับดูแลการนำเข้าข้าวของมาเลเซีย (Padiberas Nasional Berhad : BERNAS) เพื่อกระชับความสัมพันธ์และหารือเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิตและการค้าข้าวในปี 2563 การประชุมในครั้งนี้ BERNAS แจ้งว่าภายในปี 2563 คาดการณ์ว่าอาจนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านตัน จากปกตินำเข้าประมาณ 8 แสนตัน เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มาเลเซียหันไปนำเข้าข้าวจากประเทศคู่แข่งของไทยมากขึ้น แม้ว่าคุณภาพจะด้อยกว่าข้าวไทย แต่ด้วยราคาข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง โดยปัจจุบันมาเลเซียนำเข้าข้าวจากจากเวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา ไทย และอินเดีย ตามลำดับ นอกจากนี้ กรมฯ ได้แจ้งให้ BERNAS ทราบว่าไทยอยู่ระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 – 2567 โดยไทยจะเน้นหลักการ “การตลาดนำการผลิต” เพื่อให้ไทยมีสินค้าข้าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยได้นำเสนอข้าว กข 79 ซึ่งเป็นข้าวขาวสายพันธุ์ใหม่ของไทย ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การค้าข้าวในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยฝ่ายมาเลเซียแจ้งว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโรคฯ ผู้บริโภคในมาเลเซียมีการซื้อข้าวเพิ่มขึ้นแต่เป็นข้าวที่มีราคาต่ำ สะท้อนให้เห็นถึงภาวะ Panic Buying ของผู้บริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ภาวการณ์ดังกล่าวได้กลับเป็นปกติแล้วตั้งแต่ช่วงมิถุนายนที่ผ่านมา โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการหารือผ่านระบบ Video Conference กับสมาคมผู้นำเข้าข้าวของฮ่องกง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สำหรับการส่งออกข้าวไทยตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2563 ส่งออกข้าวไปแล้ว ปริมาณ 3.30 ล้านตัน มูลค่า 69,469 ล้านบาท ทั้งนี้ ส่งออกไปมาเลเซีย ปริมาณ 66,007 ตัน มูลค่า 990 ล้านบาท

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-515295

ความคืบหน้าร่างกฎหมายภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัมพูชา มาเลเซียและเกาหลีใต้

ข้อตกลงการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนของกัมพูชากับมาเลเซียและเกาหลีใต้ใกล้ที่จะบรรลุเนื่องจากรัฐบาลได้ส่งร่างกฎหมาย DTA กับทั้งสองประเทศไปยังฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อขออนุมัติร่างกฎหมาย ตามที่รัฐบาลร่างกฎหมาย DTA กับทั้งสองประเทศได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นหลัก ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายนโยบายภาษีและความร่วมมือด้านภาษีระหว่างประเทศ ณ กรมสรรพากรกล่าวว่า DTA ไม่เพียง แต่จะส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับธุรกิจในหมู่หุ้นส่วน แต่ยังได้รับการออกแบบมาเพื่อปูทางสู่การเข้าถึง ข้อตกลงการค้า (FTA) กับพันธมิตรที่มีศักยภาพ โดยบริษัท DFDL หุ้นส่วนด้านภาษีและหัวหน้าฝ่ายภาษีของกัมพูชากล่าวว่าเครือข่าย DTA ที่แข็งแกร่งนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกัมพูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการแข่งขันเพื่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเสริมว่า DTAs จะช่วยรัฐบาลในการต่อสู้กับการพังทลายของฐานภาษีของพวกเขาโดยการจัดเตรียมการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยหน่วยงานภาษีของผู้ลงนามที่เกี่ยวข้องกับ DTAs

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50723892/double-tax-draft-law-with-malaysia-and-south-korea-shows-progress/

ความคืบหน้าร่างกฎหมายภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัมพูชาระ มาเลเซียและเกาหลีใต้

ข้อตกลงการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนของกัมพูชากับมาเลเซียและเกาหลีใต้ใกล้ที่จะบรรลุเนื่องจากรัฐบาลได้ส่งร่างกฎหมาย DTA กับทั้งสองประเทศไปยังฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อขออนุมัติร่างกฎหมาย ตามที่รัฐบาลร่างกฎหมาย DTA กับทั้งสองประเทศได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นหลัก ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายนโยบายภาษีและความร่วมมือด้านภาษีระหว่างประเทศ ณ กรมสรรพากรกล่าวว่า DTA ไม่เพียง แต่จะส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับธุรกิจในหมู่หุ้นส่วน แต่ยังได้รับการออกแบบมาเพื่อปูทางสู่การเข้าถึง ข้อตกลงการค้า (FTA) กับพันธมิตรที่มีศักยภาพ โดยบริษัท DFDL หุ้นส่วนด้านภาษีและหัวหน้าฝ่ายภาษีของกัมพูชากล่าวว่าเครือข่าย DTA ที่แข็งแกร่งนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกัมพูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการแข่งขันเพื่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเสริมว่า DTAs จะช่วยรัฐบาลในการต่อสู้กับการพังทลายของฐานภาษีของพวกเขาโดยการจัดเตรียมการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยหน่วยงานภาษีของผู้ลงนามที่เกี่ยวข้องกับ DTAs ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50723892/double-tax-draft-law-with-malaysia-and-south-korea-shows-progress/

มาเลเซีย-สปป.ลาวจัดแคมเปญหวังกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงนี้

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ได้มีการจัดงานสัมนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในชื่อแคมเปญ ” Golden Golden Holiday Holiday ” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวมาเลเซีย-สปป.ลาว โดยภายในงานได้มีคณะผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆของทั้ง 2 ประเทศเข้าประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางในการบรรเทาปัญหาการลดลงของนักท่องเที่ยวจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 และยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสปป.ลาวและมาเลเซียอีกด้วย ก่อนหน้านี้มาเลเซียและสปป.ลาวได้ร่วมมือกันในการเป็นพันธมิตรที่ดีในการสนับสนุนการท่องเที่ยวของทั้ง 2 ประเทศผ่านแคมเปญต่างๆ ทำให้ในเดือนมกราคม-กันยายน 2562 มาเลเซียมีนักท่องเที่ยว 20,959 คนเพิ่มขึ้น 13.8%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวดังกล่าวเดินทางมาจากสปป.ลาวสร้างรายได้มากถึง 1 แสนล้านานริงกิต ดังนั้นความร่วมมือกันในการจัดแคมเปญใหม่นี้ก็เพื่อหวังผลในการเพิ่มนักท่องเที่ยวให้สูงขึ้นโดยมีเป้าหมายเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวในอาเซียนเป้นหลัก

 ที่มา  :  http://annx.asianews.network/content/tourism-malaysia-strengthens-ties-laos-boost-arrivals-115300

มาเลเซียขอร่วมลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นของกัมพูชา

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้ถามถึงบริษัทมาเลเซียในการพิจารณาลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาและเป็นส่วนช่วยลดความแออัดของการจราจรในเมืองหลวง โดยกระทรวงกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการสร้างระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบอัตโนมัติโมโนเรลหรือรถไฟฟ้าใต้ดินรวมถึงการสร้างทางคู่ขนานเพิ่ม ซึ่งถนนและสะพานเล็ก ใหญ่ได้ถูกสร้างหรือปฏิรูปเพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยถนนและสะพานที่ดีขึ้นยังช่วยให้การส่งออกของกัมพูชา, กำลังผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้นและผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกมากขึ้น ซึ่งประธานสมาคมผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศของกัมพูชากล่าวว่าความต้องการเครือข่ายการขนส่งที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการค้าที่เฟื่องฟูในประเทศ โดยกัมพูชากำลังสร้างทางด่วนมูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเชื่อมโยงกรุงพนมเปญกับสีหนุวิลล์ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671081/malaysian-company-asked-to-invest-in-local-infrastructure/

เวียดนามสืบสวนการทุ่มตลาดสำหรับพลาสติกจากประเทศจีน มาเลเซีย และไทย

เวียดนามดำเนินการตรวจสอบการทุ่มตลาดสำหรับวัตถุดิบพลาสติกจากบริษัทจีน ไทย และมาเลเซีย ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมในประเทศเวียดนาม โดยการสอบสวนได้เริ่มขึ้นในวันจันทร์ที่ผ่านมา ตามข้อร้องเรียนจากผู้ผลิตพลาสติก 2 กลุ่ม ได้แก่ บริษัท Hung Nghiep Formossa จากประเทศไต้หวันและบริษัท  Youl Chon Vina จากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งการ นำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกจากทั้ง 3 ประเทศดังกล่าว ล้วนสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลมาจากบริษัทดังกล่าวมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 77 ของผลผลิตพลาสติกเวียดนาม โดยหลายๆบริษัทได้เสนออัตราภาษีสำหรับสินค้าพลาสติก จากประเทศจีน มาเลเซีย และไทย ทั้งนี้ ได้มีการประกาศเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดชั่วคราวสำหรับสินค้าอลูมิเนียมที่มาจากประเทศจีน และวัสดุไม้ มาจากประเทศไทยและมาเลเซีย

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnam-investigates-plastic-dumping-by-china-malaysia-thailand-3964222.html