ราคาผักผลไม้และเนื้อหมู มีแนวโน้มลดลง

รองผู้อำนวยการกรมอุตสาหกรรมและการค้านครโฮจิมินห์ได้นำคณะทำงานลงพื้นที่ตรวจสอบเมื่อวานที่ผ่านมา ร่วมกับคณะกรรมการบริหารและเจ้าของร้านค้าในเขตหวุงเต่า (Thu Duc) และตลาดค้าส่งเขตฮ้อกโมน (Hoc Mon) โดยจากการรายงานการประชุมของบริษัทเทรดดิ้งและสำนักงานตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรกรรม ระบุว่าผู้ประกอบการร้านค้าได้ลงนามข้อตกลงสัญญากับผู้ผลิตอุตสาหกรรมและธุรกิจครัวเรือน เพื่อให้เก็บตุนสินค้าในช่วงวันหยุดเทศกาล (เต็ด) ซึ่งในวันที่ 24 ปริมาณสินค้าเฉลี่ยอยู่ที่ราว 4,600 ตัน และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 6,500 ตันต่อวันก่อนที่จะถึงชวงเทศกาลเต็ต ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการบริษัทตลาดค้าส่ง ระบุว่าราคาของผักบางชนิดมีแนวโน้มลดลงก่อนที่จะถึงเทศกาล ขณะที่ ราคาดอกไม้สดคาดว่าอยู่ในระดับเสถียรภาพ นอกจากนี้ ราคาหมูอยู่ที่ 83,000 ดองต่อกิโลกรัม ขณะที่ ราคาเนื้อหมูลดลงอยู่ที่ประมาณ 95,000 –100,000 ดองต่อกิโลกรัม

18 ล้านคน นับว่าเป็นตัวเลขทางสถิติส

ที่มา : https://sggpnews.org.vn/business/prices-of-fruits-vegetables-and-pork-tend-to-reduce-85310.html

บริษัทญี่ปุ่นเตรียมลุยขยายธุรกิจไปยังเวียดนาม

จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นหรือเจโทร (JETRO) เปิดเผยว่ากว่าร้อยละ 64 ของบริษัทญี่ปุ่นในเวียดนาม มองว่ากำไรเป็นแรงจูงใจในการขยายธุรกิจไปยังประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปีที่แล้ว นักลงทุนขาวญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในเวียดนามอยู่ที่ 2.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และอีก 655 โครงการ ซึ่งจำนวนโครงการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปี 2561 ประกอบกับในปี 2562 นักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 66 ได้กำไรจากการดำเนินธุรกิจในเวียดนาม นอกจากนี้ สงครามการค้ามีผลต่อการขยายตัวของการออกไปลงทุนของญี่ปุ่นในเวียดนาม รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในการลงทุนและการทำธุรกิจของเวียดนามที่เป็นส่วนสำคัญในการขยายธุรกิจของญี่ปุ่น ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานลงทุนจากต่างประเทศ (FIA) ระบุว่ามูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ณ วันที่ 20 ธ.ค.62 อยู่ที่ 38.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี หากจำแนกรายเมือง/จังหวัดเวียดนาม พบว่ากรุงฮานอยดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด รองลงมานครโฮจิมินห์ ตามลำดับ อีกทั้ง เกาหลีใต้และญี่ปุ่นยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-firms-wish-to-scale-up-business-in-vietnam/167422.vnp

ยอดการค้าระหว่างเวียดนามกับจีน ทะลุ 117 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกและนำเข้ารวมอยู่ที่ 517.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งมูลค่าการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 264.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 253.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 สำหรับยอดเกินดุลการค้าในปีที่แล้วอยู่ที่ 11.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ทั้งนี้  จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.6 ของยอดการค้ารวมในปีที่แล้ว) อย่างไรก็ตาม มูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าจากจีนเติบโตอย่างมาก ขณะที่ เวียดนามส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้น ดุลการค้าระหว่างเวียดนามกับจีน จึงขาดดุลการค้ามากกว่า 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571193/viet-nam-china-import-export-turnover-reaches-117-billion.html

เปิดโอกาสใหม่ทางการค้า-การลงทุนของเวียดนาม แต่อาจสร้างความเสี่ยงต่อไทย

โดย Soison Lohsuwannakul I วิจัยกรุงศรี Research Intelligence

ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (The EU-Vietnam Free Trade Agreement: EVFTA) เป็นความตกลงแรกของเวียดนามที่เปิดเสรีการค้าเกือบทุกรายการสินค้า อีกทั้งยังครอบคลุมการเปิดเสรีการบริการและการลงทุนในระดับสูงกว่าทุกความตกลงที่เวียดนามมีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นครั้งแรกที่เวียดนามเปิดกว้างให้นักลงทุนต่างชาติเข้าร่วมการประมูลของรัฐ ทำให้เวียดนามมีศักยภาพในการส่งออกมากขึ้น สามารถดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศ ที่สำคัญจะช่วยให้เวียดนามเพิ่มแต้มต่อและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว สำหรับประเทศไทยอาจได้รับผลข้างเคียงเชิงลบ โดยสินค้าไทยมีแนวโน้มสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคา ขณะเดียวกันการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระหว่างเวียดนามและ EU อาจส่งผลให้ไทยมีความเสี่ยงที่จะถูกชิงส่วนแบ่งตลาดในเวียดนามและ EU มากขึ้นในระยะนับจากนี้

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2019 ทางการเวียดนามและสหภาพยุโรป (The European Union: EU) ได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (The EU- Vietnam Free Trade Agreement: EVFTA)/1 ซึ่งครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน ความตกลงดังกล่าวคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในครึ่งแรกของปี 2020

สำหรับความตกลง EVFTA ฉบับนี้เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าครั้งสำคัญของเวียดนามในการเชื่อมโยงประเทศสู่เวทีการค้าการลงทุนระดับโลก โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ (1) ความตกลง EVFTA มีระดับการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกือบ 100% สูงสุดในบรรดาความตกลงที่เวียดนามลงนามและมีผลบังคับใช้แล้ว/2 (2) เวียดนามเป็นประเทศที่ 2 ของอาเซียนถัดจากสิงคโปร์ ที่ได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับ EU/3 และ (3) เวียดนามเป็นประเทศกำลังพัฒนารายแรกที่บรรลุความตกลงการค้าเสรีที่มีมาตรฐานสูง/4 กับ EU ซึ่งนอกเหนือจากการเปิดเสรีการค้าการลงทุนในเชิงปริมาณ (ในลักษณะของการลดอัตราภาษีนำเข้าหรือการเพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ) ยังรวมถึงการปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐาน ความเท่าเทียมในการแข่งขัน ตลอดจนการยกระดับความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางเทคนิคระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นโอกาสของเวียดนามในการพัฒนาเศรษฐกิจต่อไป

ไม่เพียงเท่านี้ ความตกลง EVFTA ยังเป็นความตกลงแรกที่ทางการเวียดนามเปิดกว้างให้นักลงทุนจาก EU สามารถเข้าประมูลสัญญาของภาครัฐได้

  1. การเปิดเสรีการค้าสินค้า EU จะลดภาษีให้เวียดนามในสัดส่วนสินค้าที่มากกว่าและกรอบเวลาที่สั้นกว่าเวียดนาม ดังนี้
  2. EU จะยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าแก่เวียดนามเป็นสัดส่วนร้อยละ 85.6 ของรายการสินค้าที่มีการค้าระหว่างกัน (Tariff lines) ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
  3. เวียดนาม จะยกเว้นภาษีนำเข้าแก่ EU เป็นสัดส่วนร้อยละ 48.5 ของรายการสินค้าที่มีการค้าระหว่างกันทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ และจะทยอยยกเว้นภาษีเพิ่มเติมจนมีสัดส่วนร้อยละ 98.3 ภายในระยะเวลา 11 ปีนับจากวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
  4. การเปิดเสรีด้านบริการ ภายใต้ EVFTA เวียดนามมีการเปิดเสรีในระดับสูงกว่าที่ตกลงไว้กับ WTO และสูงกว่าความตกลงอาเซียน
  5. การเปิดเสรีการลงทุน: ภายใต้ความตกลง EVFTA เวียดนามเปิดเสรีในระดับสูงกว่าทุกความตกลงที่ประเทศมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
  6. การเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการผลิต เวียดนามและ EU เปิดเสรีการลงทุนเกือบทุกสาขา
  7. สำหรับการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาบริการ นักลงทุนจาก EU สามารถลงทุนในเวียดนามได้เสรีและถือหุ้นได้ในสัดส่วนสูงสุดถึง 100% ในหลายสาขาบริการ และสูงกว่าที่นักลงทุนจากอาเซียนได้รับอนุญาต
  8. การเปิดเสรีด้านอื่น ๆ : ความตกลง EVFTA ยังเป็นความตกลงฯ ที่มีมาตรฐานสูงและครอบคลุมกว่าความตกลงอื่นที่เวียดนามมีอยู่ โดยเฉพาะการเปิดกว้างให้นักลงทุนต่างชาติเข้าประมูลงานและสัญญาของรัฐได้ อีกทั้งยังให้ความคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ การประมูลงานและสัญญาของรัฐ (Public contracts) เป็นครั้งแรกที่เวียดนามเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าประมูลงานของรัฐได้ ภายใต้ความตกลง EVFTA นักลงทุนจาก EU สามารถเข้าร่วมประมูลงานและสัญญาของรัฐ ที่อยู่ภายใต้อำนาจระดับกระทรวงของเวียดนาม

การเปิดเสรีด้านบริการและการลงทุน รวมถึงความร่วมมืออื่น ๆ ภายใต้ EVFTA จะยิ่งส่งผลเชิงบวกต่อเวียดนามในระยะยาว

เมื่อพิจารณาถึงประเด็นอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้ความตกลง EVFTA พบว่า มีนัยสำคัญต่อการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน รวมถึงโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของเวียดนาม ประเด็นดังกล่าวที่สำคัญ ได้แก่

  1. การเปิดเสรีด้านบริการและการลงทุนในเชิงลึกและกว้างมากขึ้นภายใต้ความตกลง EVFTA เอื้อให้เวียดนามมีโอกาสดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศเพิ่มขึ้น
  2. การเปิดกว้างด้านการประมูลงานและสัญญาของรัฐ เป็นโอกาสดึงดูดการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม โดยนักลงทุนจาก EU สามารถเข้าร่วมประมูลงานของรัฐและเข้าร่วมโครงการลงทุนของภาครัฐได้เป็นครั้งแรก ขณะที่เวียดนามจะได้ประโยชน์จากการสรรหาผู้รับงานที่หลากหลาย
  3. ความร่วมมือด้านต่างๆ ภายใต้ความตกลงฯ จะส่งผลเกื้อหนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว นอกเหนือจากการเปิดเสรีด้านการค้า บริการ และการลงทุนแล้ว ความตกลง EVFTA ยังมีประเด็นครอบคลุมถึงการส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การลดการผูกขาดของรัฐ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายในด้านต่าง ๆ

EVFTA อาจส่งผลเชิงลบต่อไทย จากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางภาษี รวมทั้งผลกระทบจากการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระหว่างเวียดนามและ EU

  • ผลจากการยกเว้นภาษีนำเข้าภายใต้ความตกลง EVFTA จะส่งผลสุทธิทางลบต่อการส่งออกของไทยโดยรวมไปเวียดนามและ EU

ผลจากการเบี่ยงเบนทางการค้า (Trade diversion) และการย้ายฐานการลงทุน (Investment relocation) ที่เกิดขึ้นจากความตกลง EVFTA จะทำให้ประเทศอื่นมีแนวโน้มได้รับผลกระทบเชิงลบ

  • การส่งออกไทยไปเวียดนามลดลงร้อยละ 0.17 จากการสูญเสียความได้เปรียบทางภาษี

ในปัจจุบันไทยเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าอันดับต้นๆ ของเวียดนาม เนื่องจากไทยมีความได้เปรียบด้านภาษีจากการเปิดเสรีการค้าอาเซียนเมื่อเวียดนามเปิดเสรีการค้าภายใต้ความตกลง EVFTA อัตราภาษีนำเข้าที่เวียดนามเก็บจากสินค้า EU จะลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ 4.8 เหลือร้อยละ 0 เวียดนามจึงมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าจาก EU ทดแทนสินค้าจากไทย

ผลการศึกษาของวิจัยกรุงศรี พบว่า การเปิดเสรีการค้าระหว่างเวียดนามและ EU จะทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังเวียดนามลดลงร้อยละ 0.17 สำหรับในปีแรกที่ความตกลง EVFTA มีผลบังคับใช้สัดส่วนสินค้าที่เวียดนามลดภาษีนำเข้าให้ EU ทันทีจะอยู่ที่ร้อยละ 48.5 ของรายการสินค้าทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบเชิงลบในระยะแรก ได้แก่ โพรลิเอทิลีน, เครื่องส่งวิทยุ/โมเด็ม/แลนด์ไร้สาย, ไดโอด/อุปกรณ์กึ่งตัวนำและแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น

ไม่เพียงผลเชิงบวกที่เวียดนามจะได้รับจากการยกเว้นภาษีนำเข้าซึ่งทำให้การส่งออกของเวียดนามไปยัง EU มีความได้เปรียบด้านราคาและสินค้าจากเวียดนามยังมีโอกาสเข้าร่วมห่วงโซ่การผลิตของ EU มากขึ้นแล้ว เวียดนามยังได้ผลบวกเพิ่มเติมจากความพิเศษของ EVFTA ที่เหนือกว่าความตกลงอื่น ๆ ทั้งจากการเปิดกว้างให้นักลงทุนต่างชาติเข้าร่วมการประมูลของรัฐ การลดการผูกขาดของกิจการของรัฐ การส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต่าง ๆ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/ri-evfta

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กเวียดนามอาจไม่สดใสในปี 2563

ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าอุตสาหกรรมเหล็กของเวียดนามในปีนี้เผชิญกับอุปสรรคอย่างมาก เนื่องจากกำลังการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ความต้องการลดลงและมาตรการกีดกันทางการค้าของต่างประเทศ ทำให้ลดการนำเข้าสินค้า โดยตลาดส่งออกสำคัญของเวียดนาม คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งปริมาณลดลงร้อยละ 44  ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคา เนื่องจากความต้องการทั่วโลกลดลงและส่งผลให้บริษัทเหล็กก่อสร้างบางแห่งขาดทุน นอกจากนี้ ในปี 2563 เวียดนามจะมีโอกาสอย่างมาก โดยเฉพาะข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป ส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล็กคาดว่าจะมีการเพิ่มการผลิตและส่งออกไปยังตลาดใหม่ได้ แต่เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้กำหนดอัตราภาษีสูงถึงร้อยละ 456 สำหรับสินค้าเหล็กความต้านทานต่อการกัดกร่อนและเหล็กแผ่นขาวที่นำเข้าจากเกาหลีใต้หรือไต้หวัน แสดงให้เห็นว่าลัทธิคุ้มคีองการค้า (Protectionism) ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและสร้างความกดดันต่ออุตสาหกรรมเหล็ก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571153/steel-industry-not-likely-to-have-the-best-of-times-in-2020.html

ยอดขายจักรยานยนต์ของเวียดนามปี 62 หดตัว

จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เวียดนาม (VAMM) เปิดเผยว่าสมาชิกของสมาคม ได้แก่ Honda, Piaggo Suzuki, SYM และ Yamaha มียอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เวียดนามในปี 2562 อยู่ที่ 3.25 ล้านคัน ลดลงร้อยละ 3.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยบริษัท Honda ถือเป็นบริษัทชั้นนำในกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81 ของส่วนแบ่งการตลาดรถจักรยานยนต์เวียดนามและมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บริษัทอื่นๆที่เป็นแบรนด์ยานยนต์สัญชาติเวียดนาม ซึ่งทำการตลาดรถจักรยานยนต์เวียดนาม ได้แก่ VinFast และ Pega รวมไปถึงแบรนด์ต่างชาติ ได้แก่ Kymco, Ducati, Kawasaki, BMW, KTM, Benelli, Harley Davidson, Triumph, Royal Enfield และ Motorrad นอกจากนี้ รายได้ของคนเวียดนามที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น จะหันไปซื้อรถยนต์มากขึ้น โดยในปีที่แล้ว มียอดจำหน่ายรถยนต์กว่า 400,000 คัน นับว่าเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/motorbike-sales-in-vietnam-shrink-in-2019/167316.vnp

เวียดนามมียอดเกินดุลการค้า 11.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 62 : กรมศุลกากร

จากรายงานของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่ายอดเกินดุลการค้าของเวียดนามปี 2562 อยู่ที่ 11.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่เกินดุล 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุดของเวียดนาม ได้แก่ สมาร์ทโฟน เสื้อผ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ขณะที่สินค้านำเข้าหลัก คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักร ซึ่งการส่งออกในปี 2562 อยู่ที่ 264.189 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ขณะที่ ยอดการนำเข้าอยู่ที่ 253.071 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ทั้งนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 46.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว จาก 34.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีก่อนหน้า สำหรับสถานการณ์การค้ากับสหรัฐฯนั้น เวียดนามมีความเสี่ยงที่จะถูกระบุว่าเป็นประเทศที่มีการบิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Manipulation) เนื่องจากเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในทิศทางที่เป็นบวกอย่างสูงและทางธนาคารกลางทำการซื้ออัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศค่อนข้างมาก ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯมากขึ้น เพื่อลดช่องว่างทางการค้าหลังจากสหรัฐฯกำหนดอัตราภาษีสินค้าอเมริกาท่ามการสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20200114/vietnam-2019-trade-surplus-1112-billion-beating-994-billion-forecast-customs/52583.html