ฮานอยยังคงเป็นจุดหมายในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงสุด ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของหน่วยงานคณะกรรมการประชาชนประจำนครเมือง (The Municipal People’s Committee) เปิดเผยว่ากรุงฮานอยมีมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประมาณ 6.23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ โดยมูลค่าเงินทุนจากต่างประเทศ 503 ล้านเหรียญสหรัฐฯจากทั้งหมด จะนำไปส่งเสริมโครงการใหม่ 631 โครงการ และนักลงทุนต่างชาติอัดฉีดเงินทุนกว่า 5.22 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไห้กับผู้ประกอบการในท้องถิ่น ผ่านการซื้อหุ้นและสนับสนุนเงินทุน ในขณะเดียวกัน กรุงฮานอยตั้งเป้ายอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2562 ซึ่งจะลงทุนผ่านการเป็นหุ้นส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นแหล่งเงินทุน FDI มากที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาสิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังดำเนินงานปรับปรุงให้เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ และเร่งปฏิรูปการบริหารภาครัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hanoi-remains-vietnams-biggest-fdi-magnet-in-nine-months-404452.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังจีนพุ่งสูงขึ้น ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 เวียดนามส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังประเทศจีน ด้วยมูลค่า 327 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 ทางด้านปริมาณอยู่ที่ 42,199 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสหรัฐอเมริกา จีน และเนเธอร์แลนด์ ยังคงเป็นผู้นำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ในช่วงเวลาดังกล่าว ในส่วนของสถานการณ์การส่งออกสินค้าไปยังจีนนั้นอย่างเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง เนื่องมาจากความตึงเครียดของสงครามการค้าสหรัฐ-จีน เป็นต้น นอกจากนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแนะนำผู้ประกอบการให้ความสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสร้างมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้สามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-cashew-nut-exports-to-china-surge-in-nine-months-404405.vov

รายงาน : บริษัทอาหารและเครื่องดื่มเวียดนาม 10 อันดับแรกในปี 2562

จากรายงานทางการเวียดนาม ณ วันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่าบริษัทอาหารและเครื่องดื่มเวียดนามที่มีชื่อเสียง 10 บริษัท โดยบริษัทที่ได้รับการประเมินจะจัดอันดับตามหลักเกณฑ์ 3 หลัก ดังนี้ ความสามารถทางการเงินตามรายงานการบัญชี และความน่าเชื่อถือของการเข้าถึงสื่อ เช่น สื่อโฆษณา เป็นต้น รวมไปถึงผลการสำรวจเกี่ยวกับความพึงพอใจจากการที่ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าว ซึ่งจากการสำรวจผู้บริโภคในเดือนกันยายนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าแบรนด์สินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดที่ผู้บริโภคเลือก ได้แก่ Vissan (อาหารสด), Cai Lan (เครื่องเทศและน้ำมันไว้ทำอาหาร), Heineken (เบียร์และไวน์), Vinamilk (นม) และ Acecook (อาหารกระป๋องและบรรจุภัณฑ์) เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ตามรายงานดังกล่าว ระบุว่าการสื่อสารมีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคสามารถรับรู้แบรนด์ที่มีชื่อเสียงได้ดีขึ้น และทำการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น แต่ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มเวียดนามส่วนใหญ่ระมัดระวังในการใช้สื่อ เพราะว่าขาดการควบคุมข้อมูล

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7999802-vietnam-report-top-10-food-beverage-companies-in-vietnam-2019.html

“WEF” จัดขีดแข่งขันเวียดนามปี 62 ดีขึ้น ก้าวกระโดด 10 อันดับ

จากรายงานของสภาเศรษฐกิจโลก (The World Economic Forum : WEF) เปิดผลการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ปี 2562 ระบุว่าเวียดนามก้าวมาอยู่ในอันดับที่ 67 ของโลก สามารถทำคะแนนรวมได้ 61.5 คะแนน จากทั้งหมด 100 คะแนน แสดงให้เห็นว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ และพร้อมสำหรับการเป็นศูนย์กลางค้าในภูมิภาค ในขณะเดียวกัน เวียดนามอยู่ในความเสี่ยงต่ำที่สุดของด้านการก่อการร้าย และมีเสถียรภาพทางด้านอัตราเงิน ในส่วนของสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองและการค้านั้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเกิดภาวะชะลอตัวทางการค้า นอกจากนี้ ประเทศสิงคโปร์มีความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก ได้คะแนน 84.8 คะแนน ซึ่งสามารถล้มแชมป์เก่า คือ สหรัฐอเมริกาได้ และจากรายงานดังกล่าว แนะนำให้สิงคโปร์จำเป็นต้องส่งเสริมผู้ประกอบการ และพัฒนาทักษะเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-up-10-places-in-global-competitiveness-index/161767.vnp

สปป.ลาวและเวียดนามวางแผนร่วมกันเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

สปป.ลาวและเวียดนามวางแผนที่จะร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้มากขึ้น ซึ่งสปป.ลาวและเวียดนามวางแผนที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และได้พูดคุยถึงความเป็นไปได้สำหรับโปรแกรมการท่องเที่ยว และพิจารณาวิธีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองและตกลงที่จะตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกผู้เข้าชมที่เว็บไซต์ท่องเที่ยวเพื่อให้แน่ใจว่าเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยกันคือทัวร์กลุ่มที่เดินทางจากสปป.ลาวไปยังเวียดนามและในทางกลับกันการสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวใหม่โฆษณาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและวิธีดึงดูดการลงทุนเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ท่องเที่ยว ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยวระบุว่ามีนักท่องเที่ยวมากกว่า 2.2 ล้านคนที่มาเที่ยวสปป.ลาวในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos224.php

เวียดนามดำเนินขอรับใบอนุญาตส่งออกอะโวคาโดไปยังสหรัฐฯ

จากข้อมูลของสำนักงานการค้าเวียดนาม สาขาซานฟรานซิสโก (สหรัฐอเมริกา) เปิดเผยว่าอะโวคาโดส่วนมากที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้น ดังนั้น ผู้จัดจำหน่ายต้องควบคุมขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจัดจำหน่ายสินค้า ในขณะที่ ผู้ส่งออกต้องมีใบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ สำหรับการจะเข้าตลาดสหรัฐฯ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดขั้นต่ำตามข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดระดับความสุก, สี, น้ำหนัก, สะอาด และปราศจากแมลง เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กมักจะประสบปัญหาในการเข้าถึงตลาดดังกล่าวอย่างมาก เป็นผลมาจากขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจ นอกจากนี้ สำหรับสินค้าทางการเกษตร เช่น มะม่วง เวียดนามจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินรับใบอนุญาต 10 ปี ถึงจะสามารถส่งออกมะม่วงไปยังสหรัฐฯได้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/536540/viet-nam-trying-to-get-us-export-licence-for-avocados.html#GO48zrRXQqiBzJqc.97

เวียดนามเผยปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น แต่ยอดมูลค่ากลับลดลง

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562  เวียดนามส่งออกข้าวกว่า 5.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 แต่มูลค่ากลับลดลงร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีการบริโภคข้าวเกือบ 1.76 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 720 ล้าน ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ ราคาข้าวเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 13.8 คิดเป็นราคาอยู่ที่ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และทางหน่วยงานเกษตรกรรมฟิลิปปินส์มีการเสนอให้ใช้ภาษีนำเข้าข้าวในการปกป้องผู้ประกอบการในประเทศ โดยมีอัตราภาษีนำเข้าข้าวอยู่ที่ร้อยละ 30-65 ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกข้าวเวียดนามในอนาคตข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ตลาดญี่ปุ่นกำลังพิจารณาที่จะนำเข้าข้าวในกลุ่มประเทศสมาชิก CPTPP เช่น เวียดนาม นอกจากนี้ เวียดนามเล็งเห็นโอกาสในการขยายตลาดไปยังแอฟริกาและตะวันออกกลางอีกด้วย

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/536522/rice-export-volume-up-but-value-falls.html#m6XyQo0ATOuAqIYj.97