สินค้าเวียดนามบุกตลาดไทย

จากข้อมูลภายในงาน Vietnamese Week in Thailand 2019 ณ กรุงเทพมหานคร วันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งรูปแบบภายในงานครั้งนี้ คือ “Taste of Vietnam” ร่วมกับผู้ประกอบการเวียดนาม 45 คน เพื่อส่งเสริมสินค้าเวียดนามในประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมไปถึงสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตท้องถิ่นเวียดนาม ให้สามารถส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทยได้ ซึ่งวัตถุประสงค์ของกิจกรรมดังกล่าว เพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการเวียดนามได้มีเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายภายในปี 2563 รวมไปถึงรัฐบาลเวียดนามช่วยส่งเสริมระบบการค้าปลีกระหว่างประเทศ รวมไปถึงประเทศไทยอีกด้วย และเมื่อเร็วๆนี้ ทางกลุ่มเซ็นทรัลเวียดนามได้จับมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ในการวิจัยการตลาด, คัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ เพื่อให้สามารถเจาะตลาดไทยได้ โดยจะมีหลักสูตรฝึกอบรบในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ผลิตในท้องถิ่นเวียดนาม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ ให้เหมาะสมกับตลาดไทย ในขณะที่ กิจกรรมในครั้งนี้จะช่วยให้เห็นถึงมุมมองหรือวิสัยทัศน์ของกลุ่มเซ็นทรัลเวียดนาม ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตชาวเวียดนามได้ดีขึ้น และทางรองนายกรัฐมนตรีของไทย กล่าวว่าภายในงานครั้งนี้ จะได้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม กับกลุ่มเซ็นทรัล ในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การลงทุน นอกจากนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้ารวมของทั้งสองประเทศอยู่ที่ 10.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/535608/vietnamese-goods-shine-in-thailand.html#SElP96SitDGqh24f.97

เวียดนามก้าวขึ้นแท่นเป็นประเทศต้นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการลงทุน

จากรายงานของสำนักข่าว US News & World Report เปิดเผยว่าประเทศเวียดนามก้าวเข้าสู่ประเทศที่น่าลงทุนของปีนี้ อยู่ในอันดับที่ 8 จาก 29 ประเทศ, เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่อยู่ในอันดับที่ 23 ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 13, 14, 18 ตามลำดับ ทางด้านรายงานปฏิรูปเศรษฐกิจของนโยบายโด่ยเหม่ย (Doi Moi) ที่ก่อตั้งในปี 2529 ได้ช่วยให้เวียดนามมีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้น และมีความทันสมัย รวมไปถึงมีการดำเนินการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ และสังคมมาอย่างต่อเนื่อง โดยแสดงให้เห็นถึงการเข้าร่วมกับองค์กรการค้าโลก (WTO) และภายในปี 2553 ได้เข้าร่วมเจรจาในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) นอกจากนี้ ยังเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ และฟอรั่มอาเซียน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม ระบุว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงเดือนสิงหาคม เวียดนามดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงต่างประเทศรวมอยู่ที่ 22.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รองลงมาญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และฮ่องกง ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/535610/viet-nam-ranked-in-top-countries-for-investment.html#aCBCVJlxoKaxLKaS.97

เวียดนาม ตลาดปราบเซียน เหตุใดฟาสต์ฟูดตะวันตกแจ้งเกิดไม่ได้?

ธุรกิจ QSR (quick service restaurant) หรือที่เรียกว่า ธุรกิจฟาสต์ฟูดนั้น มีมูลค่ามากกว่า 651,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบรนด์ที่มีชื่อเสียงอย่างแมคโดนัลด์และเบเกอร์คิง มักจะได้รับการต้อนรับและธุรกิจเติบโตได้ดี จวบจนปัจจุบัน แต่ที่เวียดนามนั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เมื่อในปี 2014 แมคโดนัลด์เข้ามาเปิดสาขาแรกที่นครโฮจิมินห์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แต่หลังจากนั้นไม่นาน ความคึกคักก็ซาลง จากที่แมคโดนัลด์เคยตั้งเป้าจะขยายธุรกิจในเวียดนามให้ครบ 100 สาขา ภายใน 10 ปี จนถึงขณะนี้ แมคโดนัลด์ในเวียดนามมีเพียง 17 สาขาเท่านั้น ด้านเบอร์เกอร์คิงก็ไม่ต่างกันมากนัก มีสาเหตุมาจากภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งจากร้านอาหารท้องถิ่นและร้านต่างประเทศมีจำนวนมาก รวมไปถึงวัฒนธรรมอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ เฝอ และบั๋นหมี่ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยสำคัญ คือ รสชาติและราคา หากไม่พูดถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว ฟาสต์ฟูดตะวันตกไม่ได้ถูกปากลูกค้าชาวเวียดนามนัก เพราะพวกเขาคุ้นชินกับเฝอและบั๋นหมี่มากกว่า ทั้งนี้ ช่วงปี 2559-2561 จำนวนผู้บริโภคเวียดนามใช้บริการร้านฟาสต์ฟูดลดลง 31% และเดินเข้าร้านอาหารข้างทางมากขึ้น 70% อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีฟาสต์ฟูดจากต่างประเทศแบรนด์ไหนที่ถอดใจ ยังมีความพยายามจะปรับกลยุทธ์เพื่อพลิกกลยุทธ์จนพิชิตตลาดเวียดนามได้หรือไม่ คงต้องจับตาดู

ที่มา : https://www.smethailandclub.com/aec-3656-id.html

เวียดนามตั้งเป้าหมายเจาะตลาดฮาลาล

จากข้อมูลของงานส่งเสริมการลงทุนและการค้า (ITPC) ณ นครโฮจิมินห์ ระบุว่าหากเวียดนามไม่ทำการค้าในกลุ่มตลาดฮาลาล จะเสียมูลค่าการส่งออกไปกว่า 23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งทางผู้อำนวยการศูนย์การค้าและการลงทุน มองว่าตราสินค้าที่ได้รับรองตามมาตรฐานฮาลาลนั้น จะแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของชาวมุสลิมในการบริโภคผลิตภัณฑ์ได้ นับว่ามีส่วนสำคัญในการปกป้องผู้บริโภค เพราะไม่เพียงแต่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางศาสนา แต่ยังสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่เข็มงวดของชาวมุสลิม ผ่านการรับรองจากเครื่องหมายรับรองฮาลาล จากสถิติประชากร ระบุว่าชาวมุสลิมทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 1.8 พันล้านคนทั่วโลก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 ของประชากรโลก ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มประชากรชาวมุสลิมอยู่ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทำให้ประเด็นดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เวียดนามได้เปิดโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการส่งออกไปยังต่างประเทศ รวมไปถึงเวียดนามมีข้อได้เปรียบในด้านวัตถุดิบ ในการผลิตสินค้าฮาลาล เช่น กาแฟ ข้าว อาหารทะเล เครื่องเทศ ถั่ว ผัก เป็นต้น และได้ยอมรับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ การเติบโตของร้านอาหารและโรงแรม จึงเป็นไปตามมาตรฐานฮาลาล

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/535542/viet-nam-needs-to-target-halal-markets.html#jG1m6ZpFBfmp8ztb.97

จังหวัดหล่างเซินเวียดนามตั้งเป้าการลงทุน 3.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากคำแถลงการณ์ของรองประธานคณะกรรมการประจำจังหวัด ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ณ กรุงฮานอย เปิดเผยว่าเขตจังหวัดหล่างเซิน (Lang Son) ในชายแดนภาคเหนือ ได้มีการลงนามข้อตกลงการลงทุน ด้วยโครงการมากกว่า 100 โครงการ และเงินทุนประมาณ 3.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจังหวัดดังกล่าว ได้นำเสนอโครงการ 37 โครงการที่ต้องการเงินทุนจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ในช่วงตั้งแต่ปี 2562-2568 และสามารถแบ่งประเภทของอุตสาหกรรม ดังนี้ การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน 8 โครงการ, การค้าและการท่องเที่ยว 9 โครงการ และภาคเกสรกรรม ป้าไม้ ประมง 9 โครงการ รวมไปถึงมุ่งเน้นในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้แก่นักลงทุน ให้โปร่งใสมากขึ้นและมีเสถียรภาพ ซึ่งเขตพื้นที่จังหวัดจะดำเนินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเร่งปฏิรูปการบริหารท้องถิ่น นอกจากนี้ ในช่วงปี 2554-2561 เศรษฐกิจท้องถิ่นมีการขยายตัวร้อยละ 8-9 หากจำแนกอุตสาหกรรม พบว่าภาคการเกษตร ป่าไม้ มีสัดส่วนร้อยละ 20.3, ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้างร้อยละ 19.7 และภาคบริการร้อยละ 49.78 เป็นต้น ในขณะที่ จังหวัดดังกล่าวได้ตั้งเป้าหมายในการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมในภูมิภาคร้อยละ 8-9 ในปี 2563 และรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 2,600-2,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/535540/lang-son-aims-to-attract-343b-in-investment.html#3x13l4BQWmBYQVFX.97

ผู้ประกอบการเวียดนามเข้าร่วมประชุมการค้า อินเดีย-CLMV

คณะผู้แทนธุรกิจเวียดนามจะเข้าร่วมการประชุมครั้งแรก อินเดีย-CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และอินเดีย) ซึ่งในเดือนหน้า จะมีการจัดประชุมในนครเจนไน (Chennai City) โดยเป้าหมายของการประชุมครั้งนี้ คือ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอินเดียและกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Act East ของรัฐบาลอินเดีย เพื่อส่งเสริมการร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงกลุ่ม CLMV ในขณะที่ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) จะนำคณะผู้ประกอบการเวียดนาม 15 ราย ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อเรียนรู้การต่อยอดการค้าระหว่างประเทศระหว่างประเทศ (เวียดนาม CLMV อินเดีย) ตามความต้องการ และข้อเรียกร้อง และมาตรฐานของตลาด ซึ่งผู้ประกอบการเวียดนามจะทำธุรกิจในลักษณะผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ (B2B) ในการเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV และอินเดีย นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-18 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรม ITC Grand Chola, นครเจนไน, รัฐทมิฬนาฑู

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/535529/vietnamese-firms-to-attend-india-clmv-trade-meeting-in-india.html#5tTtZaLpBZGfj3CE.97

เวียดนามเผยมูลค่าการส่งออกสิ่งทอเพิ่มขึ้น 7% ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562

จากข้อมูลของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกโดยรวมสิ่งทอ เส้นใย และเสื้อผ้าของเวียดนามอยู่ที่ 25.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รวมไปถึงสัดส่วนของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ร้อยละ 60.6 โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มใช้เงินในการนำเข้า ด้วยมูลค่า 14.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และผลผลิตวัสดุที่ใช้ในการทำเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และอุตสาหกรรมดังกล่าวเกินดุลการค้า 10.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน และทำให้ราคาสินค้าแปรรูปของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้และจีน รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อยอดคำสั่งส่งออกของผู้ประกอบการในประเทศ ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาโซลูชั่นในการผลิตสินค้าและการดำเนินธุรกิจ แต่ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศเกาหลีใต้ และไต้หวันในเวียดนาม ได้รับประโยชน์จากสงครามการค้า เนื่องมาจากธุรกิจของประเทศดังกล่าว มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองที่อยู่ภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน โดยจากข้อมูลของหนังสือพิมพ์ Dau Tu (Investment) ระบุว่า ผู้ประกอบการสิ่งทอฯ ของเกาหลีใต้ในเวียดนาม ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากสงครามการค้า ด้วยจำนวนธุรกิจกว่า 143 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอีกประเด็นอีกอย่าง คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอของเวียดนามยังขาดวัสดุในการป้อนเข้าโรงงาน ซึ่งจำเป็นต้องนำเข้าฝ้ายทั้งหมด และร้อยละ 80 ในการนำเข้าผ้า และวัสดุอื่นๆ จากจีน และอินเดีย ดังนั้น ต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการในประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับบริษัทจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-s-textile-export-value-up-almost-7-pct-in-eight-months/160559.vnp