โครงการลงทุน 3 โครงการ ได้รับการอนุมัติ สร้างงาน 744 ตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

ในการประชุมที่จัดขึ้นที่สำนักงานของรัฐบาลสหภาพในกรุงเนปิดอว์ คณะกรรมการการลงทุนเมียนมาร์ได้อนุมัติโครงการลงทุนใหม่ 3 โครงการ ที่จะมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา คิดเป็นมูลค่า 0.180 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมากกว่า 300 พันล้านจ๊าด ซึ่งจะสร้างโอกาสในการทำงานในท้องถิ่น 744 ตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในวันที่ 1 ธันวาคม อย่างไรก็ดี จากต้นปีที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2566 ใน 52 ประเทศและภูมิภาคที่ลงทุนในเมียนมาร์ ประเทศนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ จีน และไทย ตามลำดับ ทั้งนี้ ในบรรดาธุรกิจ 12 ประเภทในเมียนมาร์ ร้อยละ 28.49 ของการลงทุนทั้งหมดไหลเข้าสู่ภาคพลังงาน ร้อยละ 24.44 ลงทุนในภาคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติคิดเป็น และร้อยละ 14.39 เป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/three-invested-businesses-approved-to-generate-744-jobs-in-industrial-agricultural-sectors/

เมียนมาร์มีรายได้จากการส่งออกยางพารา 116 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 7 เดือน

เมียนมาร์ส่งออกยางมากกว่า 94,435 ตันไปยังต่างประเทศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 116.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ โดยการผลิตยางพาราของเมียนมาร์ต่อปีคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 300,000 ตันในปีงบประมาณนี้ ณ ปัจจุบัน ราคาทั่วไปของยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 1,640 จ๊าดต่อปอนด์ และยางตากแห้งอยู่ที่ 1,620 จ๊าดต่อปอนด์ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อราคายางในรัฐมอญ ซึ่งเป็นรัฐผลิตยางที่สำคัญในเมียนมาร์ มาจากความต้องการยางทั่วโลก การผลิตยางในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอุปทานในตลาด อย่างไรก็ดี ยางร้อยละเจ็ดสิบที่ผลิตในเมียนมาร์ส่งไปยังประเทศจีน นอกจากนี้ยังจัดส่งไปยังสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-us116-mln-from-rubber-exports-in-7-months/

สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ประกาศผ่อนคลายการตรวจสอบใบอนุญาตล่วงหน้าผู้ส่งออกสินค้าข้าว

ในขณะที่การส่งออกข้าวและข้าวหักทางทะเลและเส้นทางชายแดนกำลังชะลอตัว สมาพันธ์ข้าวเมียนมาร์ได้ประกาศว่าผู้ส่งออกข้าวที่ใช้เที่ยวบินขนส่งสินค้าจะไม่ต้องผ่านการตรวจสอบใบอนุญาตสินค้าล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยพื้นที่จัดเก็บเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะได้รับการตรวจสอบสำหรับปริมาณที่ใช้กับใบอนุญาตส่งออก แทนที่จะเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ตามประกาศดังกล่าว และไม่มีข้อกำหนดในการตรวจสอบสินค้าก่อนออกใบอนุญาตสำหรับการยื่นขอใบอนุญาตส่งออกที่มีน้ำหนักไม่เกิน 260 ตัน ทั้งนี้ คำชี้แจงดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมถึง 31 ธันวาคม เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง (MSME) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อย่างไรก็ดี การส่งออกข้าวและข้าวหักคาดว่าจะสูงถึง 2 ล้านตันในปีงบประมาณ 2566-2567 ในขณะที่มูลค่าส่งออกในช่วง 6 แรกของปี มีมูลค่า 271 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปริมาณการส่งออก 583,683 ตัน ลดลง 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวเมียนมาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pre-license-cargo-inspection-eased-for-rice-exporters-in-cargo-flights-mrf-announces/#article-title

ภูมิภาคมะเกว ต้อนรับนักท่องเที่ยว 1.5 ล้านคนใน 10 เดือน

ระหว่างเดือนมกราคมถึงตุลาคม ที่ผ่านมา ภูมิภาคมะเกวได้รับนักท่องเที่ยวเกือบ 1.5 ล้านคน ซึ่งรวมทั้งนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ ตามการระบุของ U Myint Sein ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการโรงแรมและการท่องเที่ยวประจำภูมิภาค ซึ่งในช่วงเทศกาล Thadingyut ในเดือนตุลาคมเดือนเดียวมะเกว ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวไปแล้วถึง 0.87 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดในปีนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้แสวงบุญ ซึ่งถูกดึงดูดให้ไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเจดีย์ Myathalun และเจดีย์ Mann Shwesetw อย่างไรก็ดี ภูมิภาคนี้มีมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และกำลังมีการพัฒนาโครงการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาสำหรับนักปั่นจักรยานในหุบเขาทรายของพื้นที่ Gyatkya ใน Yenangyoung เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น

ที่มา : https://www.mdn.gov.mm/en/magway-region-welcomes-15-mln-visitors-10-months

เมียนมาร์ยกระดับการผลิตน้ำมันปรุงอาหารให้มีความพอเพียงสูง

ในปัจจุบันการบริโภคน้ำมันที่เพิ่มขึ้นของเมียนมาร์ส่งผลให้มีการนำเข้าน้ำมันบริโภคหลายพันตันต่อปี ตามสถิติล่าสุด เมียนมาร์มีการนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารมากกว่า 800,000 ตัน ทั้งนี้ เพื่อลดรายจ่ายจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งต้องสนับสนุนให้เกษตรกรในท้องถิ่นขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชน้ำมัน ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้นักธุรกิจผลิตน้ำมันปรุงอาหารคุณภาพสูง เนื่องจากความจำเป็นตอนนี้อยู่ที่การมุ่งมั่นที่จะบรรลุผลผลิตตามเป้าหมายสำหรับข้าวเปลือก ถั่ว ข้าวโพด และพืชน้ำมัน กุญแจสู่ความสำเร็จอยู่ที่เกษตรกรใช้สายพันธุ์พืชที่มีคุณภาพ ดินที่อุดมสมบูรณ์ น้ำประปาที่มีประสิทธิภาพ และเทคนิคการเกษตรขั้นสูงผสมผสานกันอย่างลงตัวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ประชากรเมียนมาร์บริโภคพืชน้ำมัน เช่น ถั่วลิสงและงา นอกเหนือจากน้ำมันปรุงอาหาร การเก็บรักษาพืชผลเหล่านี้ไว้เพื่อผลิตน้ำมันในประเทศแทนการส่งออก มีศักยภาพที่จะยกระดับความเพียงพอของน้ำมันในท้องถิ่นได้มากถึงร้อยละ 249.5 ต่อปี การเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลให้การนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารลดลงอย่างมีนัยสำคัญประมาณ 600 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ตอกย้ำถึงความจำเป็นที่เกษตรกรทุกคนจะต้องเข้มข้นขึ้นในการเพาะปลูกพืชน้ำมันเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการบริโภคน้ำมันในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มรายได้ของผู้ปลูกในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ลดการพึ่งพาน้ำมันปรุงอาหารจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ นอกจากนี้ พืชน้ำมันซึ่งเป็นส่วนสำคัญของภาคเกษตรกรรม ยังช่วยเพิ่มผลผลิตต่อเอเคอร์ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงบวกต่อ GDP ของประเทศ

ที่มา : https://www.mdn.gov.mm/en/raise-cooking-oil-production-have-high-sufficiency

เมียนมาร์ให้ความสำคัญกับเวียดนามในการส่งออกน้ำตาล

เมียนมาร์หันมาให้ความสำคัญกับเวียดนามในการส่งออกน้ำตาลมากขึ้น เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อน้ำตาลจำนวน 10,000 ตันจากเวียดนาม ตามการระบุของสมาคมที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลและอ้อยของเมียนมาร์ โดยเมียนมาร์วางแผนที่จะส่งออกน้ำตาลไปยังบังกลาเทศ อินโดนีเซีย และต่างประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากการบริโภคในประเทศ ในขณะที่การส่งออกน้ำตาลไปยังเวียดนามจะถูกจัดเตรียมก่อนเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา ทั้งนี้ การดำเนินการบดอ้อยของเมียนมาร์ดำเนินไปอย่างเต็มที่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งมีผลผลิตอ้อยประมาณ 400,000 ตันต่อปี อย่างไรก็ดี น้ำตาลล็อตใหม่จะเริ่มไหลเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ เดือนธันวาคมปีนี้ นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลขึ้นราคาอ้อยเป็น 150,000 จ๊าดต่อตันสำหรับฤดูอ้อยปี 2566-2567 จากอัตราที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ที่ 110,000 จ๊าดต่อตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-to-prioritize-viet-nam-for-sugar-export/#article-title

การส่งออกภาคการผลิตสร้างรายได้ 5.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์เผยว่า มูลค่าการส่งออกจากภาคการผลิตมีมูลค่ามากกว่า 5.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายนในปีงบประมาณ 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 โดยสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามูลค่าการส่งออกลดลง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปโดยภาคเอกชนมีมูลค่าประมาณ 3.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การส่งออกที่ดำเนินการโดยภาครัฐมีมูลค่า 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออกอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ได้แก่ การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำตาล ก๊าซธรรมชาติ และสินค้าอื่นๆ ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปอยู่ในอันดับที่ 1 ใน 10 อันดับแรก รวมถึงก๊าซธรรมชาติและแร่ธาตุ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-exports-generate-us5-87-bln-as-of-17-november/