“เอดีบี” ปรับลดการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามปี 64 โต 5.8%

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประกำลังพัฒนาในเอเชียอยู่ที่ 7.2% ในปีนี้ เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 7.3% เมื่อเดือนเมษายน และจากการประเมินของ ADB การส่งออกทั่วโลกที่เริ่มฟื้นตัว ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อยู่ที่ 5.6% จาก 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เริ่มต้นเมื่อปลายเดือนเมษายน โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนที่ค่อนข้างช้า รวมถึงการบังคับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในพื้นที่เศรษฐกิจ ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการค้าและกิจกรรมทางเศรษฐกิจปีนี้ อย่างไรก็ดี ธนาคารพัฒนาเอเชียได้ปรับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามปีนี้ เหลือ 5.8% จากก่อนหน้าที่คาดการณ์ไว้ที่ 6.7% เมื่อเดือนเมษายน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/adb-lowers-vietnamese-growth-forecast-for-2021-to-58-875361.vov

ธนาคาร HSBC คาดเศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 2 เผชิญความท้าทายครั้งใหญ่

ธนาคารเอชเอสบีซี คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเผชิญกับความท้าทายจากอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คุณ Ngo Dang Khoa หัวหน้าฝ่ายการตลาดโลกของธนาคารเอชเอสบีซีประจำสาขาเวียดนาม กล่าวว่าการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นั้น สร้างความกังวลต่อการผลิตจนทำให้เกิดการหยุดชะงักในระยะยาว เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งถูกปิดตัวลงและมาตรการเว้นระยะหางทางสังคม ทำให้เศรษฐกิจในไตรมาสที่สามจะเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินเพื่อประคองเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารเอชเอสบีซีได้ปรับคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปีหน้า อยู่ที่ 6.5%

ที่มา :https://e.vnexpress.net/news/business/economy/hsbc-sees-challenges-to-vietnam-economy-in-h2-4312647.html

เศรษฐกิจเวียดนามติดอันดับที่ 4 ในอาเซียน

ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ (DBS) กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตราว 6-6.5% ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากเวียดนามยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็จะแซงหน้าสิงคโปร์ภายในปี 2573 ซึ่งตามข้อมูลเมื่อปีที่แล้ว พบว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีมูลค่าอยู่ที่ 343 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับสิงคโปร์ที่มีมูลค่า 337.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมาเลเซีย 336.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เวียดนามติดอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลกและอยู่ในอันดับที่ 4 ในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก แต่ว่าเศรษฐกิจของเวียดนามยังคงเติบโตที่ 5.64% และรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น 28.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-to-rank-fourth-in-asean-experts/204334.vnp

ครม.สปป.ลาวเตรียมมาตรการรับมือวิกฤตโควิด-19

รัฐบาลสปป.ลาวกำลังจัดการประชุมเสมือนจริงรอบพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และเอาชนะปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินที่สปป.ลาวกำลังเผชิญอยู่ โดยมีวาระในการประชุม 2 เรื่องหลักคือการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาด้านยาเสพติด รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาการใช้ยาเสพติดและการค้ามนุษย์อย่างเร่งด่วน หลังจากทราบว่ายาเสพติดกำลังทำลายอนาคตของเยาวชนและประเทศชาติ แม้จะมีความพยายามอย่างมากจากทุกภาคส่วนของสังคม แต่การใช้ยาเสพติดและการค้ามนุษย์ก็ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ด้านเศรษฐกิจรัฐบาลจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อเสริมสร้างการจัดเก็บรายได้ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพของการลงทุนของรัฐ ควบคุมการใช้จ่ายและแก้ไขปัญหาการชำระหนี้และทำให้กีบมีเสถียรภาพ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_130.php

เวียดนามโชว์ ‘GDP ไตรมาส 2’ โต 6.6% ขยายตัวเด่นสุดในอาเซียน แม้เผชิญหน้ากับโควิดกลายพันธุ์

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 2/64 เติบโต 6.61% ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด โดยรับแรงหนุนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัว 28.4% สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุ ส่งออกไปสหรัฐฯ ประเทศเดียวเติบโตถึง 42.6% แต่ภาพรวมทั้งปียังถูกท้าทายการการแพร่ระบาดของโควิดที่กลายพันธุ์ Nikkei Asia รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ของเวียดนามในไตรมาส 2 ปีนี้ ขายตัว 6.61% เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งสะท้อนภาพว่าเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเริ่มฟื้นตัวแล้ว  ส่วนในครึ่งปีแรกเศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว 5.64% เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 1.82% และแม้ว่าอัตราการขยายตัวจะต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 7% ของ VNDIRECT Securities แต่ก็ยังยืนยันได้ว่าศักยภาพทางการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามนั้นแข็งแกร่ง

ที่มา : https://thestandard.co/vietnam-show-gdp-on-second-quarter-grew-6-6-percents/

ธนาคารโลกคาดการณ์เศรษฐกิจกัมพูชา

ธนาคารโลกคาดการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชากำลังเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ในระดับปานกลางในระยะสั้น ซึ่งตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาหดตัวร้อยละ 3.1 ในปีที่แล้ว และคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4 ในปีนี้ โดยคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ความพยายามในการกระจายวัคซีน และมาตรการกระตุ้นทางการคลังจากทางรัฐบาล ซึ่งปกติแล้วเศรษฐกิจของกัมพูชาจะขึ้นอยู่กับภาคการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ รวมถึงทางด้านธนาคารโลกระบุว่างบประมาณในปี 2021 ของกัมพูชาก็มีส่วนในการกระตุ้นการลงทุนจากทางภาครัฐที่ได้รับทุนสนับสนุนในประเทศ เพื่อชดเชยการสูญเสียจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยธนาคารโลกระบุเพิ่มเติมอีกว่ากัมพูชาจำเป็นต้องเสริมและเพิ่มข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างจีนและประเทศในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50879999/world-bank-optimistic-about-economy/

ธนาคารโลกชี้ เศรษฐกิจกัมพูชากำลังฟื้นตัวแต่ความไม่แน่นอนยังคงอยู่

ธนาคารโลกรายงานถึงเศรษฐกิจของกัมพูชาที่ค่อยๆ ฟื้นตัว และคาดว่าจะเติบโตที่ร้อยละ 4 ในปี 2021 หลังจากหดตัวร้อยละ 3.1 ในปี 2020 แต่อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวยังคงมีความไม่แน่นอน อันเนื่องมาจากการกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ภายในประเทศอีกครั้งเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโควิด-19 โดยภาคอุตสาหกรรมการเกษตรค่อนข้างยืดหยุ่นปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันได้ดีที่สุด เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชาและจีน ส่วนภาคการผลิตค่อยๆ ฟื้นตัวจากการปรับตัวตามสภาวะภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป และในด้านธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกก็กำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปเช่นกัน โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ในทางกลับกัน ภาคบริการบางส่วน เช่น ที่พัก ร้านอาหาร และการคมนาคมขนส่ง ยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการชะลอตัวของภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศและต่างประเทศ ส่วนในด้านของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศยังคงทรงตัวอยู่ในระดับปกติ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50876332/world-bank-says-cambodias-economy-recovering-but-uncertainties-remain/

ICAEW คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนาม โต 7.6% ปีนี้

ตามรายงานของสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศอังกฤษ (ICAEW) เปิดเผยว่าถึงแม้จะได้รับผลกระทบทางลบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) คาดว่าจะขยายตัว 7.6% ในปีนี้ ถือเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ สิ่งที่โดดเด่นที่สุด คือ เวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่มีการเติบโตไปในทิศทางที่ดีในปี 2563 เนื่องจากประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัส ทำให้เศรษฐกิจของประเทศได้รับอนิสงค์จากการทำกิจกรรมทางธุรกิจระดับโลก พร้อมกับการลงทุนจากต่างชาติ และยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออก

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/icaew-vietnams-gdp-likely-to-expand-76-in-2021-864890.vov

ปลื้มค้าไทย-เวียดนามโต ‘จุรินทร์’ยัน4เดือนแรกขยายตัว20%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2564 ได้ให้การต้อนรับนายฟาน จี๊ ทัญ (H.E. Mr.Phan Chi Thanh) เอกอัครราชทูตแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประจำประเทศไทย ณ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือแนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจ และการค้าในยุคโควิด-19 พร้อมผลักดันแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการส่งออกสินค้าไทยและเตรียมฉลองครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม โดยทั้งสองฝ่ายยินดีที่มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับเวียดนาม ใน 4 เดือนแรกของปี 2564 (ม.ค. – เม.ย.) ขยายตัวถึง 20% แม้ในปี 2563 การค้าสองฝ่ายจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้มูลค่า 600,000 ล้านบาททำได้ 517,524 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทั้งนี้ การหารือดังกล่าว มี 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นที่ 1 ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-เวียดนาม (Joint Trade Committee: JTC) และ ประเด็นที่ 2 เวียดนามได้สนับสนุนความเห็นของไทยในการประชุมเอเปกที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.naewna.com/business/578555

กัมพูชาวางแผนเพิ่มการเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจภายในประเทศลดพึ่งพาการนำเข้า

ภาคการเกษตรของกัมพูชาโดยเฉพาะกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่ และเป็ด กำลังอยู่ในช่วงของการเติบโตและขยายตัวรายงานโดยประธานสมาคมผู้ปรับปรุงพันธุ์สัตว์แห่งกัมพูชา ซึ่งจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ไม่พึงประสงค์ต่อภาคการเกษตร รัฐบาลจึงสนับสนุนโครงการให้กู้ยืมพิเศษผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งกัมพูชา ตลอดจนสถาบันให้กู้ยืมอื่น ๆ แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยคาดว่าสิ่งนี้จะทำให้ภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นการลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าประเภทสัตว์จากต่างประเทศลง รวมถึงเป็นการลดความผันผวนของราคาภายในประเทศจากความไม่แน่นอนในหลายๆ ด้าน ซึ่งยังส่งผลดีในการควบคุมโรคจากสัตว์ ยกตัวอย่างในกรณีที่เกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในภูมิภาค ที่เวียดนามกำลังประสบปัญหาการระบาดของโรค ASF อยู่หลายครั้งโดยล่าสุดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม มีการบังคับให้คัดแยกสุกรกว่า 43,150 ตัว ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2020 ส่งผลทำให้ราคาสุกรในประเทศกัมพูชาเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50863218/domestic-husbandry-reduces-reliance-on-imports/