การใช้ smart technology ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างสปป.ลาว

ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมในสาขาการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างอัจฉริยะในระหว่างการสัมมนา“Smart Construction – 4th Industrial Revolution and Digital Transformation in the Construction Industry” จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนแห่งประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และบริษัท Heerim Architects and Planners จากเกาหลีใต้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ CSR เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองประเทศในอุตสาหกรรมการก่อสร้างของสปป.ลาว ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมการก่อสร้างในสปป.ลาวส่วนใหญ่ยังคงใช้เทคโนโลยีในท้องถิ่น แต่ smart technology มีข้อได้เปรียบอย่างมากในการช่วยให้บริษัทก่อสร้างสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ช่วยให้สามารถสร้างและออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่รับประกันความปลอดภัยมากขึ้น การทำงานที่รวดเร็วขึ้น มีความแม่นยำ ใช้แรงงานจำนวนน้อยลง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-construction-industry-eyes-use-smart-technology-106805

ถนนสี่เลนไปติละวาจะแล้วเสร็จในธันวาคมนี้

เพื่อความปลอดภัยในการขนส่งถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา การก่อสร้างถนนสี่เลนจากย่างกุ้งที่เชื่อมโยงจากสะพานตันลยินไปยังติละวาจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมจากสำนักงาน JICA ของเมียนมา และกำลังก่อสร้างสะพานตันลยินหมายเลข 3 (ข้ามแม่น้ำบาโก) การก่อสร้างได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อถนนสี่เลนและสะพานเสร็จสมบูรณ์การเดินทางจากย่างกุ้งไปยังติละวาจะใช้เวลาสั้นลง ต้นทุนในการก่อสร้างคาดว่าจะสูงกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐจากเงินกู้ของญี่ปุ่นซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ช่วง บริษัทก่อสร้างของญี่ปุ่นจะรับผิดชอบในการสร้างสะพานในภาคต่าง ๆ สะพานหมายตันลยินหมายเลข 3 จะสร้างขึ้นเป็นระยะ 125 เมตรจากสะพานตันลยินหมายเลข 1 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน สะพานใหม่แห่งนี้คาดว่าจะมีความยาว 1,928 เมตร เป็นการออกแบบสายเคเบิลเหล็กที่เชื่อมต่อย่างกุ้ง เมืองธาเกตาและตันลยิน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/construction-of-four-lane-road-to-thilawa-will-complete-in-december

ส่องธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในกัมพูชา : โตไม่หยุด…ฉุดไม่อยู่

เศรษฐกิจกัมพูชาถือว่าร้อนแรงมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ โดยโตเฉลี่ย 7% ส่งผลต่อธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่ยอดเติบโตพุ่งสูงขึ้นจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการขยายเมืองสร้างที่อยู่อาศัย ที่สำคัญคือระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยรัฐให้เอกชนเข้ามาลงทุนหรือการลงทุนร่วมกันในหลายๆ โครงการ และโครงการใหญ่อย่างการก่อสร้างทางพิเศษทั่วประเทศภายใต้แผน Expressway Master Plan ทั้งนี้ยังอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ร้อยละ 100 ในบริษัทที่รับงานก่อสร้างในกัมพูชา ในปี 2561 พบว่าในพนมเปญคาดว่าจะมีการก่อสร้างคอนโด 22,366 ยูนิต รวมทั้งศูนย์การค้าและโรงแรมก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งการยายตัวดังกล่าวโอกาสทางธุรกิจของนักลงทุนไทยไม่ว่าจะเป็น การจำหน่ายวัตถุดิบการก่อสร้าง การตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง การเข้าไปประมูลรับงานเองหรือการรับช่วงต่อล้วนเป็นโอกาสที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/48325.pdf

วันที่ 9 มกราคา 2560