เมียนมาขาดดุลงบประมาณปี 2563-2564 ประมาณ 6.8 ล้านล้านจัต

ประธานาธิบดีอู วิน หมินท์ คาดเมียนมาจะขาดดุลงบประมาณที่ 6.8 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 2563-2564 หรือ 5.4% ของ GDP  มีรายได้ประชาชาติรวม 27.8 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 2563-2564 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นถึง -34.6 ล้านล้านจัต ค่าใช้จ่ายจะรวมถึงการใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูผลกระทบจาก COVID-19 และการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน รวมถึงด้านศึกษาการ สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน และการเกษตร การใช้จ่ายด้านประกันสังคมและสวัสดิการเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาในขณะที่โครงการสำหรับคนพิการก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย ในปีงบประมาณนี้รายได้จากภาษีคาดจะลดลง แต่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ส่วนกองทุนฉุกเฉินที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้วมียอดรวม 100 พันล้านจัต เพิ่มเป็น 150 พันล้านจัต ในปี 2563-2564 ขณะเดียวกันการจัดสรรงบการใช้จ่ายสำหรับรัฐและภูมิภาคนั้นเพิ่มขึ้นจาก 267 พันล้านจัต เป็น 2.3 ล้านล้านจัต การขาดดุลคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.4% ของ GDP ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมื่อเทียบกับ 5.9% ในปีงบประมาณปัจจุบัน 2562-2563 คาดว่าจะมีรายได้รวม 25.3 ล้านล้านจัตและมีค่าใช้จ่ายรวม 32.3 ล้านล้านจัตทำให้ขาดดุล 7 ล้านล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/budget-deficit-fiscal-2020-21-myanmar-k68-trillion.html

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวถึงงบประมาณภายในประเทศกัมพูชา

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่ากัมพูชาเริ่มดำเนินงบประมาณเข้าสู่จุดสมดุล โดยรัฐบาลได้เตรียมกองทุนสำรองฉุกเฉินมูลค่า 800 ล้านถึง 2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากการระบาดของ COVID-19 โดยระบุว่ากองทุนจะถูกใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความเหมาะสม ตามแผนงบประมาณยุทธศาสตร์ระดับชาติของรัฐบาล (2564-2566) นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ -1.9 ซึ่งรัฐบาลวางแผนที่จะลดงบประมาณของรัฐในปี 2564 ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนลดลงร้อยละ 50 จากงบประมาณของรัฐในปีนี้รวมถึงการลดลงร้อยละ 11.3 สำหรับกิจการสังคมและร้อยละ 6.4 สำหรับการบริหารทั่วไป ตามที่รัฐบาลคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะสามารถควบคุมได้ที่อัตราร้อยละ 2.8 อย่างไรก็ตามในปีหน้าอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 3.1 เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับอาหารและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในตลาด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50736883/pm-hun-sen-says-budget-balanced/

บิ๊กตู เข้มทุกกระทรวงใช้งบประมาณตรงตามเป้า

นายกฯ สั่งทุกหัวหน้าส่วนราชการบริหารงบช่วงที่เหลือ พร้อมสั่งสำนักงบประมาณ ทบทวนรายละเอียดคำขอปี 64 ต้องปรับงบหรือเติมงบอะไรมาเพิ่ม เพื่อประคองประเทศ โดยขอให้เร่งรัดขับเคลื่อนการปฏิบัติราชการและการใช้จ่ายงบประมาณในช่วงไตรมาส ที่ 3 – 4 ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดตามแผนปฏิบัติราชการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 63 โดยขอให้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้เป็นหลักคิด ในการกำหนดแผนงานและโครงการ ทั้งยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและ เจ้าหน้าที่ เพื่อให้พร้อมต่อการทำงานที่ต้องอาศัยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/778732

‘โควิด’ ฉุดเบิกจ่ายงบ 63 ต่ำกว่าเป้า นายกฯ เร่งทุกหน่วยเบิกงบ

“สมคิด” เผยนายกฯสั่งหัวหน้าส่วนราชการ เร่งเบิกจ่ายงบปี 63 ที่ต่ำกว่าเป้าไปมากหลังผลกระทบโควิด และซักซ้อมการทำโครงการเสนอใช้เงินกู้ 4 แสนล้านบาทเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ได้เร่งรัดส่วนราชการให้เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ เนื่องจากขณะนี้การเบิกจ่ายตกเป้าและล่าช้าไปมากเพราะติดขัดปัญหาและอุปสรรคในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความล่าช้าของการออก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 2563

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878986?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

ราคาน้ำมันดิ่งลงหนัก ส่งผลต่อรายรับงบประมาณไม่มากนัก

จากข้อมูลของสำนักงบประมาณ ภายใต้กระทรวงการคลัง ระบุว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกดิ่งหนัก ไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อรายรับงบประมาณของเวียดนามมากนัก ทางผู้อำนวยการของสำนักงบประมาณได้แสดงความคิดเห็นหลังจากได้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในเดือนพ.ค. จากน้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI) หรือรู้จักในอีกชื่อ ‘Texas light sweet’ โดยการลดลงหนักของรายรับงบประมาณรัฐ เนื่องมาจากการคาดการณ์ราคาน้ำมันอยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ผลกระทบดังกล่าวไม่ส่งผลมากนัก และได้ตั้งข้อสังเกตว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการปรับโครงสร้างรายรับงบประมาณจากน้ำมันดิบ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของทั้งหมด ทั้งนี้ ตามข้อมูลของกระทรวงการคลัง ระบุว่าในไตรมาสแรกของปีนี้ รายรับงบประมาณจากน้ำมันดิบประมาณ 622 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.4 ของประมาณการและเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน กำลังการผลิตของเวียดนามอยู่ที่ 2.8 ล้านตัน และเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.8 ของแผน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/oil-price-plummet-impact-on-budget-revenue-not-too-big-official/172101.vnp

รัฐวิสาหกิจสูญเสียรายได้ 3.7 ล้านล้านด่ง ในไตรมาสแรก จากโควิด-19 ระบาด

รัฐวิสาหกิจ 9 กลุ่ม และบริษัท ภายใต้คณะกรรมการบริหารเงินทุนของรัฐ (CMSC) มีผลประกอบการขาดทุนมากกว่า 3.7 ล้านล้านด่ง (160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามรายงานล่าสุดของ CMSC ถูกส่งไปยังนายกฯ เหงียนซวนฟุก ระบุว่ารายได้รวมของรัฐวิสาหกิจ 19 แห่ง และบริษัท ลดลงเหลือประมาณ 27.3 ล้านล้านด่ง ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังคงต่อเนื่องและราคาน้ำมันยังไม่ฟื้นตัว จะส่งผลให้รายได้รวมในปี 2563 แตะระดับ 270 ล้านล้านด่ง ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ทั้งปี ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มรัฐวิสาหกิจ 8 แห่งจากทั้งหมด จะสูญเสียรายได้มากกว่า 26.3 ล้านล้านด่ง และทำให้งบประมาณของรัฐต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ 32.8 ล้านล้านด่ง สำหรับทางบริษัทเวียดนามแอร์ไลน์นั้น หากการแพร่ระบาดยังคงดำเนินต่อไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ จะสูญเสียรายได้ประมาณ 72.4 ล้านล้านด่ง รวมถึงบริษัทได้ระงับเส้นทางการบินระหว่างประเทศทั้งหมดแล้วและเน้นให้บริการเส้นทางการบินในประเทศเท่านั้น ในขณะเดียวกัน องค์กรการทางพิเศษแห่งเวียดนาม คาดว่าจะสูญเสียรายได้เหลือ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสแรก จากคนเดินทางน้อยลง ประกอบกับบริษัท PVN ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 และราคาน้ำมันดิ่งลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/stateowned-enterprises-face-37trillionvnd-loss-in-q1-due-to-covid19/171311.vnp

ครม.อนุมัติบริจาคเพิ่มทุนสมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ 159.91 ล้าน

ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการบริจาคเพิ่มทุนในสมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (International Development Association : IDA) ครั้งที่ 19 (IDA 19) ของประเทศไทย จำนวน 159.91 ล้านบาท โดยแบ่งชำระออกเป็น 9 งวด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2572 โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.) และสำนักงบประมาณ (สงป.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ สมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (IDA) เป็นสถาบันในกลุ่มธนาคารโลกมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนที่สุดในรูปแบบเงินให้เปล่า (Grant) และเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน ในครั้งนี้กระทรวงการคลังเสนอให้ไทยบริจาคเงินเพิ่มทุนใน IDA ครั้งที่ 19 (IDA 19) จำนวน 159.91 ล้านบาท โดยแบ่งชำระออกเป็น 9 งวด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2572 และสามารถบริจาคในรูปแบบเงินบาทได้ จึงไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน การบริจาคเพิ่มทุนใน IDA 19 สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเป็นการรักษาจุดยืนของประเทศไทยที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีฐานะยากจน ซึ่งรวมถึงประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากผลการพัฒนาของประเทศเหล่านี้ในทางอ้อม ผ่านช่องทางการค้า การลงทุน และความเชื่อมโยงของภูมิภาคและเป็นการส่งเสริมบทบาทภูมิภาคอาเซียนในการเป็นกำลังสำคัญเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคและเศรษฐกิจโลกต่อไป

ที่มา : https://mgronline.com/politics/detail/9630000032896

อิรวดี ทุ่มงบ 100 ล้านจัต ซื้ออุปกรณ์การแพทย์

ด้วยเป้าหมายที่จะป้องกัน COVID-19 รัฐบาลภูมิภาคอิรวดีใช้จ่าย 100 ล้านจัตสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจและชุดป้องกัน โดยเงินจะถูกเก็บรวบรวมผ่านกองทุนของรัฐบาลเขตอิระวดีและถูกส่งไปยังกรมอนามัยในภูมิภาค แม้เมียนมาจะไม่พบผู้ป่วย COVID-19 แต่ต้องหาทางเตรียมการไว้ ดังนั้นจึงต้องการงบประมาณเพียงพอที่จะซื้อเครื่องช่วยหายใจและชุดป้องกัน และควรเตรียมพื้นที่สำหรับ COVID-19 อีก เมียนมามีโรงพยาบาลระดับอำเภอ 200 เตียงจำนวนห้าเตียงในเขตอิระวดี ในเขตอำเภอปะทิวมีโรงพยาบาลขนาด 500 เตียง หากพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็น COVID-19 ในภูมิภาคอินวดี จะถูกส่งตัวไปที่ที่โรงพยาบาลเขตพะสิม

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/ayeyawady-region-to-spend-ks-100-million-on-medical-equipment

งบปี 63 สุดอืด ใช้จ่ายรัฐสะดุด ไตรมาสแรกลงทุนต่ำเป้า 5.3%

งบประมาณรายจ่ายประจำปี 63 ที่กำหนดไว้ 3.2 ล้านล้านบาท ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ (ต.ค.-ธ.ค.62) เบิกจ่ายแล้วราว 29.2% เป็นการเบิกจ่ายในส่วนงบรายจ่ายประจำปี เช่น เงินเดือนข้าราชการ เป็นต้น 700,000 ล้านบาท โดยการเบิกจ่ายนี้สามารถทำได้ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ที่กำหนดให้รัฐบาลใช้งบประมาณปีก่อนหน้าที่เหลืออยู่ไปก่อนได้ ยกเว้นการเบิกจ่ายในโครงการลงทุนใหม่ ส่วนการเบิกจ่ายงบลงทุนไตรมาสแรก เป็นการเบิกจ่ายจากโครงการที่มีสัญญาผูกพันมาก่อนตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่เบิกจ่ายได้เพียง 25,000 ล้านบาท หรือ 4.4% ของงบลงทุนในปีงบ 63 ที่กำหนดไว้กว่า 600,000 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 5.3% และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 65% คิดเป็นเงินลงทุนหายไปจากระบบเศรษฐกิจราว 50,000 ล้านบาท เพราะ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 63 ยังไม่มีผลบังคับใช้ จึงเบิกจ่ายงบลงทุนใหม่ไม่ได้ รัฐบาลประกาศให้ปี 63 เป็นปี แห่งการลงทุน โดยโครงการลงทุนสำคัญ ได้แก่ รถไฟทางคู่ 7 เส้นทางของกระทรวงคมนาคม เช่น เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย เป็นต้น ส่วนการลงทุนรัฐวิสาหกิจปีนี้มีวงเงิน 346,000 ล้านบาท คาดจะเบิกจ่ายได้ 77% ของวงเงินลงทุนทั้งหมด และคาดว่าการลงทุนเอกชนปีนี้จะโต 4.2% จากปีที่แล้วที่โต 2.6%.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/finance-banking/1768380

นายสมคิดมอบนโยบายจัดทำงบฯ แบบบูรณาการ ชี้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม มอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบบูรณาการประจำปี 2564 ว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ทุกภาคส่วนจะต้องทำงานกันแบบบูรณาการ โดยรัฐบาลจะมุ่งเน้นงบประมาณในการจัดทำระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและดึงดูดการลงทุน โดยมอบหมายให้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ติดตามงบประมาณเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ให้ผันงบประมาณมาลงทุนใน 3 แห่ง

ที่มา : https://mgronline.com/uptodate/detail/9630000004979