กลุ่มยางวางแผนที่จะสร้างโรงงานแปรรูปในภาคเหนือ

จากข้อมูลของกลุ่มยางเวียดนาม (Vietnam Rubber Group – VRG) ได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานแปรรูปจำนวน 3 โรงงานในภาคเหนือ เนื่องมาจากผลผลิตยางจะเพิ่มขึ้นเร็วๆนี้ ดังนั้น ในปี 2565 บริษัทยาง Lai Chau จะดำเนินลงทุนในสายการผลิตน้ำยางข้น (SVR10,SVR20) ด้วยกำลังการผลิตอยู่ที่ 3,000 ตันต่อปี เพื่อที่จะรองรับกับบริษัทในภาคเหนือ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน กลุ่มยางเวียดนาม (VRG) มีโรงงานแปรรูปยางในจังหวัด Son La ด้วยกำลังการผลิต 6,000 ตัน และในจังหวัด Lai Chau ด้วยกำลังการผลิต 5,000 ตันต่อปี ซึ่งในปี 2566 ทางกลุ่มยางเวียดนามจะเริ่มก่อสร้างโรงงานแปรรูปยาง (เฟส 2) ในจังหวัด Lai Chau ด้วยกำลังการผลิต 4,000 ตันต่อปี ส่งผลให้กำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 9,000 ตันต่อปี ขณะเดียวกัน โรงงานทั้งสองแห่งนี้คาดว่าจะตอบสนองต่อความต้องการทั้งภูมิภาค

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rubber-group-plans-to-build-three-processing-plants-in-northern-region/170134.vnp

‘กยท.’ หวั่นออร์เดอร์ส่งออกยางไปจีนวูบ 2 ล้านตัน

โควิด-19 พ่นพิษหนัก กยท.หวั่นใจออร์เดอร์จีนวูบ 50% ทุบน้ำยางส่งไปจีนชะงัก 2 ล้านตัน ฉุดราคาน้ำยางลง เร่งสปีดหน่วยงานรัฐใช้ยาง ล่าสุดดึง รพ.รามาธิบดี เอ็มโอยูปั๊มอุปกรณ์การแพทย์แปรรูปจากยาง การระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงส่งผลให้ตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักเลื่อนชิปเมนต์ส่งมอบยางออกไปก่อนในขณะนี้ และแรงงานที่อยู่ในภาคโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมยางพารายังไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานที่โรงงานได้เต็มที่ ปีนี้จึงอาจจะล่าช้า อย่างไรก็ตาม คาดว่าช่วงเดือนมีนาคมนี้น่าจะคลี่คลายดีขึ้น เพราะจีนเริ่มควบคุมสถานการณ์ได้ กยท.ตั้งเป้าหมายว่าจะมีการใช้ยางพาราในประเทศ 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ตั้งเป้าหมายไว้ 160,000 ตัน และมีการใช้ยางพาราจริงประมาณ 140,000 ตัน คาดว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นจากการสร้างถนน และหน่วยงานนำยางแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยจะมีงบฯการวิจัยและพัฒนา 400 ล้านบาท” เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว และเข้าสู่ช่วงปิดการกรีดยาง รวมทั้งผลจากโรคใบด่างส่งผลให้ผลผลิตลดลงและยังได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ออร์เดอร์จากจีนหยุดชะงัก โดยปกติจีนมีการสั่งออร์เดอร์น้ำยางสดจากไทยกว่า 50% ของปริมาณน้ำยางทั้งหมดในประเทศ หรือออร์เดอร์หายไปประมาณ 2 ล้านตัน ดังนั้น กยท.จึงต้องเร่งผลักดันการใช้ยางในประเทศจากการสร้างถนน สร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์และหน่วยงานนำยางแปรรูปผลิตภัณฑ์ ล่าสุดได้บันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ด้านการวิจัยและพัฒนา ระหว่าง กยท.กับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาแบบจำลองสื่อการเรียนการสอนทางการแพทย์จากยางพาราแปรรูปที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยในการพัฒนาวิจัย ทดแทนการนำเข้า และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา ในระยะเวลา 3 ปี รายงานจาก กยท.ระบุว่า ขณะนี้ระดับราคาน้ำยางสด ณ วันที่ 4 มี.ค. 2563 อยู่ที่ กก.ละ 42.80 บาท จากเดือนก่อนหน้า (3 ก.พ.) อยู่ที่ กก.ละ 39.80 บาท ส่วนราคาเอฟโอบีอยู่ที่ กก.ละ 50.55 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เคยอยู่ที่ กก.ละ 47 บาท ไทยมีการส่งออกยางพาราในเดือนมกราคม 2563 ปริมาณ 296,348 ตัน เพิ่มขึ้น 0.94% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่า 388 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.02%

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-429452

มูลค่าการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้น

มูลค่าการส่งออกยางพาราของสปป.ลาวเพิ่มขึ้น โดยสร้างรายได้แก่สปป.ลาวถึง 217.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 จากการที่พื้นที่เพาะปลูกลดลงในระยะ 3 ปีที่ผ่านทำให้ราคายางพาราเพิ่มขึ้นจาก 3,000-4,000 kip ในปี 60 มาเป็น5,000-6,000 kip ในช่วงนี้ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากความต้องการยางพาราของจีนมากถึง 10,000 ตัน จากปีที่แล้วและปี63สปป.ลาวได้รับโควต้าในการส่งออกไปยังจีนอีก 20,000 ตัน ปัจจุบันถึงแม้เกิดการแพร่ระบาดของ covid-19 แต่การส่งออกยางาราไปยังจีน จากแขวงน้ำทาก็ยังทำได้ปกติและสร้างมูลค่ามหาศาลแก่สปป.ลาว

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/rubber-falls-second-place-export-value-despite-rise-foreign-sales-114828

เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในกัมพูชาต้องรับกับสภาวะราคายางตกต่ำ

เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราภายในประเทศกัมพูชาได้แสดงความกังวลเป็นอย่างมากต่อภาคการเพาะปลูกยางพาราในปัจจุบันในขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดพยายามดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอดหลังจากราคายางตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี โดยรองประธานของ An Mady Group บริษัทผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางอธิบายถึงปัญหาในด้านราคายางของกัมพูชาที่ราคาตกต่ำ รวมถึงยังส่งผลกระทบต่อตลาดยางในมาเลเซียและไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก โดยเน้นย้ำว่าสงครามการค้าเสรีระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทต้องจ่ายภาษีส่งออก 50 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้ออกข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณาลดอัตราภาษีปัจจุบัน ในปี 2562 กัมพูชาส่งออกยางเกือบ 300,000 ตันเพิ่มขึ้น 30% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สร้างรายได้เกือบ 400 ล้านเหรียญสหรัฐด้วยราคาเฉลี่ยที่ 1,336 เหรียญต่อตัน ซึ่งหากผู้ประกอบการต้องการกำไรจากการเพาะปลูกจำเป็นต้องขายที่ประมาณ 1,500 เหรียญสหรัฐต่อตัน ถึงจะเกินต้นทุนด้านการผลิต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50690273/local-rubber-farmers-suffer-from-a-decade-of-low-prices

การส่งออกยางของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 30% ในปีที่แล้ว

กัมพูชาส่งออกยางพาราจำนวน 282,071 ตันในปี 2562 เพิ่มขึ้น 30% จาก 217,501 ตันในปีก่อนหน้า โดยประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีรายรับรวมราว 377 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกผลิตภัณฑ์จากยางพาราในปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 31.8% จาก 286 ล้านเหรียญสหรัฐใน 2561 ซึ่งรายงานประจำปีของกระทรวงรายงานว่ายางแห้งหนึ่งตันมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,336 เหรียญสหรัฐในปี 2562 หรือสูงกว่าปีก่อนประมาณ 19 เหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2561 โดยกัมพูชาส่งออกสินค้าส่วนจากยางพาราส่วนใหญ่ไปยังประเทศมาเลเซีย, เวียดนาม, สิงคโปร์และจีนเป็นหลัก ซึ่งประเทศกัมพูชาได้ปลูกต้นยางพาราบนพื้นที่รวม 406,142 เฮคตาร์ ซึ่งใน 247,113 เฮกตาร์หรือ 61% ของพื้นที่เพาะปลูกต้นยางมีอายุมากพอที่จะถูกเก็บเกี่ยวน้ำยางได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50684115/cambodias-rubber-export-up-30-percent-last-year

บริษัทยางจากเวียดนามที่บริหารงานโดยรัฐวางแผนขยายกิจการในกัมพูชา

Vietnam Rubber Group (VRG) กำลังวางแผนที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยปัจจุบันในกัมพูชา VRG ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฯเวียดนามได้ลงทุนในฟาร์มยางขนาดใหญ่ใน 7 จังหวัด โดยเปิดเผยแผนการขยายตัวในระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรในกรุงพนมเปญ ซึ่งระบุว่า บริษัท เก็บน้ำยาง 50,000 ตันจากพื้นที่ในกัมพูชา 47,000 เฮกตาร์เมื่อปีที่แล้ว โดย VRG ดำเนินธุรกิจผ่าน บริษัท ย่อย 19 แห่งในกัมพูชามีรายงานการลงทุนมูลค่าประมาณกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในปี 2019 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 23 ซึ่งทำรายได้อยู่ที่ประมาณ 1.28 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัท ซึ่งมีพื้นที่เกือบ 10,000 เฮคตาร์ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลในการทำสวนยางพาราในจังหวัดพระวิหารได้ลงทุน 40 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างงาน 3,000 ตำแหน่งให้แก่คนงาน จากข้อมูลของธนาคารแห่งชาติกัมพูชาระบุว่ากัมพูชาสร้างรายได้มากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้วจากการส่งออกยางในปีที่แล้วลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50682038/state-run-vietnam-rubber-firm-plans-expansion-in-kingdom

การนำเข้าเมล็ดพันธุ์ถูกแบนจากโรคเชื้อรา กระทบต้นยางไทย

หลังจากการระบาดของเชื้อรา Pestalotiopsis หรือโรคใบร่วงชนิดใหม่ ในต้นยาง เมล็ด และกล้ายางของไทย จะไม่ได้รับอนุญาตผ่านสนามบินและประตูชายแดน โรคเชื้อราแพร่กระจายในสวนยางพาราบางแห่งในประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการป้องกันไว้ก่อน นอกจากนี้การนำเข้าจากประเทศอื่น ๆ ก็จะถูกระงับเช่นกัน การระบาดของเชื้อราครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดยางและการนำเข้ายางดิบและน้ำยาง ต้นยางพาราที่เชื้อรา pestalotiopsis จะทำให้ได้น้ำยางมีคุณภาพต่ำ จากข้อมูลของพบว่าเชื้อรายังแพร่กระจายในอินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และศรีลังกาแม้ว่าจะยังไม่ได้รับการยืนยัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/seed-imports-banned-fungal-disease-hits-thai-rubber-trees.html

พ่อค้ากดซื้อ ทุบราคายางดิ่ง รัฐแบกชดเชย

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมนำเสนอเรื่องต่อครม.เพื่อเดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางพาราระยะที่ 1 งบประมาณ 2.43 หมื่นล้านบาท โดยยางแผ่นดิบคุณภาพดีประกันรายได้ที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) น้ำยางสด (DRC 100%) ที่ 57 บาทต่อกก. ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ที่ 23 บาทต่อกก. โดยจะจ่ายเงินส่วนต่างราคาตลาดกับราคาประกัน เข้าบัญชีเกษตรกรผู้ปลูกยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทยผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในทุก 2 เดือน ซึ่งงวดแรกจะจ่ายในเดือนธันวาคมนี้ อย่างไรก็ดีผลพวงที่ตามมาเวลานี้ได้รับเสียงสะท้อนจากเกษตรกรว่าผู้ค้ายางเริ่มกดราคารับซื้อยาง เพื่อหวังฟันกำไร โดยผลักภาระในการชดเชยส่วนต่างราคาให้กับรัฐบาล หากไทยไม่รีบปรับตัวสร้างนิวบาลานซ์ใหม่โดยใช้ยางในประเทศและส่งออกให้สมดุลกัน อนาคตอุตสาหกรรมยางพาราไทยทั้งระบบจะลำบาก เพราะเวลานี้นอกจากไทย อินโดนีเซีย มาเลเซียที่เป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่แล้ว จีนก็มีการปลูกยางได้เองในมณฑลยูนนาน และยังมาเช่าพื้นที่ปลูกใน CLMV ขณะที่อินเดียก็เร่งขยายพื้นที่ปลูกในประเทศ ซึ่งผลผลิตจะทยอยออกมากขึ้นในทุกปีนับจากนี้ ดังนั้นตลาดจีน รวมถึงตลาดอื่นๆ จะลดการนำเข้ายางพาราจากไทยลงแน่นอน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 26 – 28 ก.ย. 2562—

กลุ่มอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีรายได้และกำไรพุ่งสูงขึ้น

จากรายงานของอุตสาหกรรมยางเวียดนาม (GVR) เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2562  ธุรกิจของอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีรายได้ และกำไรหลังหักภาษี ด้วยมูลค่ารวม 7.6 ล้านล้านด่อง และ 1 ล้านล้านด่อง ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ โดยกลุ่มธุรกิจของอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีข้อได้เปรียบในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ และไม้แปรรูปให้มีคุณภาพ โดยบริษัทในเครือกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ มีโครงการแปรรูปไม้กว่า 13 โครงการ ที่สามารถผลิตสินค้าทำมาจากไม้ ได้แก่ แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง (MDF) ไม้อัด และยาง เป็นต้น ซึ่งกลุ่มธุรกิจของอุตสาหกรรมนี้ มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตอุตสาหกรรมพิเศษอย่างต่อเนื่อง ในนิคมอุตสาหกรรม Nam Tan Uyen , Rach Bap และ Thai Binh เป็นต้น นอกจากนี้ ก็มีการพัฒนาทางด้านที่อยู่อาศัย และการบริการ ในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523414/rubber-group-sees-both-revenue-and-profit-rise.html#YtS2E50RP8KLJwOb.97