การท่องเที่ยวสปป.ลาวที่กำลังเติบโตจากนักท่องเที่ยวจีน

กระทรวงข้อมูลวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวได้เปิดเผยตัวเลข การท่องเที่ยวล่าสุดแสดงให้เห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าสปป.ลาวในปี 62 มีมากขึ้น โดยเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเยอะที่สุด 4.7 ล้านคนเพิ่มขึ้น 14.44% จากปี 2561 ส่วนหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในปีที่ผ่านเกิดจาก แคมเปญระหว่างประเทศลาว – ​​จีนซึ่งได้รับความร่วมมือจากจีนเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนจากประเทศจีนมาเที่ยว สปป.ลาวมากขึ้น ขณะนี้รัฐบาลได้เริ่มวางแผนสำหรับการที่จะกระตุ้นให้การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในปี 63 โดยจะมีการดำเนินการในเรื่องการให้บริการที่ดีขึ้นทั้งด้านสถานที่ท่องเที่ยวและความสะดวกสบายสำหรับการข้ามพรมแดน นอกจากนี้การรักษาระดับของค่าเงินกีบให้เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี63 โดยรัฐบาลหวังที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 4.7 ล้านคนและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 63

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New_17.php

จีนให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวในการต่อต้าน Covid-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทั่วโลกและมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดเป็นวงกว้างออกไปอีก สปป.ลาวถือเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้ออยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำโดยล่าสุดมียอดผู้ติดเชื้อ 3 คน แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ละเลยโดยมีมาตราการการป้องกันเข้มงวดขึ้นและได้รับความช่วยเหลือจากชาติพันธมิตรอย่างจีนซึ่งได้ส่งมอบชุดตรวจจับไวรัส 2,000 ชุด ชุดป้องกัน 5,000 ชุดรวมถึงหน้ากาก N95 400,000 ชุดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการช่วยในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 นอกจากนี้หน่วยงานท้องถิ่นในประเทศจีนเช่นยูนนาน หูหนาน ฉงชิ่ง ซานตงและเซี่ยงไฮ้ได้เข้าร่วมกับสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเอเชีย – จีนพันธมิตรผู้ประกอบการจีนและได้รับการสนับสนุนจากธนาคารไอซีบีซีในเวียงจันทน์และชุมชนชาวจีนในสปป.ลาว ในการแก้ปัญหาทั้งการระบาดของไวรัสและบรรเทาผลกระทบของภาคธุรกิจที่ได้รับจากการเกิดโรคระบาด ในอีกแง่ยังเป็นการสร้างสัมพันธที่ดีต่อทั้ง 2 ประเทศอีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Chinese_62.php

โรงงานการ์เม้นท์จีนลอยแพคนงานกว่า 800 คน

เจ้าของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า Royal Apolo แห่งประเทศจีนตั้งอยู่ที่เขตอุตสาหกรรมชเวปยีธา เขตย่างกุ้งได้ย้ายโรงงานไปประเทศไทยโดยไม่จ่ายเงินเดือนให้กับคนงานประมาณ 800 คน มีรายงานว่าโรงงานดังกล่าวได้ถูกเช่าและวางแผนที่จะทำการประมูลเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อจ่ายเงินให้กับคนงาน 800 คน คนงานกำลังเจอปัญหา เช่น การจ่ายค่าเช่าที่พักและอาหาร ดังนั้นจึงไม่กลับบ้าน คนงานประมาณ 600 คนต้องค้างคืนในบริเวณโรงงาน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/garment-factory-boss-slips-away-leaving-about-800-workers-unpaid

โรงงานถุงของจีนในเมียนมาปิดตัวลงเพราะพิษ COVID-19

วันจันทร์ที่ผ่านมาโรงงานถุงของจีนในย่างกุ้งประกาศปิดตัวลงเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศจีน โรงงานถุงลัคกี้สกายในเขตอุตสาหกรรม Mya Sein Yaung เมือง Hlaing Tharyar ปิดตัวลงโดยไม่ได้แจ้งให้พนักงานทราบ ซึ่งเริ่มมีพนักงานประท้วงภายหลังปิดตัวลง หนึ่งในผู้นำของการประท้วงเรียกร้องให้เพิกถอนใบอนุญาตของโรงงานและให้เนรเทศพนักงานชาวจีน 20 คน โรงงานมีคนงาน 642 คน ซึ่งส่งออกกระเป๋าหนังไปยุโรป คนงานนัดหยุดงานตั้งแต่วันที่ 31 มกราคมถึง 11 กุมภาพันธ์ส่งผลให้คำสั่งซื้อลดลง หลังจากบรรลุข้อตกลงกับโรงงานเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์คนงานกลับมาทำงาน แต่ 10 วันต่อมาเลขาธิการสหภาพแรงงานถูกไล่ออกโดยไม่มีเหตุผลดังนั้นจึงเกิดการประท้วงและโรงงานปิดตัวลง ทั้งนี้ผู้บริหารโรงงานยืนยันว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ลัคกี้สกายเป็นบริษั จีนแห่งที่สามที่ต้องปิดตัวลงในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเมียนมาแสดงความกังวลว่าครึ่งหนึ่งของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในประเทศอาจปิดตัวลงในเดือนหน้าเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบจากจีน ซึ่ง 90% ของผ้า สิ่งทอ และซิปที่ใช้ในโรงงานล้วนมาจากจีนทั้งสิ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/chinese-bag-maker-shuts-down-myanmar-over-covid-19.html

แรงงานเมียนมาไม่หวั่นพิษโคโลน่ากลับเข้าทำงานในจีนเพิ่มขึ้น

ในไม่กี่วันที่ผ่านมาแรงงานเมียนมากลับไปยังประเทศจีนเนื่องจากโรงงานที่ตั้งอยู่ระหว่างสองประเทศยังเปิดทำการปกติ

แม้ว่าภูมิภาคโคโรนาไวรัสจะยังคงปิดอย่างต่อเนื่อง โรงงานในจีนกำลังเรียกคนงานกลับมาที่นี่ ทุกวันมีผู้คนราวหมื่นคนเดินทางกลับประเทศจีนผ่านประตูชายแดนมูเซ นอกจากนี้ยังมีบางคนที่ไปตอนเช้าและกลับตอนเย็น เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 63 ตลาดผลไม้ของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนมูเซ (Muse 105th Mile Border Trade Zone) มีรถบรรทุก 230 คันบรรทุกแตงโมและบรรทุกเมลอน 219 คัน มาขาย

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/more-myanmar-workers-returning-to-their-jobs-despite-virus-threat

พิษไวรัส COVID-19 กระทบค้าชายแดนเมียนมา – จีน ลด 209 ดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกแตงโมและผลิตภัณฑ์ทางทะชายแดนเมียนมา – จีนลดลง 209 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึง 14 กุมภาพันธ์ของปีงบประมาณ 61-62 มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 14,595 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 2.147 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีนี้ มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 1.053 พันล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าชายแดนลดลงเนื่องจากวันหยุดตรุษจีนและการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า ถึง 18 กุมภาพันธ์การค้าชายแดนลดลง 209 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – ส่งออก 152 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 57 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีผลกระทบกับแตงโม, แตงโมหวาน, สินค้าที่เน่าเสียได้และผลิตภัณฑ์ทางทะเล การแก้ไขปัญหานี้รัฐบาลย่างกุ้งร่วมมือกับโรงแรมตากอากาศ เจ้าของร้านอาหาร และผู้ผลิตอาหารในการรับซื้อแตงโมและแตงโมหวานและช่วยเพิ่มการบริโภคในท้องถิ่น

โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอาจต้องปิดตัวลงชั่วคราวเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบหากไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบได้จนถึงเดือนเมษายน ซึ่งต้องนำเข้าวัตถุดิบ CMP ผ่านชายแดนจีน – เมียนมา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-china-border-trade-declines-209-m-usd-due-to-covid-19

ยอดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติของเวียดนามขยายตัว หลังจากการแพร่ระบาดไวรัส

ในฐานะจีนเป็นประเทศศูนย์กลางการลงทุนจากต่างชาติ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างหนัก ปัจจัยนี้ถือว่าเป็นโอกาสแก่ประเทศอื่นๆที่จะพยายามเร่งดึงดูดเม็ดเงินทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะ นำไปสู่การหันไปลงทุนตลาดอื่น ซึ่งทางบริษัทสหรัฐฯรายใหญ่แห่งหนึ่งได้วางแผนโครงการ มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย และคาดว่าไม่จีนก็เวียดนามที่เป็นฐานการลงทุน ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าเวียดนามอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติเพิ่มขึ้น รวมถึงต่างชาติย้ายฐานการผลิตในจีน จากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีของเวียดนาม ได้แก่ CPTPP และ EU-Vietnam FTA เป็นต้น ซึ่งหากควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้ในไตรมาสแรก เวียดนามจะดึงดูดเงินทุนจากต่างชาติในปีนี้ อยู่ที่ 38.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ถ้าการแพร่ระบาดสิ้นสุดในไตรมาสสอง เวียดนามจะดึงดูด FDI ได้เพียง 38.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยโอกาสนี้ เวียดนามควรปรับนโยบายเพื่อดึงดูดนักลงทุนที่ลดกำลังการผลิตในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและหันมาลงทุนในเวียดนาม รวมถึงส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติที่มีแผนลงทุนเชิงรุก อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวนั้น เวียดนามจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการลงทุนและการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติที่มีคุณภาพ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/602424/fdi-in-viet-nam-expected-to-surge-after-the-epidemic.html

เมียนมาส่งออกมูลค่า 0.5 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังจีนหลังไวรัสโคโรน่าระบาด

ก่อนหน้านี้เมียนมานำเข้าสินค้ามูลค่าประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐไปยังจีนในทุกวันก่อนการระบาดของไวรัสโคโรน่า (covid-19) แต่ปัจจุบันสามารถส่งออกสินค้าได้เพียงประมาณ 0.5 ล้านชิ้นเท่านั้น แม้ว่าเมียนมาจะไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังจีน ซึ่งเมียนมาต้องหาตลาดใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ สินค้าบางรายการไม่สามารถหาตลาดใหม่ในประเทศอื่นในเวลาอันสั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เน่าหรือเสียหายได้ง่าย ปัจจุบันเมียนมากำลังติดตามสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าอย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าใด ในระหว่างนี้เมียนมาต้องหาตลาดใหม่ๆ ให้ได้ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกสินค้าไปไทยอย่างสม่ำเสมอและมีข่าวว่าจีนจะเปิดศูนย์การค้าชายแดนอีกครั้งในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-exports-only-us05-m-worth-of-products-to-china-after-covid-19

การระบาดของโรค coronavirus ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสปป.ลาว

การส่งออกของสปป.ลาวไปยังประเทศจีนยังคงดำเนินต่อไปตามปกติแม้ว่าจีนจะอยู่ในท่ามกลางการแพร่ระบาดของ coronavirus ปัจจุบัน โดยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกจากสปป.ลาวไปยังประเทศจีนมีมูลค่าสูงถึง 175 ล้านดอลลาร์สรอ.ทำให้ตลาดส่งออกที่อยู่ติดกับประเทศลาวทางตอนเหนือเป็นที่คาดหมายว่ามูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคมจะไม่ลดลงโดยสินค้าที่สำคัญในการส่งออกได้แก่ ทรายแร่ยางและผลิตภัณฑ์ยางทองแดงและทองแดงผลิตภัณฑ์กล้วยข้าวโพดและปุ๋ยประเทศจีนถือเป็นคู่ค้าที่สำคัญทั้งในด้านนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในสปป.ลาวและเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของประเทศ ปัจจัยที่สนับสนุนให้การค้ามีการเติบโตมีหลายปัจจัยทั้งในการลงนามร่วมมือทางค้าหรือในอนาคตอันใกล้ที่โครงการรถไฟจีน – ลาวที่จะเสร็จในปลายปี 63 และจะทำให้การเชื่อมต่อระหว่างจีนและสปป.ลาวสะดวกมากขึ้นและเอื้อต่อการท่องเที่ยวและการค้า  ดังนั้นการคาดการณ์ของรัฐบาลสปป.ลาวจึงมองว่าการแพร่ระบาดของcoronavirusไม่มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/china-coronavirus-outbreak-yet-impact-lao-exporters-113161

อุตสาหกรรมรองเท้าเวียดนามมีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายปีนี้

จากข้อมูลของรองประธานกรรมการและเลขาธิการสมาคมหนังและรองเท้าเวียดนาม (Lefaso) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมหนังและรองเท้าในประเทศยังคงอยู่ในระดับเกณฑ์ที่ดีที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายภายในปีนี้ ซึ่งดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2563 คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 11 และอัตราผลผลิตในท้องถิ่น (Localisation Rate) ร้อยละ 60 สำหรับยอดการส่งออกรองเท้าและกระเป๋าคาดว่าอยู่ในระดับ 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยความขัดแย้งของสหรัฐฯกับประเทศคู่ค้านั้นมีแนวโน้มผ่อนคลายลง ขณะที่ เศรษฐกิจโลกน่าจะค่อยๆฟื้นตัวขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น คำสั่งซื้อรองเท้าและกระเป๋าได้เปลี่ยนคำสั่งซื้อจากจีนมายังเวียดนาม เพื่อใช้ประโยชน์การให้สิทธิพิเศษทางภาษีสุลกากรจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ดังนั้น ทางสมาคมคาดว่าความต้องการของผลิตภัณฑ์รองเท้าในตลาดส่งออกหลักจะเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ ประกอบกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ FDI ส่งผลให้เกิดการขยายตัวด้านผลผลิตและส่งเสริมให้อุตสาหกรรมรองเท้าขยายตัวได้ดีมากขึ้น แต่ว่าอุตสาหกรรมรองเท้ายังคงเผชิญกับอุปสรรคสำคัญ คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งทางธุรกิจจะต้องพัฒนาหรืออบรมพนักงานที่ไม่ได้มาจากอาชีวศึกษา

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/591790/footwear-industry-likely-to-hit-goals-this-year.html