เมียนมามีรายได้จากมูลค่าการค้าต่างประเทศกว่า 16,551.306 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดช่วงระยะเวลามากกว่า 6 เดือนในปีงบประมาณ 2023-2024
จากวันที่ 1 เมษายน 2566 – 6 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมาเมียนมามีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8,712.336 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้า 7,838.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มีดุลการค้าแบบขาดดุลอยู่ที่ 873.366 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย เมียนมามีการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมี สินค้าเพื่อการลงทุน วัตถุดิบเชิงพาณิชย์ สินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบสินค้าตัดเย็บ หรือ CMP (cut-make-package) โดยนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการส่งออกของเมียนมาร์ตามยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (National Export Strategy : NES) ปี 2020-2025 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนี้
อย่างไรก็ดี ภาคส่วนที่สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ NES 2020-2025 ได้แก่ ภาคการผลิตอาหารจากการเกษตร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมและไฟฟ้า การประมง ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรมและผู้ประกอบการ และอื่นๆ
ราคาอ้างอิงน้ำมันปาล์มลดลงตามการนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น
ปริมาณน้ำมันปาล์มไหลเข้าจากประเทศผู้นำเข้าในปัจจุบันของเมียนมาร์เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันต่างประเทศอยู่ที่ 800 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ส่งผลให้ราคาอ้างอิงขายส่งน้ำมันปาล์มลดลง โดย มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มประมาณ 15,000 ตันในช่วงต้นเดือนตุลาคม และ 14,000 ตันในวันที่ 11 และ 12 ตุลาคม ตามลำดับ ทำให้ราคาอ้างอิงขางส่งน้ำมันปาล์มถูกกำหนดให้ต่ำกว่า 4,340 จ๊าดต่อ Viss* ในสัปดาห์ที่สองของเดือนตุลาคม จากเดิม 4,390 จ๊าดต่อ Viss* ในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม ในขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มต่างประเทศลดลงเหลือ 825 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ในวันที่ 4 ตุลาคม 812.5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ในวันที่ 9 ตุลาคม และ 832.5 ดอลลาร์ต่อตันในวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม บริษัทนำเข้าบางบริษัทได้มีการขายน้ำมันปรุงอาหารให้กับร้านค้าขนาดใหญ่บางแห่งที่จำหน่ายน้ำมันให้กับร้านค้าเล็กๆ ในราคา 4,600 จ๊าดต่อViss* ในย่างกุ้ง, ราคา 4,700 จ๊าดต่อViss* ในเนปิดอว์, ราคา 4,950 จ๊าดต่อViss* ในมัณฑะเลย์, 4,800 จ๊าดต่อViss* ในป่าเต็ง/มะกเวย์ และ 5,000 จ๊าดต่อViss* ในโมนยวา ขณะที่ราคาน้ำมันถั่วลิสง อยู่ระหว่าง 12,500 ถึง 16,000 จ๊าดต่อViss* (Viss หน่วยใช้ชั่งน้ำหนักพืชผักผลไม้ แบบค้าส่งในพม่า 1 viss = 3.6 ปอนด์ หรือราว 1.65 กิโลกรัม)
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-reference-price-declines-following-high-import/#article-title
ราคายางพาราดีดตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 1,750 จ๊าดต่อปอนด์ หลังลดลงต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ก่อนหน้า
ราคายางพาราของเมียนมาดีดตัวกลับมาอยู่ที่ประมาณ 1,750 จ๊าดต่อปอนด์ในตลาดยางของรัฐมอญ หลังจากราคาลดลงอย่างต่อเนื่องมาสองสัปดาห์ เนื่องจากธุรกิจยางหยุดชะงักไประยะหนึ่งในช่วงฤดูมรสุมและกลับมาดำเนินการอีกครั้งในช่วงประมาณกลางเดือนกันยายน ซึ่งทำให้ช่วงกลางเดือนกันยายน ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 แตะระดับต่ำสุดที่ 1,590 จ๊าดต่อปอนด์ของ และราคายางตากแห้งอยู่ที่ 1,610 จ๊าดต่อปอนด์ ณ สิ้นเดือนกันยายน ราคายางตากแห้ง ขยับขึ้นเป็น 1,730 จ๊าดต่อปอนด์ และราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 1,750 จ๊าดต่อปอนด์
ด้านสมาคมผู้ผลิตยางพาราในรัฐมอญ กล่าวว่า รัฐมอญซึ่งเป็นรัฐที่มีการผลิตยางรายใหญ่ในเมียนมาร์ มีการผลิตยางพาราของเมียนมาร์ต่อปีอยู่ที่ประมาณ 300,000 ตัน ซึ่งยางพาราร้อยละ 70 ที่ผลิตในเมียนมาร์ถูกส่งออกไปยังประเทศจีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ อีกด้วย โดยในปี 2563-2564 ที่ผ่านมา เมียนมาร์มีรายได้จากการส่งออกยางพารามากกว่า 449 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 รายงานการผลิตยางในปี 2565-2566 ที่ผ่านมามีจำนวนมากกว่า 360,000 ตัน โดยกว่า 200,000 ตันถูกส่งออกไปยังคู่ค้าต่างประเทศ ด้านสมาคมผู้ผลิตยางพาราในรัฐมอญกล่าวว่ามีเป้าหมายที่จะส่งออกยางพารา 300,000 ตันในปี 2566-2567
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-rebounds-to-k1750-per-pound-after-two-week-fall/
‘เมียนมา’ เผยอุปสงค์จากต่างประเทศฟื้นตัวได้แข็งแกร่ง หนุนราคาเมล็ดงาสูง
ราคาเมล็ดงาในตลาดมัณฑะเลย์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลมาจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่แข็งแกร่ง โดยราคาเมล็ดงาดำจาก 340,000 จ๊าตต่อกระสอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 365,000 จ๊าตต่อกระสอบ และราคางาขาวจาก 365,000-370,000 จ๊าตต่อกระสอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 385,000-390,000 จ๊าตต่อกระสอบ ทั้งนี้ การเก็บเกี่ยวงาดำในฤดูกาลใหม่จากภาคกลางของประเทศกำลังไหลเข้าสู่ตลาด ผู้ซื้อชาวจีนยังคงซื้องาขาวและงาดำจากญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาเมล็ดงาเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ เมียนมาจึงส่งออกเมล็ดงาไปยังจีนผ่านชายแดนทางบก
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/strong-foreign-demand-elevates-sesame-seed-price/#article-title
‘เมียนมา’ เผยราคาน้ำมันออกเทน 92 ดีดตัวขึ้น 2,000 จ๊าตต่อลิตร
ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 92 กลับมาดีดขึ้นที่ 2,015 จ๊าตต่อลิตรในเมื่อวันที่ 10 ต.ค. หลังจากราคาน้ำมันร่วงลง 5 วันติดต่อกัน ในขณะที่ราคาเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ 2,115 จ๊าตต่อลิตร และราคาดีเซล 2,310 จ๊าตต่อลิตร ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับการนำเข้า การจัดเก็บและการจำหน่ายเชื้อเพลิง ระบุว่าดัชนีราคากำหนดโดยราคากลางของตลาดภูมิภาคเอเชีย (MOPS) ซึ่งเป็นพื้นฐานในการกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีอิทธิพลต่อราคาเชื้อเพลิงในประเทศ นอกจากนี้ เมื่อเดือน ส.ค. 2565 พบว่าราคาน้ำมันแตะระดับสูงสุดที่ 2,605 จ๊าตต่อลิตร และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ 2,670 จ๊าตต่อลิตร
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/octane-92-price-rebounds-to-over-k2000-per-litre/#article-title
‘เมียนมา’ มอบสิทธิพิเศษให้กับผู้ส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ และสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) เปิดเผยว่าได้วางแผนที่จะมอบสิทธิพิเศษให้กับผู้ส่งออกที่ได้รับเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศ และสภาหอการค้าฯ ได้ร่างโครงการสิทธิพิเศษ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออกที่ปฏิบัติตามกฎหมายและยังช่วยสนับสนุนการส่งออกให้กับประเทศ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา ได้แก่ ถั่วพัลส์ต่างๆ งา ข้าวโพด ยางพารา ข้าว สินค้าประมง ผลไม้และอื่นๆ เป็นต้น นอกจากนี้ การค้าระหว่างประเทศของเมียนมาในปีงบประมาณ 2565-2566 พบว่าการส่งออกของเมียนมา อยู่ที่ 16.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การนำเข้า 17.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
‘เมียนมา’ เผยราคาอ้อยพุ่งตามความต้องการของตลาดในประเทศ
จากคำประกาศของโรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่ง กล่าวว่าได้เข้าซื้ออ้อย 1 ตันในราคา 120,000 จ๊าตต่อวิสส์ เมื่อวันที่ 3 ต.ค. และยังซื้ออ้อยต่อวัน อยู่ที่ 6,500 ตัน หรือ 7,000 ตัน นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลยังส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกอ้อมมากขึ้น เนื่องจากโรงงานมีแผนที่จะขยายพื้นที่มากกว่า 2 ยูนิต โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตน้ำตาล ด้วยกำลังการผลิต 7,500 ตันต่อวันในปีการเงิน 2567-2568 และเพิ่มกำลังการผลิต 12,000 ตันต่อวันในปีการเงิน 2568-2569 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำตาลในตลาดโลก เดือน ก.ค. อยู่ที่ 650 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ปรับตัวลดลง 700 ดอลลาร์สหรัฐในเดือน มิ.ย.
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugarcane-price-set-to-rise-as-local-demand-surge/#article-title
‘เมียนมา’ โกยรายได้ส่งออกถั่วพัลส์ ครึ่งแรกปีนี้ ทะลุ 715 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าเมียนมาส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 860,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 715 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2566-2567 (เม.ย.-ก.ย.) โดยแบ่งออกเป็นผ่านการค้าทางทะเลและผ่านชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทำรายได้ราว 603.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 111.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมา ได้แก่ ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวและถั่วแระ ในขณะที่ตลาดส่งออกหลักของถั่วพัลส์ ประกอบไปด้วยอินเดีย จีน และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอินเดียที่มีความต้องการถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระจากเมียนมาจำนวนมาก
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-various-pulses-exports-bag-us715-mln-in-h1/#article-title