บริษัทน้ำมันในกัมพูชากำหนดส่งมอบน้ำมันดิบครั้งแรกในเดือนนี้

Kris Energy บริษัทจากทางสิงคโปร์ที่ดำเนินการขุดเจาะน้ำมันในกัมพูชา วางแผนจัดส่งน้ำมันดิบไปยังตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรกในเดือนนี้ ปริมาณมากถึง 300,000 บาร์เรล ตามข้อมูลของอำนวยการใหญ่ด้านปิโตรเลียมของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยเกือบ 5 เดือนหลังจากการขุดเจาะน้ำมันดิบครั้งแรกออกจากพื้นที่อัปสราแปลง A ในน่านน้ำกัมพูชาในอ่าวไทย ซึ่งบ่อน้ำมันทั้ง 5 แห่งในบล็อก A เขตอัปสราได้เริ่มทำการสูบน้ำมันอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 2,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งยังต่ำกว่าปริมาณที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 7,500 บาร์เรลต่อวัน ที่คาดการณ์ไว้โดย Kris Energy ซึ่งหลังจากไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้บริษัทจึงได้นำที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม Netherland, Sewell & Associates Inc (NSAI) มาประเมินสถานการณ์ในระยะถัดไปใหม่ถึงปริมาณน้ำมันดิบที่คาดว่าจะผลิตได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50859589/first-crude-oil-shipment-due-this-month

เวียดนามดึงดูดเม็ดเงิน FDI พุ่ง 18.5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

สำนักงานการลงทุนต่างประเทศ (FIA) ภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม ระบุว่านักลงทุนต่างชาติหอบเงินลงทุนไปยัง 17 ภาคอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงเป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินทุนรวม ประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 49.6% ของยอดเงินทุนรวม รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามลำดับ ทั้งนี้ ณ วันที่ 20 มีนาคม มูลค่าเงินทุนจดทะเบียนธุรกิจใหม่และการซื้อหุ้นกิจการจากนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งสิ้น 10.13 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ สิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในช่วงไตรมาสแรก มีมูลค่า 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นสัดส่วน 45.6% ของยอดเงินทุนรวม รองลงมาญี่ปุ่น (20.8%), ญี่ปุ่น (20.8%),เกาหลีใต้ (11.8%), จีน ฮ่องกงและสหรัฐฯ ตามลำดับ

ที่มา : https://en.dangcongsan.vn/economics/total-fdi-capital-rises-18-5-from-same-period-last-year-571882.html

เศรษฐกิจเวียดนามคาดแซงโตสิงคโปร์ ในปี 2029

ธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ (DBS) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเวียดนามจะเติบโตร้อยละ 6-6.5 ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากสามารถรักษาอัตราการเติบโตดังกล่าวได้ เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตจนมีขนาดใหญ่กว่าสิงคโปร์ในอีก 10 ปี ด้วยแรงหนุนจากเงินลงทุนที่ไหลเข้าจากต่างประเทศและกำลังการผลิตที่เติบโตสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเวียดนามในปัจจุบัน มีมูลค่าอยู่ที่ 224 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แสดงให้เห็นถึงขนาดเศรษฐกิจถึงร้อยละ 69 ของเศรษฐกิจสิงคโปร์ หรือประมาณ 324 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

  ที่มา : https://baodanang.vn/english/business/202011/viet-nams-economy-forecast-to-grow-bigger-than-singapore-by-2029-3872550/

เมียนมาพร้อมขยายตลาดกาแฟผ่านสิงคโปร์

รายงานของ Myanmar Coffee Association เผยเมียนมาขยายการส่งออกกาแฟผ่านสิงคโปร์เพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ จากการระบาดของ COVID-19 ความต้องการกาแฟในท้องถิ่นลดลงและผู้ค้าบางรายพยายามขยายตลาดในต่างประเทศและกำลังเชื่อมต่อกับตลาดใหม่ในภูมิภาคโดยผ่านสิงคโปร์ เมื่อเดือนที่แล้วสมาคมได้เข้าร่วมงาน Singapore Specialty Coffee Online Auction 2020 ซึ่งเป็นเวทีสำหรับผู้ผลิตเมล็ดกาแฟทั่วโลกเพื่อส่งเสริมเมล็ดกาแฟสู่ตลาดเอเชียโดยใช้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง เมียนมาเพิ่มความพยายามในการหาตลาดต่างประเทศหลังจากการส่งออกลดลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 การส่งออกลดลงครึ่งหนึ่งในปีงบประมาณ 62-63 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ส่งออกมากกว่า 1,000 ตันไปยังสหรัฐฯ เยอรมนี จีน ไทยญี่ ปุ่นเกาหลี และยุโรป การส่งออกกาแฟอาจลดลงอีกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าตรงกันข้ามกับแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในช่วงห้าปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้น 4 เท่าเป็น 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 จาก 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 57 ประชากรร้อยละ90 ของประเทศมีประชากรดื่มกาแฟสำเร็จรูปที่นำเข้าจากต่างประเทศและที่เหลือบริโภคกาแฟในท้องถิ่น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-coffee-market-expand-through-singapore.html

สิงคโปร์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เวียดนาม หวังเจาะตลาดขนาดใหญ่

ตามคำแถลงการณ์ของการประชุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่นครโฮจิมินห์ จัดโดยศูนย์กลางการลงทุนและส่งเสริมการค้า (ITPC) เปิดเผยว่าสิงคโปร์มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจภูมิภาค เนื่องจากมีจุดยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางทางการเดินเรือระหว่างประเทศ นอกเหนือจากนั้นยังมีทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซในสิงคโปร์ยังเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กีปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเวียดนามสามารถเข้าถึงตลาดอีคอมเมิร์ซและนำเสนอสินค้าไปยังตลาดสิงคโปร์ได้ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมาก แต่ธุรกิจในท้องถิ่นยังต้องมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมถึงใส่ใจกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์และใบรับรองอื่นๆ อาทิ ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องทาการควบคุม (HACCP) เพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาด.

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/singapore-helps-vietnamese-smes-penetrate-large-scale-markets-784308.vov

สิงคโปร์รุกตลาดพลังงานไฟฟ้าความร้อนจากถ่านหินที่แขวงเซกอง สปป.ลาว

บริษัท Evolution Power Investment Corporation (EPIC) และ บริษัท Kuounmixay Bridge and Road Construction and Repair Company (KMX) ซึ่งเป็นบริษัทกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ระหว่างสิงคโปร์กับ สปป.ลาว ลงนามบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาล สปป.ลาว เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรงผลิตไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนจากถ่านหินสะอาดที่เมืองดากจึง สปป.ลาว โครงการดังกล่าว มีมูลค่า 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1,000 เมกะวัตต์ เพื่อส่งไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ ไทย เวียดนามและกัมพูชา โดยคาดว่าการก่อสร้างโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2570และการเกิดขึ้นของโครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยในขยายตัวเศรษฐกิจสปป.ลาวได้อย่างมั่นคง

ที่มา : https://globthailand.com/laos-11082020/

ไฟเขียวต่างชาติลงทุนไทย มิ.ย.63 จำนวน 22 ราย

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่า เดือนมิ.ย.2563 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างชาติ 22 ราย ประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน มีการนำเงินเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจ 1,587 ล้านบาท ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทย 3,575 คน และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่วนใหญ่เป็นองค์ความรู้ในแขนงที่คนไทยยังไม่มีความชำนาญหรือมีความเชี่ยวชาญในระดับที่ไม่สูงมากนัก เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศและการถ่ายเทสารเคมีในหอกลั่นสูงที่มีความกดอากาศตามมาตรฐานยุโรป องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องกำเนิดไอน้ำที่ใช้หลักการแลกเปลี่ยนความร้อน (HRSG system) องค์ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเพื่อออกแบบและพัฒนาคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ และโปรแกรมเพื่อการตรวจและทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของสินทรัพย์ เป็นต้น สำหรับธุรกิจที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต ได้แก่ 1.ธุรกิจบริการโดยเป็นคู่สัญญากับเอกชน จำนวน 4 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น และจีน มีเงินลงทุนจำนวน 542 ล้านบาท 2.ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม จำนวน 6 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ มีเงินลงทุนจำนวน 632 ล้านบาท 3.ธุรกิจนายหน้า ค้าปลีก ค้าส่ง จำนวน 7 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ฟินแลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์  มีเงินลงทุนจำนวน 181 ล้านบาท  4.ธุรกิจบริการให้แก่ลูกค้า จำนวน 5 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศสวิส ซามัว อังกฤษ สิงคโปร์ และหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน มีเงินลงทุนจำนวน 232 ล้านบาท ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/888887?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เมียนมาจับมือสิงคโปร์พัฒนาโครงการสาธารณูปโภคขั้นสูง

กระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรม (MOPFI) เลื่อนการดำเนินการตามโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ธนาคารโครงการเมียนมาโดยร่วมมือกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Infra Asia) ของสิงคโปร์ โดยอินฟราเอเชียกำลังทำงานร่วมกับ บริษัท นิวย่างกุ้งดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (NYDC) เพื่อแบ่งปันความรู้เชิงวิชาการและแนวการปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างประเทศในการพัฒนาเมืองย่างกุ้งใหม่ การประเมินขอบเขตสำหรับการพัฒนาแหล่งจ่ายไฟและการจัดจำหน่าย การจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ และโครงสร้างพื้นฐานการเพื่อเชื่อมต่อไซเบอร์ ธนาคารโครงการเมียนมาเป็นแพลตฟอร์มของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพ การประสานงาน และความโปร่งใสของโครงการลงทุนที่สำคัญในเมียนมา จนถึงขณะนี้รัฐบาลได้จัดทำโครงการพัฒนาระดับชาติ 58 โครงการในธนาคารโครงการเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-collaborate-singapore-advance-infrastructure-projects.html

MAI ให้ความช่วยเหลือชาวเมียนมาที่กักกันตัวในสิงคโปร์

Myanmar Airways International (MAI) ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวเมียนมากกว่า 800 คนที่ถูกกักกันในสิงคโปร์จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 สายการบินให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำเพื่ออพยพชาวเมียนมาในต่างประเทศและมีพระสงฆ์มากกว่า 500 รูปจากกรุงเทพฯ ธากา กัวลาลัมเปอร์ และกายะ ทั้งนี้ยังอพยพคนงานชาวเมียนมากว่า 6,000 คนที่ถูกค้ามนุษย์ในอินโดนีเซียและมาเลเซียโดยความร่วมมือของ KBZ Bank โดยใช้เงินจำนวน 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ MAI, Air KBZ, KBZ Bank, KBZ MS General Insurance และ KBZ Life บริจาคเงินกว่า 3.3914 พันล้านจัตเพื่อป้องกันและควบคุม COVID-19 จนถึง 7 พฤษภาคม 2020

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/mai-assists-quarantined-myanmar-citizens-in-singapore

สิงคโปร์เตรียมพร้อมจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคกรณีโควิด-19

รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ กล่าวในการเยี่ยมชมศูนย์กระจายสินค้าของ NTUC Fariprice ย่าน Joo Koon เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 ว่า ชาวสิงคโปร์ต้องเตรียมใจให้พร้อมในการรับมือกับการป้องกันการแพร่ระบาย COVID-19 หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ต้องเตรียมใจให้พร้อมหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างการแพร่ระบาดในเกาหลีใต้ รวมถึงสิงคโปร์ต้องปรับโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมีอุปทานที่เพียงพอในประเทศ เนื่องจากประเทศอื่น ๆ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ๆ ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของโลกเกิดภาวะชะงักตัวลง มีความจำเป็นต้องตรวจสอบสถานะสินค้าคงคลังและตรวจสอบสถานที่กระจายสินค้า โดยยกตัวอย่าง ในอดีตสิงคโปร์นำเข้าข้าวส่วนมากมาจากไทยหรือเวียดนาม แต่ในปัจจุบันสิงคโปร์นำเข้าข้าวมาจากญี่ปุ่นหรืออินเดียด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะนี้มีสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลก ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจะสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของจำนวนคู่ค้าของสิงคโปร์ โดยมองหาผู้ประกอบการรายใหม่ในประเทศที่ไกลออกไปเพื่อช่วยให้สิงคโปร์กระจายความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง หรือสินค้าในกลุ่มประเภทบะหมี่ต่าง ๆ ที่สิงคโปร์มีทั้งการนำเข้าและมีการผลิตในประเทศ ทำให้ไม่ต้องทำการกักตุนสินค้าประเภทนี้มากนัก อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่ทุกอย่างจะสามารถผลิตในสิงคโปร์ เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และกำลังคน แต่จะเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะในรายการสินค้าสำคัญที่จำเป็นสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการ

ที่มา : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=9769&index