นำเข้ารถ 10 ประเทศ อาเซียนฉลุย MOU ใช้มาตรฐานเดียวตรวจสอบ

สถาบันยานยนต์เดินหน้าขานรับ ข้อตกลง “APMRA” การตรวจสอบรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียน เตรียมความพร้อมพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย หวังรองรับปริมาณงานตรวจและทดสอบที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ของศูนย์ทดสอบยานยนต์และศูนย์ทดสอบยางล้อ โดยผู้อำนวยการ สถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยได้บรรลุข้อตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Type Approval for Automotive Products : APMRA) และได้มีการลงนามในข้อตกลงครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อ วันที่ 16 มกราคม 2564 ซึ่งประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงนี้ เนื่องจากมีความพร้อมในการผลิต ยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์หลายประเภท และเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียน สำหรับข้อตกลงยอมรับร่วม APMRA เป็นข้อตกลงที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกยอมรับผลการตรวจสอบรับรองจาก technical service ที่ได้รับการแต่งตั้ง จากคณะกรรมการยานยนต์อาเซียน (ASEAN Automotive Committee : AAC) ที่อยู่ภายใต้คณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วน (Automotive Products Working Group : APWG) และนำผลการตรวจสอบรับรองไปใช้ในการจดทะเบียนหรือขออนุญาตจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยานยนต์หรือชิ้นส่วนยานยนต์ ในท้องตลาด กับหน่วยควบคุมกฎระเบียบ ของประเทศสมาชิกโดยไม่มีการตรวจหรือทดสอบซ้ำ

ที่มา : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 – 4 เม.ย. 2564

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาลงนาม MoU สำหรับการพัฒนาภายในประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ (MoC) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) 2 ฉบับ ระหว่างบริษัทที่ปรึกษาด้านการค้าปลีกและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ BRB และ อีกฉบับกับบริษัท โคคา โคลา ประจำประเทศกัมพูชา โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาด้านการค้าปลีกและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ BRB คาดจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผา งานแฮนด์เมด งานหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในจังหวัดกำปงชนัง ซึ่งจัดให้มีการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายตลาด และเพิ่มอัตราการผลิตผลิตภัณฑ์ รวมถึงการลงบันทึกความเข้าใจกับ โคคา โคลา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการค้าการเพิ่มการใช้ผลิตภัณฑ์ “Made in Cambodia” ปรับปรุงขีดความสามารถของวิสาหกิจกัมพูชาและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการค้า ภายใต้คอนเซ็ป “Made in Cambodia” ซึ่งรัฐบาลก็ได้เริ่มกระตุ้นให้ธุรกิจภายในประเทศยื่นขอฉลากคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นร่วมด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ นอกจากนี้กระทรวงจะร่วมมือกับภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาและความท้าทายที่ต้องเผชิญในห่วงโซ่อุตสาหกรรมร่วมกันต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803679/ministry-of-commerce-signs-two-development-mous/

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาลงนาม MoU ในการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจการเกษตร

กระทรวงพาณิชย์ และ บริษัท Yamato Green ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการผลิตผักปลอดสารพิษจากญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการร่วมพัฒนาภาคการเกษตรเมื่อวานนี้เพื่อพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสำหรับการผลิตสินค้าภาคธุรกิจเกษตรในกัมพูชา โดยเชื่อว่าการลงนามฉบับนี้จะสร้างความร่วมมือที่ดีในการรับมือกับความท้าทายในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเสริมสร้างผลผลิตให้มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ทั้งเชื่อว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงชุมชนเกษตรกรจะสามารถสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในด้านการเจาะตลาดและกระจายตลาดไปยังต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50801454/commerce-ministry-signs-agri-business-value-chain-development-mou/

รัฐบาลสปป.ลาวและUN Habitat ดำเนินการระยะสองในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ

รัฐบาลสปป.ลาวและUN Habitat จะเริ่มดำเนินการในระยะที่สองของโครงการ Adaptation Fund ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกในภาคกลางของสปป.ลาว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำให้เข้ากับการวางผังเมืองรวมถึงมีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง บันทึกความเข้าใจ (MOU) สำหรับกองทุนดำเนินการในระยะที่สองของโครงการ Adaptation Fund ได้รับความร่วมมือระหว่างกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งและมูลนิธิที่อยู่อาศัยของสหประชาชาติ ซึ่งภายในงานนางวิไลคำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงโยธาธิการและคมนาคมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของน้ำ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการชี้วัดความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน และเธอหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเข้าถึงผู้คนที่เปราะบางมากขึ้น การพัฒนาการโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำดังกล่าว จะเป็นรากฐานที่สำคัญที่ในการทำให้แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกในภาคกลางของสปป.ลาว แข็งแกร่งและดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนได้มากขึ้นและเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกจสปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry_165.php

SECC และ CCC ลงนาม MoU ในการส่งเสริมกลุ่มหลักทรัพย์ในกัมพูชา

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งกัมพูชา (SECC) และหอการค้ากัมพูชา (CCC) ได้ทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับความร่วมมือในการสร้างความตระหนักและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ บริษัท ในกลุ่มหลักทรัพย์กัมพูชา โดยบันทึกความเข้าใจนี้ลงนามเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยอธิบดี SECC และประธานของ CCC ได้บันทึกความเข้าใจซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมและสร้างความตระหนักในตลาดหลักทรัพย์ให้กับองค์กรการค้าเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดทุน รวมถึงเพื่อดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนในท้องถิ่น ด้วยการลงนามใน MoU ถือเป็นภาพสะท้อนของการมีผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์มากขึ้นในกัมพูชาให้ความสนใจกับตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) โดยเตรียมเข้าสู่ตลาดเพื่อรวบรวมเงินทุนจากตลาดหุ้นและการค้าในตลาดหุ้น แสดงความมั่นใจต่อสมาชิกของ CCC ในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา ปัจจุบัน CSX มี บริษัท 11 แห่ง บริษัท หลักทรัพย์ 5 แห่งและ บริษัท หุ้นกู้ 6 แห่ง ซึ่งมีเงินทุนรวมทั้งสิ้น 223 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50726211/secc-ccc-sign-mou-on-promoting-securities-sector/

รอบสองเดือนการค้าเมียนมา-จีน แตะ1.337 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าการค้าระหว่างเมียนมาและจีนอยู่ที่ 1.337 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในสองเดือนของปีงบประมาณนี้และเมียนมามีดุลการค้าเนื่องจากนำเข้าสินค้าเพียง 551 ล้านดอลลาร์ ส่วนการส่งออกมูลค่ากว่า 785 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งสองประเทศเปิดศูนย์ธุรกิจและดำเนินการเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนและการลงทุนตามที่กระทรวงกำหนด กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาลงนาม MoU กับจีนเพื่อจัดตั้งเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน (EOI) และเชิญให้นักธุรกิจท้องถิ่นเข้าร่วมในพื้นที่ดังกล่าวเช่น Muse, Nantkhan, Kanpiketie, Laukkai และ Chinshwehaw

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-china-trade-volume-reaches-to-us1337-b-within-two-months

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาวเสริมสร้างความสัมพันธ์สภาธุรกิจจีน – อาเซียน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว (LNCCI) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสภาธุรกิจจีน – อาเซียน (CABC) ในการบันทึกความเข้าใจนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทั้ง2ฝ่ายทั้งด้านการลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและความร่วมมือเพื่อประโยชน์ในอนาคตปัจจุบันนักลงทุนจีนกำลังให้ความสนใจกับภูมิภาคอาเซียนรวมถึงสปป.ลาว โดยจีนเป็นกลุ่มนักลงทุนหลักของสปป.ลาว ธุรกิจที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากในสปป.ลาว ได้แก่ ไฟฟ้าพลังน้ำ การเกษตร การก่อสร้างการท่องเที่ยวและโลจิสติกส์ การลงทุนไม่เพียงแค่เข้าสู่ตลาดสปป.ลาว แต่ยังรวมถึงตลาดอาเซียนซึ่งมีมากกว่า 600 ล้านคน ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นผลดีแก่สปป.ลาวที่จะเกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดรวมถึงพัฒนาการด้านเศรษฐกิจที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-national-chamber-commerce-and-industry-strengthens-ties-china-asean-business-council

เมียนมา-ไทยเซ็น MOU โอนเงินข้ามแดน

ธนาคารพาณิชย์จาก 2 ประเทศ คือธนาคาร Ayeyarwady (AYA Bank) ของเมียนมาและธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ของไทยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาการชำระเงินและบริการโอนเงินระหว่างสองประเทศ เมื่อเดือนตุลาคม 62 ที่ผ่านมาคาดเริ่มใช้งานได้เร็วๆ นี้ ที่ผ่านมาการชำระเงินผ่านธนาคารจะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งส่งผลเสียจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ MOU นี้สามารถทำให้การชำระเงินเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น แม้ว่าจะมีแรงงานอพยพชาวเมียนมาจำนวนมากในไทยการโอนเงินจะเกิดขึ้นผ่านระบบ Hundi ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินนอกระบบ  ใน 4 ประเทศที่มีพรมแดนติดกับเมียนมา ไทยเป็นคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ปริมาณการค้าที่ชายแดนไทย – เมียนมาประกอบด้วย ท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง มะริด ทิกิ และเมาะตุง ในปีงบประมาณ 61-62 มีมูลค่า 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-thailand-agree-cross-border-transfers.html

สปป.ลาว-เวียดนามลงนามความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ระหว่างประเทศ

ระหว่างวันที่ 2-4 มกราคม 63 นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวและนายกรัฐมนตรี​เวียดนามมีการลงนามสนธิสัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยในหัวข้อที่มีการทำสนธิสัญญากันมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันคือเพื่อครอบคลุมผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศโดยมีการลงนามในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน สนธิสัญญาการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในสปป.ลาว สนธิสัญญาด้านการค้าเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนรวมทั้งยังมีส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย ที่ผ่านมาเวียดนามลงทุนในโครงการในสปป.ลาว 413 โครงการมูลค่ารวม 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ตั้งแต่ปี59 ถึงปัจจุบันเวียดนามให้เงินช่วยเหลือแก่สปป.ลาวเป็นจำนวน 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นสนธิสัญญาจะเป็นข้อตกลงที่จะช่วยยกระดับมิตรภาพที่ดีและความร่วมมือที่ครอบคลุมผลประโยชน์ระหว่างประเทศทั้งความมั่นคงและเศรษฐกิจสปป.ลาว

ที่มา http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_vietnam_3.php

สปป.ลาวและสาธารณรัฐเกาหลีลงนามในบันทึกความเข้าใจ 3 ฉบับ

สปป.ลาวและสาธารณรัฐเกาหลี  ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ 3 ฉบับ ซึ่งข้อมูล MOU เกี่ยวกับการบริหารจัดการท่าเรือทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือทางวิชาการและอาชีพ มีการลงนามในโอกาสการประชุมทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีสปป.ลาวและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี  จัดขึ้นในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ ในระหว่างการประชุมทวิภาคีทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับมิตรภาพและทบทวนความร่วมมือในอดีตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการตามผลการเยือนสปป.ลาว ในการหารือทวิภาคีทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่นการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สุขภาพ การลงทุน การท่องเที่ยวและการสนับสนุนการส่งเสริม SMEs และธุรกิจที่เกิดใหม่

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos262.php