กองทุนการเกษตรลุยส่งเสริมโภชนาการด้านอาหารใน สปป.ลาว

กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร (IFAD) มอบเงิน 48.30 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปี 2022-2029 เพื่อปรับปรุงความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการใน สปป.ลาว โดยหวังว่าจะเพิ่มความยืดหยุ่น รวมถึงเพิ่มรายได้ของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งการสนับสนุนในครั้งนี้ถือเป็นโครงการระยะที่ 2 ในการสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารให้กับ สปป.ลาว นอกจากนี้ IFAD ยังร่วมสนับสนุนโครงการอีก 2 โครงการ ใน สปป.ลาว ภายใต้โครงการ Partnerships for Irrigation and Commercialization of Smallholder Agriculture ด้วยมูลค่ารวม 30 ล้านดอลลาร์ ระหว่างปี 2019-2025 โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการเกษตรอย่างเข้มข้น การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า และการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติด้านโภชนาการ ซึ่งในอดีต IFAD ได้ให้การสนับสนุน 17 แผนงานและโครงการต่างๆ ใน สปป.ลาว รวมมูลค่า 509.07 ล้านดอลลาร์ (โดย IFAD บริจาค 164.81 ล้านดอลลาร์) ให้ประโยชน์ทางตรงแก่ครอบครัวในชนบทของ สปป.ลาว ประมาณ 330,000 ครัวเรือน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten27_Agriculture_y23.php

เงินเฟ้อ ‘สปป.ลาว’ สูงทุบสถิติ ทะลุ 40.3% ในเดือนม.ค

สำนักงานสถิติของสปป.ลาวเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนม.ค. พุ่งขึ้น 40.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สูงสุดในรอบ 23 ปี และสิ่งนี่อาจเป็นภาวะเงินเฟ้อที่เลวร้ายที่สุดที่สปป.ลาวประสบกับวิกฤตทางการเงินในเอเชีย ปี 2540-2541 ในขณะเดียวกันการอ่อนค่าของเงินกีบเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงค่าเงินบาทไทยและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อในสปป.ลาวเพิ่มขึ้น และยังทำให้ต้องใช้เงินจำนวนมากในการนำเข้าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ดี รัฐบาลพยายามควบคุมต้นทุนสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ราคาสินค้าและบริการไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten26_January_y23.php

เงินเฟ้อสปป.ลาว เดือนม.ค. 66 พุ่งทะยานแตะ 40.3%

สำนักงานสถิติของสปป.ลาว เผย เดือนมกราคม 2566 เงินเฟ้อในสปป.ลาว พุ่งขึ้นไปถึง 40.3% สูงสุดในรอบ 23 ปี แม้ภาครัฐพยายามควบคุมต้นทุนสินค้าและบริการที่สูงขึ้น แต่ราคาไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ซึ่งการอ่อนค่าของเงินกีบเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินบาท และราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ส่งผลให้สินค้าที่ซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านมีราคาสูงทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้นตามไปด้วย จากสถานการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย ปี 2540 -2541 ที่ส่งผลกระทบต่อสปป.ลาวอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2543 ทำให้เงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2543 พุ่งสูงสุดถึง 75.75% เป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้รัฐบาลของสปป.ลาว พยายามสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนโดยให้คำมั่นว่าในปี 2566 เศรษฐกิจของสปป.ลาว จะเติบโตอย่างน้อย 4.5% ในขณะเดียวกันได้กำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ที่ 9%

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten26_January_y23.php

สปป.ลาว พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน หลังการเปิดประเทศ

ภาครัฐ-เอกชน ของสปป.ลาว เตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีน หลังสปป.ลาว ถูกบรรจุในรายชื่อ 20 ประเทศที่จีนอนุญาตให้ธุรกิจทัวร์สามารถนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปต่างประเทศได้ โดย Ms. Darany Phommavongsa อธิบดีกรมการจัดการการท่องเที่ยว กระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของสปป.ลาว กล่าวว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับบริษัทนำเที่ยว โรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในประทศ เพื่อปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการให้พร้อมรับการกลับมาของกรุ๊ปทัวร์จีน ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2565 จากข้อมูลของสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) พบว่า เมื่อจีนได้เปิดประเทศให้ประชาชนสามารถเดินทางต่างประเทศได้เป็นปกติหลังยกเลิกมาตรการโควิดเป็นศูนย์ เชื่อว่าจะมีชาวจีนอย่างน้อย 3 ล้านคนเดินทางด้วยรถไฟสปป.ลาว-จีน โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่สนใจสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างหลวงพระบางซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญในการท่องเที่ยว ทั้งนี้ สปป.ลาวได้รับการจัดอันดับจากสื่อท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น CNN, National Geographic และ The Telegraph ให้เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวชั้นนำของโลกประจำปี 2566

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten25_Laos_gears_y23.php