ยอดส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังแอฟริกาพุ่งสูงขึ้น

คุณ Hoang Duc Nhuan ผู้ให้คำปรึกษาด้านการค้าของเวียดนามในแอลจีเรีย กล่าวว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดแอฟริกาเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 และคาดว่ายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีกหลายเดือนข้างหน้า จนถึงปีถัดไป ส่วนปี 2562 พบว่าเวียดนามส่งออกข้าวไปยัง 35 ประเทศจากทั้งหมด 55 ประเทศในทวีปแอฟริกา ด้วยมูลค่าประมาณ 630 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประเทศไอวอรีโคสต์, กานา, เซเนกัล, โมซัมบิก, แคเมอรูน, กาบอง, แทนซาเนียและอียิปต์ ล้วนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ทั้งนี้ การโจมตีของฝูงตั๊กแตนและการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน ประกอบกับการเติบโตของประชากรที่สูงขึ้นและการแข่งขันทางด้านราคาข้าวในตลาดต่างประเทศ ทำให้รัฐบาลและชาวแอฟริกาต้องจัดเก็บอาหารและของกิน รวมถึงข้าวเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ สำนักงานตลาดเอเชีย-แอฟริกา ภายใต้กระทรวง MOIT ได้ประสานเข้าร่วมกับภารกิจทางการค้าของเวียดนาม โดยจัดสัมมนาและโฆษณาเรื่องยกระดับตลาดแอฟริกา-ตะวันออกกลาง เพื่อดึงดูดนักธุรกิจเวียดนามให้เข้าร่วมงานนี้

ที่มา : https://en.nhandan.org.vn/business/item/8960102-vietnam-sees-hike-in-rice-exports-to-africa.html

ส่งออกข้าวไทยปี 63 เสี่ยงหล่นอันดับ 3 โลก

ผู้ส่งออกข้าวแนะ“ตลาดนำการผลิต” ไทยต้องเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ สู้ศึก ระบุกว่าจะเพียงพอความต้องการของเกษตรกรต้องใช้เวลา 3-5 ปี ปี 63 ไทยเสี่ยงสูงหล่นอันดับ 3 ส่งออกข้าวโลก จากที่กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศจับมือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” เป้าหมายเพื่อสร้างประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก และผลักดันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารติด 1 ใน 10 อันดับแรกของโลกนั้น สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ชี้ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต”เป็นเรื่องที่ไทยเองจะต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากการค้าของโลกในยุคโลกาภิวัตน์นี้มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ตลาดผู้บริโภคเองก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคอยากจะได้คือสิ่งที่เราต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำได้แค่ช่วงข้ามคืน ทั้งนี้ต้องเริ่มจากการพัฒนาไม่ว่าจะในการศึกษาวิจัยตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ จนมาถึงการทดลองปลูกจนมีผลเป็นที่น่าพอใจและลูกค้ายอมรับ จากนั้นก็ต้องขยายเมล็ดพันธุ์จนมีเพียงพอที่จะปลูกจนได้จำนวนที่สามารถนำไปจำหน่ายในตลาดได้ โดยรวมแล้วน่าจะใช้เวลาในส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 3-5 ปี เพราะฉะนั้นคงไม่สามารถที่จะทำให้บังเกิดผลได้ในปีนี้หรือปีหน้า ซึ่งยังไม่รวมถึงการพัฒนาในเรื่องการบริหารจัดการให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรวมถึงภาคการแปรรูป ระบบสุขอนามัยและอื่น ๆ  อย่างไรก็ดีเป็นนิมิตหมายที่ดีถ้ามีการทำงานประสานกันระหว่างกระทรวงหลักรวมถึงภาคเอกชนที่จะมีข้อมูลที่ถูกต้องของตลาดซึ่งเอกชนจะใกล้ชิดมากกว่าหน่วยงานรัฐ แต่อย่างไรก็ตามก็มีหลายผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นข้าวซึ่งปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ไม่เกิน 6.5 ล้านตันจาก 7.5 ล้านตันในปีที่แล้วและอาจจะหล่นไปเป็นที่ 3 ของโลกในเรื่องตัวเลขส่งออกรองจากอินเดียและเวียดนาม ด้วยเหตุผลที่ข้าวไทยมีราคาที่แพงกว่าคู่แข่งในระดับค่อนข้างมากและพันธุ์ข้าวที่ไม่หลากหลายเหมือนที่คู่แข่งมีทำให้ตลาดข้าวของไทยหดตัวมาโดยต่อเนื่อง เราต้องมีพันธุ์ข้าวที่หลากหลายและมีผลผลิตต่อไร่ที่สูงถึงจะสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ได้  สิ่งเหล่านี้จะต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ถึงจะช้าก็ต้องทำเพราะนี่คือความอยู่รอดของอุตสาหกรรมข้าวไทยในอนาคต หากมิเช่นนั้นข้าวไทยในตลาดโลกก็คงเหลือแค่เป็นตำนาน สิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดว่าจะผลักดันให้ไทยกลับมาเป็นอันดับ 1 ผู้ส่งออกข้าวโลกโลกภายใน 2 ปีคงไม่ใช่สิ่งที่น่าจะทำได้ แต่ถ้าเรามีความตั้งใจและพยายามผลักดันสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นและต่อเนื่อง ในอนาคตก็อาจจะมีความเป็นไปได้ ข้อมูลในปี 2562  ผู้ส่งออกข้าวโลก 3 อันดับแรกได้แก่  อินเดีย ปริมาณ 9.7 ล้านตัน , ไทย 7.5 ล้านตัน และเวียดนาม 6.5 ล้านตัน ขณะที่ช่วง 6 เดือนแรกปี 2563 อินเดียส่งออกได้ 5.5 ล้านตัน, เวียดนาม 3.4 ล้านตัน และไทย 3 ล้านตัน

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/442502?utm_source=sub_category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=trade

จีนมอบใบอนุญาตส่งออกข้าวให้กับ 43 บริษัทของเมียนมา

ศุลกากรของจีนได้มอบใบอนุญาตส่งออกข้าวให้แก่ 43 บริษัทของเมียนมา โดยได้อนุมัติใบอนุญาตไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ต้นเดือนมีนาคมจีนเริ่มจำกัดการนำเข้าจากเมียนมาไปยังบริษัทที่จดทะเบียนกับทางการจีนเป็นระยะเวลาหนึ่งปี ซึ่งจีนถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ของเมียนมาและจะส่งผลดีในระยะยาว เกษตรกรสามารถได้รับราคาข้าวและข้าวหักที่ราคาดีขึ้น การส่งออกข้าวไปยังจีนสูงถึงหนึ่งล้านตันต่อปี แต่ลดลงเหลือประมาณ 40,000 ถึง 50,000 ตัน หลังจากข้อจำกัดมีผลบังคับใช้ ก่อนปี 2558  จีนกำหนดโควตาการขายข้าวโดยอนุญาตให้บริษัทของเมียนมาเพียง 11 แห่ง ในอดีตการส่งออกข้าวของเมียนมา 60% ถูกส่งออกไปยังจีนและตอนนี้ก็เหลือเพียง 30% จีนและเมียนมาจัดการประชุมผ่านการประชุมทางวิดีโอเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ Belt and Road Initiative การพัฒนาอีคอมเมิร์ซระหว่างสองประเทศ การค้า เศรษฐกิจ และอื่น ๆ  การประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือระหว่างมณฑลยูนนานและเขตมัณฑะเลย์ในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลอีคอมเมิร์ซและการลดความยากจน ทั้ง 2 ประเทศต้องการที่จะดำเนินการโครงการเหล่านี้โดยเร็วที่สุดและเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-grants-rice-export-licences-43-myanmar-companies.html

การส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 35% ในไตรมาสแรก ท่ามกลางการระงับการส่งออก

กัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 230,948 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงการเพิ่มขึ้นกว่า 35% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ชี้ให้เห็นว่าจีนเป็นตลาดหลักของข้าวกัมพูชา โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2563 มีการส่งออกข้าวกว่า44% ส่งออกไปยังประเทศจีนตามด้วยสหภาพยุโรป 30% ประเทศในกลุ่มอาเซียน 12% และจุดหมายปลายทางอื่น ๆ 14% ที่ได้ระบุไว้ในรายงาน ซึ่งในเดือนมีนาคมเดือนเดียวการส่งออกข้าวสารอยู่ที่จำนวน 94,449 ตัน เพิ่มขึ้น 62% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2562 โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 620,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ ดังตัวเลขการส่งออกข้าวของกัมพูชาที่ดูเพิ่มขึ้นนี้มาจากรัฐบาลประกาศห้ามส่งออกข้าวสารและข้าวเปลือกตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้สั่งให้หยุดการส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนจนกว่าจะมีประกาศ เพื่อปกป้องอุปทานภายในประเทศเพื่อตอบสนองต่อความกังวลของการขาดแคลนอาหารในช่วงการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50708588/cambodias-rice-export-up-35-percent-in-q1-amid-looming-ban/

เวียดนามเผยปี 62 ส่งออกข้าวไปฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม (GDC) เปิดเผยว่าในปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์ 884.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดไปยังฟิลิปปินส์อยู่ที่ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.63 เมื่อเทียบกับปี 2561หากจำแนกรายการสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (+1.88% คิดเป็นมูลค่า 189.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), กาแฟ (+9.4%), อาหารทะเล (+1.94%) และเสื้อผ้า (+3.53%) เป็นต้น ทั้งนี้ ข้าวมีส่วนแบ่งการส่งออกในตลาดฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.73 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดไปยังต่างประเทศ ซึ่งจากตัวเลขสถิติ พบว่าในปีที่แล้ว มูลค่าส่งออกข้าวของเวียดนามลดลงอยู่ที่ 2.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องมาจากราคาข้าวในตลาดโลกลดลง แต่ในส่วนของปริมาณส่งออกข้าวอยู่ที่ประมาณ 6.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rice-exports-to-philippines-in-2019-surge/168177.vnp

มูลค่าส่งออกข้าวหักมากกว่า 48 ล้านเหรียญสหรัฐ ในสองเดือน

ข้อมูลของสหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. –  29 พ.ย.ในปีงบประมาณ 62 – 63 เมียนมามีรายรับ 48.413 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการส่งออกข้าวหักจำนวน 0.1866 ล้านตันไปยัง 38 ประเทศ มีรายได้มากกว่า 17 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวหัก 64,900 ตัน ไปยังอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังส่งออกไป 27,500 ตันมูลค่ากว่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังเบลเยียม จำนวน 5,000 ตันมูลค่ามากกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังมาลี และประมาณ 5,000 ตัน มูลค่ากว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐมายังไทย การส่งออกไปยังตลาดอียูและแอฟริกาผ่านทางเรือ และไปจีนผ่านชายแดนมูเซ ในปี 61-62 มีรายรับ 709.693 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวสารและข้าวหัก 2.355 ล้านตัน ส่วนปี 60-61 การส่งออกข้าวและข้าวหักทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เกือบ 3.6 ล้านตันในรอบ 50 ปี

ที่มา:https://elevenmyanmar.com/news/broken-rice-export-fetches-over-48-m-in-two-months