เดือนพ.ย.65 เกาหลีใต้ออกใบอนุญาตให้แรงงานเมียนมาเข้าประเทศกว่า 700 คน

สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาในกรุงโซล เผย แรงงานเมียนมาทั้งหมด 720 คนได้รับคัดเลือกจากเกาหลีผ่านระบบอนุญาตการจ้างงาน (EPS) ในเดือนพฤศจิกายน 2565  ซึง่แรงงานเหล่านี้เป็นแรงงานใหม่และแรงงานที่มีประสบการณ์อยู่แล้ว โดยจะเข้าไปทำงานในภาคการผลิต การก่อสร้าง เกษตรกรรมและปศุสัตว์ จากข้อมูลพบว่า ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2565 ถึงกลางปี 2566 คาดว่าจะมีแรงงานข้ามช่าติมากกว่า 37,000 คนเข้ารับการทดสอบคุณสมบัติ EPS-TOPIK (ระบบใบอนุญาตการจ้างงาน-การสอบวัดระดับความถนัดทางภาษาเกาหลี) ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติกว่า 50,000 คนทำงานอย่างถูกกฎหมายในเกาหลีใต้  ซึ่งบริษัทนายจ้างจะรับสมัครผู้ที่มีศักยภาพที่ผ่านการทดสอบ EPS-TOPIK เท่านั้น ในปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องการแรงงานใหม่และแรงงานที่มีประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานของเกาหลีใต้ เผย ค่าแรงขั้นต่ำในเกาหลีใต้อยู่ที่ 9,000 วอนต่อชั่วโมงในปี 2565 เนื่องจากมีกฎหมายคุ้มครองการจ้างงานในเกาหลีใต้ ทำให้แรงานในประเทศต้องดิ้นรนหางานในประเทศเช่นกัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/roks-eps-legally-recruits-over-700-myanmar-workers-in-november/#article-title

 

เมียนมาเลื่อนชำระสินเชื่อฟื้นฟู COVID-19 ออกไปหนึ่งปี

รัฐบาลเมียนมาได้เลื่อนการจ่ายเงินสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19  ของเมียนมา ที่ครบกำหนดชำระในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2022 ออกไปอีกหนึ่งปี ซึ่งสินเชื่อนี้ปล่อยกู้ให้กับธุรกิจในภาคปศุสัตว์ เช่น และธุรกิจฟาร์มเลี้ยงปลาและกุ้ง รวมไปถึงธุรกิจของรัฐ สำหรับสินเชื่อนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ระยะเวลาในการชำระคืน 1 ปี  โดยมีธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อนี้ไปทั้งสิ้น 325 บริษัท มูลค่าเงินกู้รวมทั้ง7.6 พันล้านจัต ซึ่งการเลื่อนชำระเงินกู้ออกไปจะเป็นผลดีเพราะสามารถนำเงินไปหมุนเวียนในธุรกิจได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/loan-maturity-date-for-livestock-sector-extended-for-one-year/

เมียนมาเปิดตัวคลังสินค้าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขง-ล้านช้าง

เมื่อวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2565 นาย เจิ้ง จื้อหง เอกอัครราชทูตจีนในเมียนมา เปิดเผยว่าเมียนมาได้เปิดตัวศูนย์คลังสินค้าโครงการในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขง-ล้านช้างในรัฐฉาน ภายใต้กองทุนพิเศษความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง(LMC) สร้างขึ้นในเมืองปินดายา เพื่อจัดเก็บสิ่งของบรรเทาทุกข์และสร้างความรู้ตระหนักเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ  ในการนี้ นาย Thet Thet Khine รัฐมนตรีกระทรวงสวัสดิการสังคม การบรรเทาทุกข์และการตั้งถิ่นฐาน ได้กล่าวขอบคุณจีน ที่ให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ โดยความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง(LMC) จะประกอบด้วย 6 ประเทศ คือ จีน กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20221130/44be77645715422797fb24a481a2702d/c.html

7 เดือนครึ่งของงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกแร่ไปแล้วกว่า 199 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 18 พฤศจิกายน 2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566  เมียนมามีรายได้จากการส่งออกสินค้าที่ผลิตจากแร่มากกว่า 199 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่พบว่าลดลง 248.419 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 447.667 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2565-2566 ที่ผ่านมา ทั้งนี้จากการสำรวจแร่ของเมียนมาส่วนใหญ่จะอยู่ในรัฐกะยา ตะนาวยี มัณฑะเลย์ และซะไกง์ ซึ่งสินค้าส่งออกที่ผลิตจากแร่ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ทอง หยก มุก เพชร ตะกั่ว ดีบุก ทังสเตน เงิน ทองแดง สังกะสี ถ่านหิน และสินแร่อื่นๆ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-mineral-exports-top-199-million-over-seven-and-a-half-months-this-fy/

7 เดือนของปี 65 สิงคโปร์รั้งอันดับหนึ่ง FDI ในเมียนมา

หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของเมียนมา  (DICA) เผย ใน 7 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเม.ย.-เดือนต.ค. 2565)  บริษัทจดทะเบียนในสิงคโปร์ 14 บริษัทได้เร่งอัดฉีดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเมียนมาเป็นมูลค่า 1.154 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในการพัฒนาเมือง อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และภาคการผลิตรองลงมาเป็นบริษัทจากฮ่องกง 163 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  จำนวน11 บริษัท และจีน 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 22 บริษัทที่เข้ามาลงทุน ซึ่งในช่วงงบประมาณย่อยที่ผ่านมา (เดือนตุลาคม 2564-เดือนมีนาคม 2565) สิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเมียนมา จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าในปีงบประมาณ 2562-2563 มีเม็ดเงินลงทุน .85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  และ 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2561-2562 นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังกลายเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 2 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา รองจากญี่ปุ่น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/singapore-tops-fdi-ranking-in-myanmar-in-past-seven-months/#article-title

 

1 เม.ย.ถึง 18 พ.ย.65 การค้าระหว่างประเทศเมียนมา พุ่งแตะ 21.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผย ระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 18 พฤศจิกายน 2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566 การค้าระหว่างประเทศของเมียนมา พุ่งขึ้นถึง 21,468 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการส่งออก 10.427 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้าอยู่ที่ 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น 89.595 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่การค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์ โดยสินค้าส่งสำคัญ ได้แก่ ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ในช่วงปีงบประมาณ 2563-2564 การค้าระหว่างประเทศของเมียนมาอยู่ที่ 29.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนปี งบประมาณย่อย 2564-2565 (เดือนต.ค.2564-เดือนมี.ค.2565) อยู่ที่ 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-surges-to-over-21-46-bln-as-of-18-nov/#article-title

7 เดือนแรกของ ปีงบฯ 65-66 เมียนมาขาดดุลการค้า 678.226 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 11 พฤศจิกายน 2565 ของปีงบประมาณปัจจุบัน 2565-2566 เมียนมาขาดดุลการค้า 678.226 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อเทียบบประมาณ 2564-2565  ที่เมียนมาเกินดุลการค้า 315.991 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย 7  เดือนที่ผ่านมา เป็นการส่งออกประมาณ 10.072 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 10.751 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 12.29 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณก่อน แต่การค้าชายแดนลดลงเล็กน้อยเหลือ 62.637 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการค้าชายแดนกับจีนกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากการระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย ทั้งนี้สินค้าส่งออกหลักของเมียนมา คือ ผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ส่วนการนำเข้า คือ สินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์เมียนมาพยายามลดการนำเข้าสินค้าที่ฟุ่มเฟือย โดยเน้นการนำเข้าสินค้าจำเป็น วัสดุก่อสร้าง สินค้าทุน วัสดุสำหรับสุขภาพหรืออนามัย แทน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-registers-trade-deficit-of-678-226-mln-as-of-11-november/

MoC ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวภายใต้ MoU ไปบังกลาเทศ

ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC) ได้อนุญาตส่งออกข้าวจำนวน 191,700 ตันที่จะส่งไปบังกลาเทศตามบันทึกข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ (MoU) โดยจะมีการส่งออกข้าวจำนวน 200,000 ตันด้วยการชำระเป็นเงินหยวนของจีน ตามสัญญา ข้าวขาว (ATAP) พันธุ์ GPCT Broken STX ราคา FOB ที่ส่งออกจะอยู่ที่ 2,788.56 หยวนต่อตัน ซึ่งกรมการค้าของเมียนมาได้ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวกว่า 191,700 ตัน มูลค่ากว่า 534 ล้านหยวน ให้กับบริษัทส่งออกข้าว 41 แห่ง ซึ่ง MOU ฉบับนี้ บังคลาเทศได้ตกลงที่จะซื้อข้าวขาว 250,000 ตันและข้าวนึ่งอีก 50,000 ตัน ตั้งแต่ปี 2565-2570 ทั้งนี้ กรมอาหารของบังกลาเทศและสมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) ได้ลงนาม MoU ร่วมกัน โดยได้ส่งข้าวเป็นครั้งแรกในปี 2560 จำนวน 100,000 ตัน และในปี 2564 เป็นครั้งที่ 2

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moc-issues-export-licence-for-rice-to-be-shipped-to-bangladesh-under-mou/