กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชากล่าวถึงผลกระทบจากไวรัสต่ออุตสาหกรรม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างการระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันกับการระบาดของโรคที่ติดต่อกับทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARs) ที่เกิดขึ้นในปี 2546 ที่ได้ทำลายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย โดยกัมพูชาประสบกับปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงอย่างมากในช่วงการระบาดของโรคซาร์สในปี 2546 และเห็นปฏิกิริยาคล้ายๆกับไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน ซึ่งกระทรวงคาดการณ์ว่ากัมพูชาจะประสบกับการลดลงของนักท่องเที่ยว 1 ล้านคน ในปีนี้ส่งผลให้สูญเสียรายได้ประมาณ 10% สำหรับภาคธุรกิจการท่องเที่ยว โดยกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว 6.6 ล้านคน ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อน สร้างรายได้ประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐและคิดเป็น 12% ของจีดีพีของประเทศ กระทรวงยังกล่าวอีกว่ากัมพูชายังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากภายนอกเนื่องจากสงครามการค้าของจีนและสหรัฐฯและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีรายงานหนึ่งสรุปประมาณการณ์ความเสียหายจากไวรัสคิดเป็น 0.1% ถึง 0.4% ของ GDP โลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50699503/minister-of-tourism-says-virus-will-be-as-bad-if-not-worse-than-sars-was-for-industry

MOT กัมพูชาเปิดเผยแผนการสนันสนุนการเดินทางภายในประเทศ

กระทรวงการท่องเที่ยว (MOT) กำลังวางแผนที่จะจัดทำแพคเกจทัวร์ราคาประหยัดใหม่เพื่อสอดรับกับการชะลอตัวลงของภาคการท่องเที่ยวในประเทศท่ามกลางสถานการณ์การระบาด COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ ณ ปัจจุบันเพื่อให้การเดินทางภายในประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยแพ็คเกจทัวร์นี้จะช่วยให้ประหยัดได้ในระหว่าง 20% ถึง 30% สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งโฆษกเปิดเผยว่ากระทรวงกำลังทำงานกับชุดบริการในภาคเอกชนรวมถึงโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และบริษัทขนส่ง เพื่อการพัฒนาแพคเกจทัวร์ราคาประหยัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเติบโตของนักท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันการระบาดของ COVID-19 ส่วนใหญ่เกิดในประเทศจีนและไม่มีข้อบ่งชี้ว่าไวรัสจะหยุดแพร่กระจายในเร็วๆนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าเมื่อปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.6 ล้านคน (ซึ่งสร้างรายได้ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีนักท่องเที่ยวภายในประเทศ 11.5 ล้านคน อาจจะลดลงเป็นอย่างมากในระยะไม่กี่เดือนข้างหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50699506/mot-unveils-their-plan-to-encourage-domestic-travel

Lao Airlines ให้พนักงานหยุดชั่วคร่าว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในช่วงนี้

Lao Airlines สายการบินรัฐวิสาหกิจสปป.ลาวได้ขอให้พนักงานหยุดงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างเพื่อให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ในช่วงนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้มีการยกเลิกเที่ยวบินไปยังประเทศปลายทางจำนวนมากทั้ง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ผู้โดยสารลดลง 37% จากข้อมูลของกรมการบินพลเรือนกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งจะต้องจองที่นั่ง 60% ในเที่ยวบินเพื่อให้เที่ยวบินนั้นปฏิบัติได้ แต่ในปัจจุบันบางเส้นทางมีเพียง 10 ถึง 20 คนที่ทำการจองดังนั้นสายการบินจึงระงับเที่ยวบินเหล่านั้น นอกจากนี้จำนวนเที่ยวบินจากประเทศอื่น ๆ มายังสปป.ลาวก็ยังลดลงประมาณ 348 เที่ยวบินต่อเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้สายการบิน Lao Airlines ต้องมีมาตราการดังกล่าวออกมาเพื่อปรับลดค่าใช้จ่ายในช่วงนี้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_airlines_48.php

สนง.สถิติแห่งชาติเผยผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสแรกโต แม้เผชิญกับโควิด-19

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) คาดว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนามไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมร้อยละ 9 และ 10.45 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 และ 2561 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป เป็นภาคที่มีสัดส่วนมากที่สุดของอุตสาหกรรมในประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38 ทั้งนี้ หากไม่เกิดสถานการณ์ของการแพร่ระบาดไวรัส จะส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปจะขยายตัวร้อยละ 10.47 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัส ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เป็นต้น นอกจากนี้ ทางสำนักงาน GSO ระบุว่าปัจจัยที่ทำให้การผลิตในประเทศมีเสถียรภาพนั้น ภาครัฐฯควรจัดการกับกิจกรรมการค้า โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าและตลาดสำคัญ รวมถึงการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตและผู้ค้าและส่งเสริมธุรกิจที่ประสบปัญหาขาดเงินทุนจากการแพร่ระบาดของไวรัส โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ เหล็กและอาหารแปรรูป

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/industrial-production-grows-in-first-quarter-if-covid19-ends-gso-411042.vov

ผลสำรวจชี้ 74% ธุรกิจล้มละลายจากการแพร่ระบาดของไวรัส

ผลการสำรวจของคณะกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจเอกชน ภายใต้สภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ระบุว่าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 กินเวลานานกว่า 6 เดือน ส่งผลให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 73.8 ล้มละลาย โดยจากการสำรวจบริษัทมากกว่า 1,200 ราย ในช่วงวันที่ 2-3 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็ก ด้วยจำนวนพนักงานน้อยกว่า 100 คน และร้อยละ 98.2 ได้รับผลกระทบเชิงด้านลบจากการแพร่ระบาดของไวรัส ขณะที่ มีเพียงร้อยละ 9.2 ที่ได้รับผลกระทบเชิงบวก จากการสำรวจดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าธุรกิจร้อยละ 19 ได้เตรียมมาตรการมารองรับผลกระทบในเชิงลบ ในขณะที่ร้อยละ 7.2 มองหาตลาดใหม่, ร้อยละ 2.4 ยกระดับคุณภาพบริการสูงขึ้น และร้อยละ 1.7 ใช้เวลานี้ในการฝึกอบรมพนักงาน ตามลำดับ ทั้งนี้ บริษัทได้เสนอ 3 ข้อแก่รัฐบาล ได้แก่ ช่วยเหลือปัญหาและอุปสรรคที่บริษัทเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัส ตามมาด้วยการดำเนินนโยบายเฉพาะอย่างที่ให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบมากในแง่ของภาษี และการส่งเสริมสินเชื่อและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/nearly-74-percent-of-firms-to-go-bankrupt-if-epidemic-lingers-survey-411041.vov

นกแอร์ระงับเที่ยวบินย่างกุ้ง-กรุงเทพ

สายการบินนกแอร์ของไทยระงับเที่ยวบินจากงย่างกุ้งและกรุงเทพฯ วันละ 2 เที่ยวต่อวัน โดยคืนเงินเต็มจำนวนหรือเปลี่ยนตั๋วเครื่องบินสามารถเลือกจุดหมายปลายทางภายในสามเดือน ตามรายงานของกระทรวงการบินพลเรือน (DCA) สายการบิน Korean Air ระงับเที่ยวบินตรงของอินชอนไป -ย่างกุ้ง เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ในเกาหลีใต้ ปัจจุบันมีสายการบินจากประเทศอื่นรวมถึงจีนเพียง 6 0kd 15 สายการบินของจีนที่เปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้ DCA กำหนดให้สายการบินระหว่างประเทศบินกรอกแบบฟอร์มสุขภาพที่ และปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)  เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Coronavirus ในสนามบินนานาชาติและสนามบินภายในประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/nok-air-suspends-its-morning-ygn-bkk-flights

‘กยท.’ หวั่นออร์เดอร์ส่งออกยางไปจีนวูบ 2 ล้านตัน

โควิด-19 พ่นพิษหนัก กยท.หวั่นใจออร์เดอร์จีนวูบ 50% ทุบน้ำยางส่งไปจีนชะงัก 2 ล้านตัน ฉุดราคาน้ำยางลง เร่งสปีดหน่วยงานรัฐใช้ยาง ล่าสุดดึง รพ.รามาธิบดี เอ็มโอยูปั๊มอุปกรณ์การแพทย์แปรรูปจากยาง การระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงส่งผลให้ตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักเลื่อนชิปเมนต์ส่งมอบยางออกไปก่อนในขณะนี้ และแรงงานที่อยู่ในภาคโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมยางพารายังไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานที่โรงงานได้เต็มที่ ปีนี้จึงอาจจะล่าช้า อย่างไรก็ตาม คาดว่าช่วงเดือนมีนาคมนี้น่าจะคลี่คลายดีขึ้น เพราะจีนเริ่มควบคุมสถานการณ์ได้ กยท.ตั้งเป้าหมายว่าจะมีการใช้ยางพาราในประเทศ 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ตั้งเป้าหมายไว้ 160,000 ตัน และมีการใช้ยางพาราจริงประมาณ 140,000 ตัน คาดว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นจากการสร้างถนน และหน่วยงานนำยางแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยจะมีงบฯการวิจัยและพัฒนา 400 ล้านบาท” เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว และเข้าสู่ช่วงปิดการกรีดยาง รวมทั้งผลจากโรคใบด่างส่งผลให้ผลผลิตลดลงและยังได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ออร์เดอร์จากจีนหยุดชะงัก โดยปกติจีนมีการสั่งออร์เดอร์น้ำยางสดจากไทยกว่า 50% ของปริมาณน้ำยางทั้งหมดในประเทศ หรือออร์เดอร์หายไปประมาณ 2 ล้านตัน ดังนั้น กยท.จึงต้องเร่งผลักดันการใช้ยางในประเทศจากการสร้างถนน สร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์และหน่วยงานนำยางแปรรูปผลิตภัณฑ์ ล่าสุดได้บันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ด้านการวิจัยและพัฒนา ระหว่าง กยท.กับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาแบบจำลองสื่อการเรียนการสอนทางการแพทย์จากยางพาราแปรรูปที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยในการพัฒนาวิจัย ทดแทนการนำเข้า และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา ในระยะเวลา 3 ปี รายงานจาก กยท.ระบุว่า ขณะนี้ระดับราคาน้ำยางสด ณ วันที่ 4 มี.ค. 2563 อยู่ที่ กก.ละ 42.80 บาท จากเดือนก่อนหน้า (3 ก.พ.) อยู่ที่ กก.ละ 39.80 บาท ส่วนราคาเอฟโอบีอยู่ที่ กก.ละ 50.55 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เคยอยู่ที่ กก.ละ 47 บาท ไทยมีการส่งออกยางพาราในเดือนมกราคม 2563 ปริมาณ 296,348 ตัน เพิ่มขึ้น 0.94% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่า 388 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.02%

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-429452

วัดมหามุนีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าชมประมาณ 500 คนต่อวัน

มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากว่า 500 คนที่มาเยี่ยมชมพระพุทธรูปมหามุนีในมัณฑะเลย์เป็นประจำทุกวัน หลังจากการระบาดของโรค coronavirus (COVID-19) ที่เริ่มขึ้นในประเทศจีน นักท่องเที่ยวชาวเอเชียมาเที่ยวเมียนมาน้อย แต่นักท่องเที่ยวจากประเทศตะวันตกยังคงเดินทางมา จากข้อมูลมีผู้เยี่ยมชมชาวต่างชาติกว่า 1,000 คนทุกวันก่อนเกิดการระบาด ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมมีนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงโดยเฉลี่ย 500-700 คน เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลง ทำให้ตอนนี้ทางวัดได้ติดประกาศถึงวิธีล้างมือ มอบวิตามินซีให้กับพนักงานจากศูนย์ข้อมูลที่ต้องติดต่อกับชาวต่างชาติ นอกจากนี้ยังจำหน่ายหน้ากากอนามัยอีกด้วย จากข้อมูลพบว่าวัดมีรายได้ 12,091,000 จัต จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 24,182 คน ในเดือนมกราคม และ 7,201,000 จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 14,402 คน ในเดือนกุมภาพันธ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 นักท่องเที่ยวต่างชาติจะถูกเรียกเก็บค่าเข้าชม 5,000 จัต

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/mandalay-maha-muni-buddha-image-sees-around-500-foreign-visitors-daily

ภาคอุตสาหกรรมการบริการเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือในช่วงการแพร่ระบาด Covid-19

ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐบาลและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนในการจัดการกับการค้าที่ชะลอตัวจากความกังวลของการแพร่ระบาด Covid-19 สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ในช่วงเดือนที่ผ่านมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดว่าสปป.ลาวสูญเงินไปกว่า 20-25 ล้านเหรียญสหรัฐตัวเลขนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นหากนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ หยุดเที่ยวสปป.ลาวทำให้เจ้าของและผู้แทนท้องถิ่นจากภาคการท่องเที่ยวซึ่งรวมถึงโรงแรมร้านอาหารสายการบินผู้ประกอบการขนส่งและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ มารวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องถึงมาตราการความเชื่อเหลือจากภาครัฐ เพราะขนาดนี้ทุกภาคส่วนกำลังตกอยู่ในช่วงตกต่ำจากสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยในที่ประชุมมีการเสนอทางออกแก่ภาครัฐดังนี้ ลดหรือเลื่อนการชำระภาษีของภาคธุกิจ ธนาคารควรมีการพักหนี้ชั่วคร่าวแก่ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการช่วยเหลือด้านสวัสดิการของแรงงาน ข้อเสนอต่างๆจะถูกเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินมาตราการต่างๆ อย่างไรก็ตามในขณะนี้ภาคธุรกิจควรช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการรับมือกับวิกฤติและมีการวางแผนการรับมือกับวิกฤตดังกล่าวในระยะยาวด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-tourism-industry-seeks-help-wake-covid-19-slump-115095

การระบาดของ Covid-19 อาจส่งผลต่อรายรับการจัดเก็บภาษีของกัมพูชา

กรมสรรพากร (GDT) กล่าวถึงการระบาดของ COVID-19 ที่อาจจะส่งผลต่อการลดลงของรายได้จากเก็บภาษีในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งเป้าหมายของภาครัฐในการเก็บภาษีปีนี้อยู่ที่ 2,886 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยกรมสรรพากรกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพราะไม่ทราบว่าการระบาดของ COVID-19 จะสิ้นสุดลงอย่างไร ซึ่งรัฐบาลให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผลกระทบจากไวรัสที่กำลังเผชิญอยู่ทั้งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการผลิตเสื้อผ้าของประเทศ โดยรัฐบาลได้ใช้มาตรการในการจัดการสถานการณ์ในภาคที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามตัวเลขจากกระทรวงการท่องเที่ยวล่าสุด (MOT) ในปี 2562 กัมพูชามีรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศราว 4.91 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.4% จากปีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม MOT กำลังคาดการณ์ผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ว่าจะทำให้รายได้นั้นลดลงเป็นอย่างน้อย 10% ส่วนในมาตรการอื่นๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบทางการเงินรัฐบาลได้ตัดสินใจยกเลิกภาษีตราประทับ 4% สำหรับทรัพย์สินที่อยู่อาศัยทั้งหมดภายใต้เงื่อนไขมูลค่าสินทรัพย์ไม่เกิน 70,000 เหรียญสหรัฐจนถึงเดือนมกราคมปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50698138/covid-19-scuppers-kingdoms-taxman