การค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ เดือนพ.ค.65 เงินสะพัดกว่า 3.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งรัฐยะไข่ เผย การค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ 2 แห่ง ได้แก่ ชายแดนซิตต์เวย์ และชายแดนหม่องตอ มีเงินหมุนเวียนกว่า 3.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนพ.ค. 2565 สูงกว่าเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เป็นการส่งออกมูลค่า 3,565,708 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (จำนวน 7,310 ตัน) และนำเข้ามูลค่า 9,540 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเมียนมาส่งออกสินค้าทางทะเลมูลค่า 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคิดเป็นร้อยละ 55 ของเดือนพ.ค. ทั้งนี้ มีการส่งออกปลายี่สกเทศกว่า 1,500 ตันจากฟาร์มในย่างกุ้งและอิรวดีมูลค่า 1.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งสินค้าจากรัฐยะไข่ เช่น ถั่วหมาก มะพร้าว และอื่น ๆ รวมถึงสินค้าจากภูมิภาคและรัฐอื่นๆ เช่น แยมผลไม้ ปาล์ม ขิง หัวหอม และพืชอื่นๆ ก็ส่งออกไปยังบังกลาเทศด้วยเช่นกัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-us3-56-million-at-myanmar-bangladesh-border-trade-camps-in-may/

เมียนมา ลุย พร้อมส่งออกมะม่วงเส่งตะลง ทั้งทางอากาศและทะเล บุกตลาดสิงคโปร์

นาย U Kyaw Soe Naing เลขาธิการสมาคมพัฒนาตลาดมะม่วงและเทคโนโลยีเมียนมาร์ (มัณฑะเลย์) เปิดเผย เมียนมากำลังส่งออกมะม่วงเส่งตะลง (Seintalone) ไปยังสิงคโปร์โดยใช้การขนส่งทางอากาศและทางทะเล แม้การส่งออกทางอาศจะมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูงแต่มีความเร็วและไม่ทำให้มะม่วงเน่าเสีย ซึ่งต่างจากการขนส่งทางทะเลที่ใช้เวลาถึงหนึ่งอาทิตย์ในการขนส่งและผลมะม่วงอาจได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ ช่วงฤดูการเพาะปลูกที่ผ่านมาเกษตรกรได้ลดต้นทุนในการปลูกทำให้ผลผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพจึงเกิดโรคของผลมะม่วงหลังการเก็บเกี่ยวตามมา ราคามะม่วงเส่งตะลงแถบชายแดนเมียนมา-จีน ในปัจจุบันมีสูงถึง 140 จัตต่อตะกร้า (ขนาด 16 กิโลกรัม) ส่วนมะม่วงคุณภาพต่ำราคาจะอยู่ที่ 100 จัตต่อตะกร้า ปัจจุบัน การเพาะปลูกมะม่วงส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในเขตอิรวดี โดยมีเนื้อที่ประมาณ 46,000 เอเคอร์ ลำดับต่อมาคือ เขตพะโค มีพื้นที่ 43,000 เอเคอร์, เขตมัณฑะเลย์ มีพื้นที่ 29,000 เอเคอร์, กะเหรี่ยงมีพื้นที่ 24,000 เอเคอร์, รัฐฉานมีพื้นที่ 20,400 เอเคอร์  และเขตซะไกง์มีพื้นที่ 20,000 เอเคอร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-conveying-seintalone-mango-to-singapore-by-air-maritime-transport/

ราคาถั่วแป๋ในตลาดมัณฑะเลย์ พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

ผู้ค้าจากตลาดมัณฑะเลย์ เผย การซื้อขายถั่วแป๋ (rice bean) ในตลาดมัณฑะเลย์กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และราคาพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ปัจจุบันมีการนำถั่วแป๋มาจากตำบลมาดายะ สิงกู โมนยวา และปะโคะกู จากเดิมในฤดูเก็บเกี่ยวช่วงเดือนม.ค. ราคาอยู่ที่ 89,000 จัตต่อถุง (3 ตะกร้า) แต่ในปัจจุบันพุ่งไปถึง 150,000 จัตต่อถุง (3 ตะกร้า) ซึ่งการที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นเพราะอุปสงค์ของจีนที่มีมากขึ้นจาการเปิดชายแดนเมียนมาและจีน ส่วนใหญ่ถั่วแป๋จะเน้นการส่งออกเพราะการบริโภคในประเทศค่อนข้างน้อยจึงคาดว่าราคาจะยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ในเขตมัณฑะเลย์ เขตมะกเว และเขตซะไกง์ ซึ่งการปลูกบนดินลุ่มน้ำอิรวดีและแม่น้ำชี่น-ดวี่น ในเขตพื้นที่ดังกล่าวจะได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ถั่วแป๋สามารถปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย. สามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนม.ค. ซึ่งถั่วแป๋เป็นพืชที่คุ้มค่ากับการปลูกและให้ผลผลิตที่สูง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mandalay-market-sees-price-spike-in-rice-bean/#article-title

ความต้องการข้าวจากในประเทศและต่างประเทศเพิ่ม หนุนราคาข้าวเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

นาย อู่ ธาน อู เลขาธิการศูนย์ขายส่งข้าวบุเรงนอง เผย ราคาข้าวหักเมียนมาเริ่มปรับตัวขึ้นเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ค้าทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันราคาข้าวหักอยู่ระหว่าง 27,000-30,000 จัตต่อตะกร้า (น้ำหนัก 108 ปอนด์) โดยราคาไม่ต่างจากราคาข้าวคุณภาพต่ำที่ส่งออกมากนัก เมื่อเดือนเม.ย.2565 ที่ผ่านมา เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 170,000 ตัน โดยมีมูลค่าประมาณ 58.933 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ การส่งข้าวมูลค่ากว่า 119,260 ตัน เป็นการส่องออกยังทางทะเล มูลค่า 41.298 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ผ่านชายแดน มูลค่า 4,180 ตัน ผ่านชายแดนจีน โดยตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ ไอวอรี่โคสต์ (10,000 ตัน) แคเมอรูน (9,000 ตัน) แองโกลา (15,000 ตัน) มาดากัสการ์ (8,500 ตัน) จีน (14,300 ตัน) ฟิลิปปินส์ (12,200 ตัน) ศรีลังกา (250 ตัน) และฮ่องกง (180 ตัน) ส่วนการส่งออกไปสหภาพยุโรป ได้แก่ โปแลนด์ (8,800 ตัน), ลิทัวเนีย (8,200 ตัน), อิตาลี (8,690 ตัน), สเปน (15,180 ตัน), บัลแกเรีย (7,750 ตัน) และเบลเยียม (700 ตัน)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-foreign-demand-drive-broken-rice-price-up/

ราคาน้ำมันปาล์มเมียนมาพุ่งเป็น 8,000 จัต แม้ ตรึงราคาอยู่ที่ 5,725 จัต

รายงานอุตสาหกรรมอาหารทอดในเมียนมา เผย แม้ว่าราคาน้ำมันปาล์มจะตรึงไว้ที่ 5,727 จัต แต่ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคต้องซื้อยังพุ่งไปถึง 8,000 จัต ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาประกาศว่าผู้ที่ขึ้นราคาโดยไม่เป็นธรรมจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยราคา FOB ณ ตลาดย่างกุ้ง ระหว่างวันที่ 30 พ.ค.ถึง 5 มิ.ย.65 อยู่ที่ 5,725 จัต แต่ราคาที่ซื้อขายจริงอยู่ที่ 8,000 จัต ซึ่งเจ้าหน้าที่ของกระทรวงต้องลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้กระทรวงยังต้องควบคุมราคาน้ำมันปาล์มในประเทศเพื่อให้เป็นธรรมและสอดคล้องกับราคาตลาดโลก และต้องจับตาราคา FOB น้ำมันปาล์มของมาเลเซียและอินโดนีเซียที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกอย่างใกล้ชิด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-price-up-by-k8000-despite-fixed-price-at-k5725/

พริกไทยมีแนวโน้มราคาพุ่ง ! จากผลผลิตที่ลดฮวบลง

นาย U Hla Han พ่อค้าซื้อขายพริกไทยจากพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ตลาดบุเรงนอง เปิดเผยว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา การปลูกพริกไทยในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีราคาพุ่งสูงขึ้น โดยเกษตรกรได้ให้ข้อมูลว่าเนื่องจากมีฝนตกหนักและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตจึงอาจลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง อีกทั้งมีเกษตรกรเพียง 10% เท่านั้นที่สามารถซื้อปุ๋ยได้ เนื่องจากต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนปุ๋ย โดยเมื่อปีก่อนราคาปุ๋ยอยู่ที่ 40,000 จัตต่อถุง และราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 200,000 จัตต่อบาร์เรล ในปีนี้ ราคาปุ๋ยพุ่งขึ้นเป็น 90,000 จัตต่อปุ๋ย 1 ถุง และราคาน้ำมันดีเซลพุ่งขึ้นเป็น 500,000 จัตต่อบาร์เรล ทั้งนี้คาดว่า ราคาพริกไทยในปีนี้อาจพุ่งสูงเกือบ 2 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pepper-price-may-rise-due-to-drop-in-its-yield/#article-title

ค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ พุ่ง 2.863 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งรัฐยะไข่ เผย เดือนเม.ย. 2565 มูลค่าการค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ 2 แห่ง ทั้งที่ท่าเรือชเวมิงกันในซิตต์เวย์และท่าเรือกันยินชวงในเมืองหม่องตออยู่ที่ 2.863 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย 51% ของสินค้าส่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ประมงมูลค่า 1.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีเพียง 0.3% นอกจากสินค้าประมงแล้วยังส่งออกหัวหอม ขิง ลูกพลัมแห้ง เมล็ดมะขาม ถั่วลันเตา น้ำตาลโตนด ลูกเนียง มะพร้าว ถั่ว มะม่วง พริกแห้ง แยมลูกพลัม และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/us2-863-million-worth-of-trade-volume-handled-on-myanmar-bangladesh-border/