ค้าชายแดนเมซู ดิ่งฮวบ !
จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ณ วันที่ 4 มี.ค.2565 มูลค่าการค้าชายแดนมูเซในปีงบประมาณย่อย มีมูลค่า 579.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน ที่มีมูลค่า 3.09 พันล้านดอลลาร์ ลดลงกว่า 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 4 มี.ค.2565 การส่งออกของเมียนมาไปยังจีนผ่านชายแดนมูเซ มีมูลค่า 555.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 23.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากจีนปิดจุดตรวจทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับชายแดนมูเซจากการะบาดของ COVID-19 แต่เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2564 ที่ผ่านมา จุดตรวจผ่านแดน Kyinsankyawt ได้เริ่มเปิดให้ซื้อขายกันผ่านแดนในระยะทางไม่ไกลมากนัก โดยเมียนมาได้ส่งออก ถั่วและพัลส์, ลูกพลัมแห้ง แตงโม, แตงไทย และสินค้าโภคภัณฑ์อาหารอื่นๆ ไปยังจีนทุกวัน ในขณะที่เมียนมาจะนำเข้าสินค้าอย่าง ยา อิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุก่อสร้าง
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/value-of-trade-via-muse-border-trade-zone-on-the-decline/#article-title
จีนระงับการนําเข้าสินค้า 7 รายการจากเมียนมาผ่านทางชายแดน
หอการค้าชายแดนมูเซ-น้ำคำ รายงานว่า หน่วยเฉพาะกิจป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ในเมืองรุ่ยลี่ ประเทศจีน แจ้งคณะทำงานของเชายแดนมูเซว่าจะมีการระงับการนำเข้าสินค้า 7 รายการ หนึ่งในนั้นรวมไปถึงข้าวจากเมียนมา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 โดยสินค้าที่ถูกระงับการนำเข้าทั้ง 7 รายการ ได้แก่ ข้าว, ข้าวหัก, พริกสด, สินค้าที่ขนส่งในระบบห่วงโซ่ความเย็น, สินค้าแช่แข็ง, สินค้าประมง และ สินค้าประเภทของใช้ประจำวัน รวมถึงสินค้าอาหารบรรจุหีบห่อ ณ ด่านตรวจว่านติง-มังมาน ณ วันที่ 4 มี.ค. 2565 ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 2564- มี.ค. 2565) การปิดชายแดนมูเซทำให้มูลค่าการค้า ลดลงเหลือ 579.48 ล้านดอลลารณ์สหรัฐฯ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ตัวเลขดังกล่าวลดลงอย่างมากจาก 2.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน โดยปกติเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปู กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ การค้าผ่านชายแดนมูเซ-รุยลี เมียนมาส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังจีน ด้านการนำเข้าจะเป็นวัตถุดิบ CMP ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2563-2564 การค้าชายแดนมูเซ ระหว่างจีน-เมียนมา มีมูลค่า 4.057 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกมูลค่า 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ราคาถั่วชิกพีพุ่งขึ้นเป็นสองเท่าในปีนี้
ผู้ค้าถั่วในมัณฑะเลย์ เผยความต้องการราคาถั่วชิกพีมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาพุ่งไปอยู่ที่ 132,000 จัตต่อถุง จาก 80,000 จัตต่อถุง ชาวเมียนมาส่วนใหญ่ชื่นชอบการบริโภคถั่วชิกพีเพราะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์และรสชาติที่เข้มข้น แกงที่ทำจากถั่วชิกพีเป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ความต้องการในประเทศที่สูงขึ้นกระตุ้นให้โรงงานในมัณฑะเลย์เร่งเปิดดำเนินการ สามารถสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้อีกด้วย ด้านการส่งออกตลาดหลัก คือ อินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี เป็นต้น ทั้งนี้พื้นที่การเพาะปลูกถั่วชิกพีทั่วประเทศอยู่ที่ 890,000 เอเคอร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค ซะไกง์ อิรวดี และเนปิดอว์ การเพาะปลูกจะอยู่ในช่วงเดือนต.ค.และพ.ย.และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนม.ค.ถึงเม.ย. ของแต่ละปี
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/chickpea-prices-rise-to-double-this-year/
ราคางาดำในเมียนมาพุ่งเป็น 235,000 จัตต่อถุง
จากข้อมูลของตลาดบุเรงนอง ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาราคางาดำที่จำหน่ายในประเทศพุ่งขึ้นเป็น 235,000 จัตต่อถุง (1 ถุง = 3 ตะกร้า) ผลมาจากค่าเงินจัตที่อ่อนค่าลงและความต้องการที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยราคาจะอยู่ในช่วง 155,000 – 235,000 จัตต่อถุง โดยปกติแล้วร้อยละ 80 จะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหภาพยุโรป และไต้หวัน ซึ่งทั้งเมล็ดงาดิบและงาที่แปรรูปแล้วส่งออกไปยังจีนผ่านชายแดนได้มากขึ้น เมื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้คลี่คลายลง โดยเขตมะกเวเป็นพื้นที่เพาะปลูกหลักของประเทศและสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี สำหรับพืชน้ำมันที่ใช้อาหารที่ปลูกในเมียนมา พื้นที่เพาะปลูกงามีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.3 ของพื้นที่เพาะปลูกพืชน้ำมันทั้งหมด มีผลผลิตเมล็ดงาประมาณ 600,000-800,000 ตันต่อปี
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/prices-of-black-sesame-seeds-soar-to-k235000-per-bag/#article-title