เมียนมาส่งออกสินค้าประมง พุ่งขึ้น 128 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุ มูลค่าการส่งออกอาหารทะเล ณ วันที่ 19 พ.ย.64  -ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 64 ถึงมี.ค 65) อยู่ที่ประมาณ 128 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 120.6 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมาสหพันธ์การประมงแห่งเมียนมา (MFF) พยายามขยายการส่งออกโดยไม่คำนึงถึงการหยุดชะงักของการค้าทางทะเลจาการแพร่ระบาดของ COVID-19 การปิดประตูชายแดนและความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น เช่น อวนจับปลา ราคาน้ำมันสร้างภาระให้กับอุตสาหกรรม รวมทั้งค่าเงินจัตอ่อนค่าลงในตลาดฟอเร็กซ์ ซึ่งสินค้าประมง เช่น ปลา กุ้ง และปู ถูกส่งออกไปยังตลาดใน 40 ประเทศ ได้แก่ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย และสหภาพยุโรป โดยตลาดจีนคิดเป็น 65% ของการส่งออกประมงทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 254 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการส่งออกการประมงโดยรวมที่ 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีงบประมาณ 62-63 ปัจจุบันจีนปิดพื้นที่ชายแดนจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ MFF เริ่มหันไปมองตลาดที่มีศักยภาพอย่างบังคลาเทศแทน ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 63-64 (ต.ค.63-ก.ย.64) เมียนมาส่งออกอาหารทะเลคิดเป็นมูลค่า 784.889 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/earning-from-export-of-myanmar-aquaculture-products-exceeds-128-mln-as-of-19-november/

ราคาถั่วดำ พุ่งเป็น 40,000 จัตต่อตัน ภายในหนึ่งสัปดาห์

หอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง (Bayintnaung Wholesale Centre) ระบุ ราคาถั่วดำ (หรือ Urad ในภาษาอินเดีย) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 40,000 จัตต่อตันภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ราคาถั่วดำอยู่ที่ 1,382,000 จัตต่อตัน แต่วันที่ 1 ธ.ค. พุ่งขึ้นเป็น 1,425,000 จัตต่อตัน โดยกระทรวงเกษตรและสวัสดิการของอินเดีย นอกจากอนุญาติให้นำเข้าถั่วดำแล้ว แต่ยังรวมถึงถั่วชนิดอื่นๆ ให้นำเข้าจากเมียนมาได้ พร้อมผ่อนคลายด้านการขนส่งจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 64  เมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ราคาพุ่งเป็นประวัติการณ์ที่ 2 ล้านจัตต่อตัน ตามค่าเงินจัตที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในตลาด forex  ทั้งนี้เมียนมาส่งออกถั่วต่างๆ มูลค่ากว่า 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เป็นการส่งออกทางทะเล1.24 ล้านตัน มูลค่า 966.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และผ่านทางชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน 786,920 ตัน มูลค่า 604.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/black-gram-price-up-by-k40000-per-tonne-within-one-week/

รอบ 1 ปี เมียนมาส่งออกใบชาไปแล้วกว่า 4,900 ตัน

ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 30 ก.ย. 2564 เมียนมาส่งออกใบชาประมาณ 4,900 ตัน ส่งออกไปยังเกาหลีใต้ เยอรมนี จีน ประเทศในสหภาพยุโรป และประเทศต่างๆ ในเอเชีย มากกว่า 4,000 ตันถูกส่งออกผ่านด่านชายแดน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเน้นส่งเสริมการส่งออกของรัฐฉาน โดยเน้นเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นการพัฒนาทางเลือกในการเพาะปลูก ขณะที่ตลาดใบชาโลกผู้นำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหราชอาณาจักร เวียดนาม ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน โมร็อกโก เยอรมนี จีน และฮ่องกง ด้านผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ จีน อินเดีย ศรีลังกา เคนยา โปแลนด์ เยอรมนี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และใต้หวัน ส่วนผู้ผลิตชารายใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เคนยา ตุรกี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา และอิหร่าน เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการผลิตและเทคโนโลยีการเกษตรจะทำให้เมียนมาเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกชารายใหญ่ที่สุดของโลก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/more-than-4900-tonnes-of-tea-leaves-exported-within-one-year/

ความต้องการเมล็ดงาในเมียนมาลดฮวบ ! ส่งผลราคาดิ่งลง

ผลผลิตเมล็ดงาที่เก็บเกี่ยวใหม่ราคาลดฮวบเหลือ 220,000 จัตต่อถุง ลดลง 20,000 จัต เมื่อเทียบกับราคาเมื่อช่วงต้นเดือนพ.ย.64 ที่ 240,000 จัตต่อถุงในต้นเดือนพ.ย. โดยทั้งเมล็ดงาดิบและเมล็ดงาแปรรูปที่เพิ่มมูลค่าถูกแล้วส่งออกไปยังจีน และเมื่อมาตรการผ่อนคลายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้คลี่คลาย ตลาดเมล็ดงาจะกลับมาคึกคักอีกครั้งแน่นอน ปกติแล้วเมียนมาส่งออกเมล็ดงาประมาณ 80% ไปยังต่างประเทศ โดยตลาดหลักๆ จะเป็น จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหภาพยุโรป และไต้หวัน ซึ่งเมล็ดงามีการปลูกตลอดทั้งปี โดยเขตมะกเว ถือว่าเป็นหลักเพาะปลูกและเป็นผู้ผลิตเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ สำหรับพืชน้ำมันที่ใช้สำหรับการประกอบอาหาร เมล็ดงาเป็นพืชที่ใช้พื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด คิดเป็น 51.3% ของพื้นที่เพาะปลูกพืชน้ำมันทั้งหมด มีผลผลิตประมาณ 600,000-800,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fresh-sesame-supply-brings-down-price/

กระทรวงเกษตรปศุสัตว์ฯ เมียนมา จับมือภาคเอกชน ตั้งเขตขยายพันธุ์ 28 แห่ง ทั่วประเทศ

เพื่อพัฒนาภาคปศุสัตว์ของเมียนมา กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทานของเมียนมาร่วมมือกับภาคเอกชน ได้จัดตั้งเขตปศุสัตว์ 28 แห่งในแต่ละภูมิภาคของรัฐเพื่อตอบสนองตามความต้องการของตลาด และเป็นการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม การบริโภคผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่สดและเพียงพอ ส่งเสริมการส่งออก การเพิ่มรายได้ของประชาชนและยกระดับการครองชีพ กรมวิจัยปศุสัตว์จะขยายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในภาคปศุสัตว์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการลดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวย จากสถิติการลงทุนของต่างชาติในภาคเกษตรและประมงคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 2% ของเงินลงทุนทั้งหมดต่อปี ดังนั้น ภาคเกษตรจึงเป็นส่วนสำคัญของประเทศที่จะต้องหาหาวิธีที่จะพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2531-2532 จนถึงเดือนก.ย. 2561 เมียนมามีเงินลงทุนจากต่างประเทศกว่า 7.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการลงทุนในภาคการเกษตร 395 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 0.51% ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด

ที่มา: https://news-eleven.com/article/220848