สปป.ลาว ไทย และจีน หารือเส้นทางการบินใหม่เพื่อรองรับเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น

เส้นทางการบินใหม่อยู่ระหว่างการหารือระหว่างไทย จีน และ สปป.ลาว เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด และเพื่อตอบสนองต่อการคาดการณ์ว่าจะมีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นอีก 100,000 เที่ยวในน่านฟ้าประเทศไทย สปป.ลาว และจีน โดยเส้นทางคู่ขนานที่นำเสนอนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความแออัดในเส้นทางการบินที่มีอยู่ซึ่งกำหนดโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของลาว แผนเหล่านี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่จะวางตำแหน่งประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ความต้องการเดินทางจากจีนมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยจำนวนเที่ยวบินสูงถึงประมาณ 80% ของระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาด โดยอินเดียมองว่าเป็นตลาดที่กำลังเติบโตและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีเที่ยวบินเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่า 900,000 เที่ยวบินในปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 800,000 เที่ยวบินในปี 2566 และภายในปี 2568 ปริมาณเที่ยวบินจะดีดตัวกลับไปสู่ระดับ 1 ล้านเที่ยวบิน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/04/01/thailand-laos-china-in-talks-for-new-aviation-routes-to-handle-surge-in-flights/

‘อุตสาหกรรมการบินเวียดนาม’ มีแนวโน้มฟื้นตัวปี 67

สำนักงานการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) เปิดเผยว่าตลาดการบินของเวียดนามมีแนวโน้มที่จะกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่ในช่วงปลายปี 2567 ในขณะที่ตามรายงานของสมาคมขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจะฟื้นตัวในปีนี้ โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะทำกำไรราว 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ภาคการบินของเวียดนามจะให้บริการผู้โดยสาร จำนวนทั้งสิ้น 84.2 ล้านคนในปีนี้ เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และ 6% จากปี 2562  ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19

นอกจากนี้ สายการบินภายในประเทศ ระบุว่าบริษัทจะให้บริการประมาณ 33,800 เที่ยวบินในช่วงวันหยุดปีใหม่ทางจันทรคติ (Tet) ระหว่างวันที่ 24 ม.ค.-2 ก.พ. เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/domestic-aviation-industry-poised-for-full-recovery-in-late-2024-post1073805.vov

‘เวียดนาม’ เล็งเข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่อุปทานด้านการบินและอวกาศ

สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุนของฮานอย (HANSIBA) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงานแถลงข่าวและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการคุณภาพในภาคการบิน เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการของสมาชิกในสมาคมอุตฯ และบริษัทข้ามชาติ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ทั้งนี้ มัตสึโมโตะ อิซูมิ เลขาธิการคนแรกของสถานทูตญี่ปุ่นในเวียดนาม กล่าวว่าบริษัทโอนัมบะของญี่ปุ่นได้เปิดโรงงานในเวียดนาม เพื่อผลิตชิ้นส่วนให้กับผู้ผลิตเครื่องบินโบอิ้ง และยังกำหนดเป้าหมายให้มีการเชื่อมโยงกับองค์กรจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและเวียดนามเข้าด้วยกัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-seeks-to-become-player-in-aerospace-supply-chains/270906.vnp

“ตลาดการบินเวียดนาม” ส่งสัญญาฟื้นตัวเต็มที่ในสิ้นปี 2566

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เปิดเผยว่าตลาดการบินเวียดนามมีแนวโน้มที่จะกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่ภายในสิ้นปีนี้ และในปี 2566 อุตสาหกรรมการบินคาดว่าจะขนส่งผู้โดยสารประมาณ 80 ล้านคน และขนส่งสินค้า 1.44 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 45.4% และ 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่าอุตฯ การบินเวียดนามยังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ อาทิเช่น โครงสร้างพื้นฐานการบิน ราคาเชื้อเพลิง การขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน เป็นต้น ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสำนักงานการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) ระบุว่าในเดือน ม.ค. สนามบินในประเทศให้บริการผู้โดยสาร 9.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.8% จากเดือนก่อน และรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ 2.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 10%

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-aviation-market-predicted-to-fully-recover-by-year-end-post1000559.vov

อุตฯ การบินเวียดนาม ขาดทุนกว่า 649 ล้านเหรียญสหรัฐ

การบินเวียดนามอาจประสบปัญหาขาดทุนมากกว่า 15 ล้านล้านดอง (649 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีนี้ เนื่องจากการระงับเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศที่คงมีผลบังคับใช้ สมาคมธุรกิจการบินเวียดนาม ระบุว่าได้ยื่นรายงานไปยังกระทรวงวางแผนและการลงทุนไปแล้ว เกี่ยวกับสายการบินในประเทศเผชิญการขาดทุนกว่า 18 ล้านล้านดองในปีที่แล้ว รายได้ลดลง 100 ล้านล้านดองเมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ สายการบินในประเทศ มีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศเพียง 66,600 คน หดตัว 98.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี อีกทั้ง อุตสาหกรรมการบินเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในปี 2563 จำนวนผู้โดยสารทางอากาศ หดตัว 43% เป็น 66 ล้านคน ในขณะที่ การขนส่งทางอากาศ หดตัว 15% มาอยู่ที่ 1.3 ล้านตัน โดยคนวงในอุตสาหกรรมการบิน เผยว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยจนถึงปี 2566 เพื่อให้อุตสาหกรรมการบินกลับมาฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดการระบาด

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/aviation-industry-to-suffer-649-mln-loss-4252693.html

ตลาดในประเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญของอุตฯการบินเวียดนาม ปี 64

เวียดนามควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ความต้องการเดินทางทางอากาศในประเทศเพิ่มสูงขึ้นในปี 2564 ซึ่งจำนวนผู้โดยสานทางอากาศสามารถกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ที่ 73 ล้านคนในปีนี้ เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ของเวียดนามอย่าง SSI Securities Corp. คาดการณ์ว่าตลาดในประเทศยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญของอุตสาหกรรมการบินเวียดนาม จนกว่าจะสิ้นสุดครึ่งแรกของปี 2564 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงไปทั่วโลกนั้น ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลเวียดนามต้องปิดพรมแดนจนถึงครึ่งหลังของปีนี้ อีกทั้ง ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 จะเป็นปัจจัยชี้ขาดในการปลดล็อกข้อจำกัดในการเดินทางในปัจจุบันและกลับมาเปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/domestic-market-to-remain-priority-for-vietnam-aviation-industry-in-2021-316061.html

สายการบินในกัมพูชากำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก

สายการบินในกัมพูชากำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากหลังจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยเรียกร้องการสนับสนุนจากรัฐบาลในการช่วยฟื้นตัวจากผลกระทบข้างต้น ซึ่งรายรับของสายการบินลดลงถึงร้อยละ 80 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี ตามข้อมูลของ IATA แต่ยังคงมีค่าใช้จ่ายที่ยังจำเป็นต้องจ่ายให้ครอบคลุม เช่น ลูกเรือ การบำรุงรักษา น้ำมันเชื้อเพลิง ภาษีสนามบิน และที่เก็บเครื่องบินอีกจำนวนมาก โดยจนถึงปัจจุบัน IATA ประเมินว่ารัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือเงินกู้และการลดหย่อนภาษีเป็นจำนวนเงินกว่า 160,000 ล้านดอลลาร์เพื่อให้สายการบินสามารถพยุงธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50774468/airlines-face-tough-festive-season-as-hoped-for-pick-up-fails-to-materialise/

อุตสาหกรรมการบินในกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19

กัมพูชารายงานถึงจำนวนเที่ยวบินที่อาจจะลดลงกว่า 40% จากการระบาดของ COVID-19 โดยรวมแล้วจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศไปและกลับจากสนามบินสามแห่งของกัมพูชาในเดือนมีนาคมคาดว่าจะลดลงประมาณ 40% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมปีที่แล้วนับตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเปิดเผยว่าในเดือนมีนาคมมีเพียง 2,575 เที่ยวบินที่ลงจอดที่สนามบินทั้งสามแห่ง ถือเป็นการลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2019 ที่มีเที่ยวบินทั้งสิ้น 4,241 เที่ยวบินระหว่างประเทศที่เดือนทางมายังกัมพูชา โดยสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ได้ปรับปรุงการวิเคราะห์ผลกระทบของ COVID-19 ต่อรายได้ในอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศทั่วโลก ซึ่งตอนนี้ประมาณการรายได้ผู้โดยสารอาจจะลดลงถึง 2.52 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 44% เมื่อเทียบกับปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50706043/cambodias-aviation-sector-hard-hit-by-coronavirus-pandemic/

ภาคการบินในกัมพูชาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ

สนามบินหลักในกัมพูชาเรียกร้องให้มีแผนช่วยเหลืออุตสาหกรรมการบินที่กำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 โดยส่งผลกระทบทำให้จำนวนเที่ยวในประเทศลดลงอย่างเนื่อง ทำให้รายได้ชะลอตัวลงเป็นอย่างมาก ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวแสดงให้เห็นว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนกัมพูชาลดลงเหลือร้อยละ 30 ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงต่อการระบาดของไวรัส โดยคิดเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 360,000 คน จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ที่ 1.2 ล้านคน โดยจากรายงานล่าสุดของเขมรไทมส์โฆษกหญิงของสายการบินกัมพูชาได้เปิดเผยว่า บริษัท ได้ลดเที่ยวบินลงกว่า 40% ทั่วเอเชียเนื่องจากความกังวลของการแพร่เชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 รวมถึงรัฐบาลกัมพูชายังได้สั่งห้ามชาวต่างชาติ 6 ประเทศ เดินทางเข้าประเทศชั่วคราว คือ สหรัฐอเมริกา, เยอรมนี, อิตาลี, ฝรั่งเศส, สเปนและอิหร่านเข้ามาในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50703133/aviation-sector-calls-for-government-aid/