จำนวนนักเรียนในระดับมัธยมปลายของ สปป.ลาว ลดลงต่อเนื่อง จากปัญหาเศรษฐกิจ

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว เผยจำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างเกรด 4 และเกรด 7 ทั่วประเทศลาวลดลงเป็นปีที่สามติดต่อกัน สะท้อนจากจำนวนนักเรียนที่ทำการสอบเข้าระดับมัธยมปลายมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนเป็นพิเศษในปีการศึกษานี้ โดยจำนวนนักเรียนชั้นเกรด 4 ที่เข้าสอบมีเพียง 68,850 คน ซึ่งลดลงจาก 76,322 คนในปีที่แล้ว และ 83,544 คนในปี 2565 ส่วนจำนวนนักเรียนชั้นเกรด 7 ที่เข้าสอบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เหลือเพียง 46,744 คน จาก 50,276 คนในปีที่แล้ว และ 55,828 คนในปี 2565 ปัจจัยหลักเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ เช่น ค่าจ้างที่ต่ำ และอัตราเงินเฟ้อมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่ออัตราการออกกลางคันของนักเรียน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/06/05/decline-in-secondary-school-enrollments-continues-for-third-consecutive-year/

สถิติการลาออกจากโรงเรียนของเด็กในแขวงบ่อแก้วมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ

มีเด็กมากกว่า 5,000 คนในแขวงบ่อแก้ว ลาออกจากโรงเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ในช่วงปีการศึกษา 2566-2567 ตามรายงานของกรมการศึกษาและการกีฬาประจำแขวงบ่อแก้ว โดยระบุว่าอัตราการลาออกจากโรงเรียนกลางคันที่น่าตกใจนี้ เกิดจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงระยะห่างของโรงเรียนจากบ้านเด็ก การไม่มีหอพักนักเรียน ปัญหาทางการเงินที่หลายครอบครัวต้องเผชิญ ส่งผลให้เด็กๆ ต้องหางานทำ และความเชื่อที่ว่าการศึกษาต่อไม่มีคุณค่า ซึ่งได้ขัดขวางไม่ให้เด็กจำนวนมากก้าวเข้าสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงศึกษาของลาวระบุว่า ในปี 2566 มีเด็ก 2,772 คน ยุติการศึกษาก่อนกำหนดในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย และในปี 2567 มีเด็กที่ต้องลาออกจากโรงเรียนกลางคันอีก 3,009 คน รวมเป็นเด็ก 5,781 คน นอกจากนี้ การขาดแคลนครูก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในเขตเมืองและชนบทของประเทศ ส่งผลให้สมาชิกรัฐสภาจำนวนมากเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อรับมือความท้าทายเหล่านี้

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/02/20/bokeo-province-sheds-lights-on-student-drop-out-trend/

คนรุ่นใหม่ใน สปป.ลาว ให้ความสนใจภาษาจีนเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงาน

คนรุ่นใหม่ใน สปป.ลาว ให้ความสนใจในการเรียนรู้ภาษาจีนเพิ่มมากขึ้น โดยตระหนักโอกาสในการทำงานในอนาคต ท่ามกลางการหลั่งไหลเข้ามาของนักลงทุนชาวจีนจำนวนมาก ในปีการศึกษา 2566-2567 การลงทะเบียนเรียนที่สถาบันขงจื้อ ซึ่งเป็นสถาบันภาษาจีนที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากข้อมูลเผยให้เห็นว่าจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าในเวลาเพียง 2 ปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 193 คน ในปี 2564 เป็น 562 คน ในปี 2566 นอกจากนี้ นักศึกษาลาวเริ่มลงทะเบียนสอบเข้ามหาวิทยาลัยแห่งชาติ โดยสาขาวิชาภาษาจีนกลายเป็นวิชาที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด โดยมีนักศึกษาลงทะเบียนมากกว่า 2,000 คน นี่เป็นจำนวนที่สูงที่สุดในบรรดาวิชาทั้งหมดสำหรับปีการศึกษานี้ ซึ่งส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงความสนใจทางวิชาการในหมู่เยาวชนของ สปป.ลาว

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/02/08/rising-interest-in-chinese-language-reflects-future-job-prospects-for-lao-youth/

ADB อนุมัติเงินกู้ 70 ล้านดอลลาร์ สนับสนุนกัมพูชาพัฒนาภาคการศึกษา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินกู้มูลค่า 70 ล้านดอลลาร์ ให้แก่กัมพูชาเพื่อสนับสนุนภาครัฐบาลในการปฏิรูปโครงสร้างด้านการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้งทางด้านเทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ทั่วประเทศ หวังพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตให้แก่กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขา STEM เนื่องจากประเทศมีความต้องการที่จะเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน ให้เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งโครงการนี้จะเน้นไปที่การปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเครือข่าย 14 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยทั่วไป 103 แห่ง ด้วยการเสริมห้องเรียน 3 ห้อง ให้กับแต่ละโรงเรียน ประกอบไปด้วยห้องเรียนวิทยาศาสตร์ 2 ห้อง และห้องสมุดพร้อมอุปกรณ์ สื่อการสอน หนังสือ อุปกรณ์ตกแต่ง และเทคโนโลยีการศึกษาที่จำเป็น เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501181091/adb-approves-70-mln-loan-to-cambodia-for-education-reforms/

ตลาดเรียนออนไลน์เวียดนามโต 3 พันล้านดอลล์

เว็บไซต์นิกเคอิ เอเชีย รายงานว่า ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ในเวียดนาม แถมเป็นการแพร่ระบาดในอัตราที่รวดเร็วขึ้น แต่กลับทำความต้องการเรียนหนังสือทางออนไลน์กับสถาบันการศึกษาชื่อดังเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้มูลค่าทางการตลาดของตลาดเทคโนโลยีด้านการศึกษาทะยานถึง 3,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 2,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2562
ทั้งนี้ ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดเทคโนโลยีด้านการศึกษาของเวียดนามคือ “เอฟพีที” ผู้ให้บริการด้านไอทีในเวียดนาม โดยใช้เทคโนโลยี AI ในการส่งประสบกาณณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับจุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียนแต่ละคน
นอกจากนี้ ภายใต้แรงกดดันต้องมีการศึกษาที่ดีขึ้น แรงงานในเวียดนามจะได้รับการสนับสนุนให้ติดอาวุธทางปัญญารวมทั้งฝึกอบรมให้มีทักษะด้านดิจิทัล โดยเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามประกาศเป้าหมายเพื่อทำให้การศึกษาทางออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็น 90% สำหรับการเรียนระดับมหาวิทยาลัย และ 80% สำหรับการเรียนระดับมัธยม และการอบรมวิชาชีพ ภายในปี 2573
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/world/978384

สหภาพยุโรปให้คำมั่นสัญญา 42.9 ล้านยูโรเพื่อจัดการกับผลกระทบของ Covid-19 ต่อการศึกษาและโภชนาการ

สหภาพยุโรป (EU) จะให้เงิน 42.9 ล้านยูโรแก่สปป.ลาว เพื่อจัดการกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่มีต่อการศึกษาและโภชนาการ เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป เข้าเยี่ยมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Mr Bounchom Oubonpaseuth เพื่อแจ้งให้เขาทราบถึงผลในเชิงบวกของการประเมินโครงการสนับสนุนงบประมาณการศึกษาและโภชนาการของสหภาพยุโรป เงินทุนดังกล่าวจะจัดสรรเงิน 26.4 ล้านยูโร (318 พันล้านกีบ) สำหรับโครงการสนับสนุนงบประมาณการศึกษาและ 16.4 ล้านยูโร (197 พันล้านกีบ) สำหรับการสนับสนุนงบประมาณด้านโภชนาการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านโภชนาการแห่งชาติ สปป. ลาว” การสนับสนุนนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการขาดดุลงบประมาณหรือภาระผูกพันทางการเงินแต่เป็นการช่วยให้รัฐบาลรับมือกับวิกฤตโควิด-19 และความต้องการของนักเรียนและประชากรที่อ่อนแอของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EU142.php

แผนพัฒนาใหม่ของรัฐบาลสปป.ลาว มุ่งเป้าไปที่การปรับปรุงด้านการศึกษา

รัฐบาลสปป.ลาวได้ประกาศโครงการการศึกษาที่สำคัญและมีลำดับความสำคัญอย่างน้อย 20 โครงการภายใต้ร่างใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปีตั้งแต่ปี 64-68 ซึ่งมี 4 โครงการที่จะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลและโครงการก่อสร้างหอพักสำหรับนักเรียน มัธยมศึกษา การสร้างห้องปฏิบัติการ การปรับปรุงและการก่อสร้างโรงเรียนและมาตรฐานด้านสุขอนามัยในโรงเรียนที่ดีขึ้น โครงการอื่น ๆ อีก 12 โครงการจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินผ่านความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) นายกรัฐมนตรีได้นำเสนอร่างแผนดังกล่าวซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ได้สรุปเป้าหมายหลัก 6 ประการภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมปี 64-68 รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคการศึกษา เป้าหมายแรกคือรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน 2.การฝึกอบรมจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าบุคลากรมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น 3.ต้องปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน 4.ด้านสิ่งแวดล้อมโดยลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ 5.เสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานและใช้ประโยชน์จากศักยภาพโอกาสและสถานที่เชิงกลยุทธ์ของประเทศ และ 6.การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเพื่อให้ความเสมอภาคความยุติธรรมและความสงบ มีอยู่ในสังคมและประชาชนได้รับความคุ้มครองผ่านการบังคับใช้กฎหมาย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_new_12.php

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา รับรองแผนพัฒนาภาคการศึกษาและการกีฬา (ESSDP)

Mrs.Sengdeuane Lachanthaboun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ได้ให้การรับรองแผนพัฒนาภาคการศึกษาและการกีฬา (ESSDP) พ.ศ. 2564-2568 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสนับสนุนให้ประชาชนสปป.ลาวมีการศึกษาที่ดีขึ้นนอกจากนี้แผนยังครอบคลุมถึงการจัดการโครงสร้างทรัพยากรอย่างเหมาะสม ซึ่งแผนพัฒนาESSDP จะมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน 5 ปี โดยกระทรวงจะมุ่งเน้นไปที่ความรับผิดชอบและโครงการพัฒนาที่เฉพาะเจาะจงเช่น การศึกษานอกระบบการศึกษาปฐมวัย รวมถึงโครงการพัฒนาอาชีวศึกษา  Mrs.Sengdeuane Lachanthaboun กล่าวเพิ่มเติมว่า      “สิ่งสำคัญในการจะบรรลุเป้าหมายของแผนดังกล่าวได้ คือการประสานระหว่างหน่วยงานทั้งในและนอกประเทศที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้แก่สปป.ลาว รวมถึงการติดตามรายงานผลอย่างต่อเนื่องเพื่อกำหนดทิศทางของกลยุทธ์และแนวทางนโยบายต่างๆต่อไป”

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Education150.php

สปป.ลาวได้รับเงินทุนเพื่อบรรเทาด้านการศึกษาจากผลกระทบ COVID-19

Global Partnership for Education กำลังจัดสรรเงินช่วยเหลือจำนวน 7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผ่านทาง UNICEF เพื่อช่วยตอบสนองและบรรเทาผลกระทบด้านการศึกษาและสังคมในสปป.ลาวจากการระบาดของ COVID-19 UNICEF สปป.ลาวได้ลงนามข้อตกลงการให้ทุนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เงินทุนดังกล่าวที่ได้จากการระดมทุนจากหลายๆองค์กรระดับโลก จะนำมาดำเนิน กิจกรรมภายใต้การนำของกระทรวงศึกษาธิการและกีฬาโดย UNICEF จะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับภาคีการพัฒนาต่างๆผ่านกลไกของคณะทำงานภาคการศึกษารวมถึงสนับสนุนกิจกรรมต่างๆที่พัฒนาศักยภาพด้านสาธารณสุขของสปป.ลาว Dr.Phouth ตัวแทน UNICEF กล่าวเพิ่มเติมว่า“ เราทุกคนต้องมั่นใจว่าภาคการศึกษาจะกลับมาฟื้นตัวได้ดีอีกครั้งและจะมีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการทำให้ประชาชนสปป.ลาวมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นโครงการที่จะช่วยสนับสนุนพัฒนาการของทุนมนุษย์”

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos157.php

รัฐบาลเกาหลีใต้ให้สนับสนุนเงิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับพัฒนาด้านการศึกษาของสปป.ลาว

รัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีใต้ให้เงินสนับสนุนมากกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่สปป.ลาวผ่านโครงการหลักสูตรปริญญาโทปี 2563 โดยทุนการศึกษาดังกล่าวเป็นทุนสำหรับศึกษาหลักสูตรปริญญาโทประกอบด้วยค่าเล่าเรียนค่าครองชีพ ทุนการวิจัยและอื่น ๆ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนักศึกษาสปป.ลาวและพัฒนาเจ้าหน้าที่ทั่วประเทศเพื่อขอรับทุนการศึกษาในการพัฒนาความรู้และความสามารถเพื่อสร้างทุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของสปป.ลาว นายชินซองซุนเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีใต้ย้ำว่าการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นหนึ่งในประเด็นเร่งด่วนที่สุดของสปป.ลาวและเป็นคุณลักษณะสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จของเกาหลีใต้ และยังกล่าวเสริมอีกว่า “การพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์มากกว่าคุณภาพของเศรษฐกิจเชิงวัตถุและนี่คือสิ่งที่การศึกษาให้ความสำคัญ” รัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลีใต้และสปป.ลาวหวังว่าทุนการศึกษาจะสร้างผู้นำในอนาคตและทำให้ทั้งสองประเทศใกล้ชิดยิ่งขึ้นโดยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประชาชนกับประชาชนอย่างแข็งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนและความเจริญรุ่งเรืองร่วม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Korea150.php