สปป.ลาวเพิ่มพื้นที่ผลิตผลทางการเกษตรตามแนวรถไฟจีน-ลาว

รัฐบาลสปป.ลาวได้วางแผนที่จะเร่งการจัดสรรพื้นที่การผลิตทางการเกษตรทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่สำคัญในจังหวัดตามแนวทางรถไฟและทางด่วนจีน-ลาว และจังหวัดที่มีศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้ ตามรายงานของสำนักข่าวลาวเมื่อวันศุกร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ เพชร พรมพิภักดิ์ กล่าวว่า “กระทรวงของเขาได้กำหนดมาตรการพัฒนาการเกษตรที่มุ่งเน้นในปี 2565 มาตรการดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สอดคล้องกับระบบนิเวศของพืชผลและสัตว์ ซึ่งจะทำการเกษตรเพื่อการค้าและการส่งออก และเพื่อดึงดูดการลงทุนในประเทศและต่างประเทศด้วยการกำหนดนโยบายที่เอื้ออำนวยและสร้างสภาพแวดล้อมในการลงทุนที่เอื้ออำนวย” แผนดังกล่าวจะเน้นไปที่การส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปโดยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิต เช่น โรงสีข้าว โรงเลื่อย เครื่องอบแห้ง โรงงานปุ๋ยหมัก โรงฆ่าสัตว์ และสถานีขนถ่ายสินค้าที่สถานีรถไฟ และใช้เทคนิคการผลิตที่ทันสมัยเพื่อลดต้นทุน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50971550/laos-to-increase-agricultural-production-areas-along-china-laos-railway/

กัมพูชาร้องของการสนับสนุนภาคการเกษตรจากธนาคารโลก

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงได้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารโลก ในการพัฒนาภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิตพืชผักและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งรัฐมนตรี Veng Sakhon ได้ร้องขอในที่ประชุมกับ Maryam Salim ผู้อำนวยการธนาคารโลก ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ประจำประเทศกัมพูชา โดยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ ขอให้ธนาคารโลกพิจารณาช่วยเหลือการพัฒนาภาคการเกษตรในกัมพูชา ในด้านการสนับสนุนในห่วงโซ่การผลิตผัก ความทันสมัย ​​และการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยการเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพและความปลอดภัย และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่การผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50936038/cambodia-seeking-world-bank-support-for-agriculture/

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาหารือญี่ปุ่นส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กัมพูชาและญี่ปุ่นได้ร่วมประชุมระหว่างกันเพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในกัมพูชา โดยอธิบดีกระทรวงการท่องเที่ยวด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวและความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้จัดการประชุมทางวิดีโอกับ Naoya Okada ผู้แทนจากสถานทูตญี่ปุ่น และ Katsuhito Nabeshima ผู้ก่อตั้งบริษัท Yamato Green Co. Ltd. ซึ่ง Yamato Green ถือเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในกรุงพนมเปญ ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการเกษตรในกัมพูชา ยกระดับคุณภาพอาหารและความปลอดภัย รวมถึงส่งเสริมผลิตผลในท้องถิ่นในต่างประเทศ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและ Yamato Green ตกลงที่จะร่วมพัฒนาภาคการท่องเที่ยว ให้เกิดความหลากหลาย ในด้านของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวตามธรรมชาติ การท่องเที่ยวชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งกระทรวงกำลังเตรียมโครงการนำร่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในจังหวัดกำปงธม และโครงการปลูกพืชไร่ปลอดสารพิษ โดยภาคการท่องเที่ยวมีสัดส่วนเกือบร้อยละ 23 ของ GDP ซึ่งรัฐบาลกล่าวว่าภาคส่วนนี้จะเพิ่มอีกร้อยละ 1.6 ในปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50916487/tourism-chief-holds-talks-with-japan-on-boost-to-agri-tourism/

ธุรกิจออสเตรเลีย เล็งลงทุนการเกษตรในเวียดนาม

ธุรกิจท้องถิ่นในรัฐนิวเซาท์เวลส์ของประเทศออสเตรเลีย ได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมเทคโนโลยีการเกษตร ตลอดจนธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในเวียดนาม เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เป็นที่น่าจับตามองสำหรับบริษัทต่างๆ ทั้งนี้ Karla Lampe ผู้อำนวยการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและส่งเสริมการตลาด กล่าวที่ประชุมออนไลน์ ประเด็นสำรวจโอกาสทางธุรกิจในเวียดนาม พบว่าเวียดนามมีข้อได้เปรียบของประชากรและการยกระดับของผู้ที่มีรายได้ปานกลาง ได้สร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับกิจการออสเตรเลียมากขึ้น อีกทั้ง เวียดนามยังเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 9 ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ โดยธุรกิจในรัฐนิวเซาท์เวลส์ให้ความสำคัญกับการเกษตร อาหารและเครื่องดื่มเป็นลำดับสูงสุดสำหรับการลงทุนในเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/australian-businesses-interested-in-agritech-in-vietnam/203572.vnp

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาลงนาม MoU ในการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจการเกษตร

กระทรวงพาณิชย์ และ บริษัท Yamato Green ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการผลิตผักปลอดสารพิษจากญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการร่วมพัฒนาภาคการเกษตรเมื่อวานนี้เพื่อพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสำหรับการผลิตสินค้าภาคธุรกิจเกษตรในกัมพูชา โดยเชื่อว่าการลงนามฉบับนี้จะสร้างความร่วมมือที่ดีในการรับมือกับความท้าทายในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเสริมสร้างผลผลิตให้มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ทั้งเชื่อว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงชุมชนเกษตรกรจะสามารถสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในด้านการเจาะตลาดและกระจายตลาดไปยังต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50801454/commerce-ministry-signs-agri-business-value-chain-development-mou/

โครงการด้านการเกษตรสร้างการจ้างงานที่มั่นคงในกัมพูชา

บริษัท THADI ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง Thaco Group และ Hoang Anh Gia Lai Group โดยบริษัท THADI ได้เปิดตัวโครงการมากมายในภาคการเกษตร ซึ่งได้ดำเนินโครงการปลูกไม้ผลในพื้นที่ 2 จังหวัดคือกระแจะบนพื้นที่ประมาณ 10,000 เฮกตาร์ และบนพื้นที่ในจังหวัดรัตนคีรีอีกประมาร 26,000 เฮกตาร์ โดยสร้างการจ้างงานมากกว่า 500 คน สำหรับคนเวียดนามกับกัมพูชา และชาวกัมพูชาอีกหลายพันคนในพื้นที่โดยรอบในโครงการเกษตรกรรมข้างต้น ซึ่งเงินเดือนของแรงงานจะอยู่ที่ประมาณ 250-350 ดอลลาร์ต่อเดือน โดยปัจจุบัน THADI มีพนักงานมากกว่า 13,000 คน ซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาอีกกว่า 1,000 คน ทั้งจากฟิลิปปินส์ จีน และไทยโดยมีแผนจะรับสมัครคนงานกว่าอีกกว่า 8,000 คน ในปีนี้เพื่อสอดรับกับกลยุทธ์ทางด้านเกษตรกรรมที่ยั่งยืนในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50774797/agricultural-projects-creating-stable-employment-in-cambodia/

เกษตรกรเมียนมาได้รับการเยียวยาจากการเวนคืนที่ดิน

กรมจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเมียนมายืนยันเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 63 ที่ผ่านมาโดยจะมีการจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจำนวน 2 พันล้านจัต โดยจะชดเชยให้แก่เกษตรกรที่สูญเสียที่ดิจากการเวนคืนที่ดินของรัฐบาลที่นำไปสร้างถนนและทางรถไฟ  ภายใต้กฎหมายกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการระดับชาติคาดว่าจะจัดสรรจำนวนเงินเป็นค่าตอบแทนแก่เกษตรกรล่วงหน้าพร้อมจะขอคำยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-farmers-receive-land-compensation.html

ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อการทำการเกษตรของกัมพูชา

ในปี 2020 ภาคการเกษตรยังคงมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของกัมพูชาโดยคิดเป็นร้อยละ 22 ของ GDP สร้างการจ้างงานถึง 1 ใน 3 ของภายในประเทศกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเกิดโรคระบาดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคการเกษตรก็มีการชะลอตัวและหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 15 ปี ในปี 2019 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภัยแล้งที่ยืดเยื้อตั้งแต่ในปี 2013 ซึ่งมีเกษตรกรชาวกัมพูชาจำนวนมากเคลื่อนย้ายไปต่างประเทศเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้โน้มน้าวให้ภาคการเกษตรถือเป็นภาคสำคัญทางเศรษฐกิจที่จะเผชิญกับแรงกดดันจากการแพร่ระบาด ซึ่งในแง่ของผลิตภัณฑ์ข้าวถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด โดยมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของ GDP ในภาคการเกษตร ซึ่งผลกระทบของ COVID-19 ต่อผลผลิตทางการเกษตรในห่วงโซ่คุณค่าและความมั่นคงเป็นสิ่งสำคัญ โดยจากผลการวิจัยสรุปได้ว่ารายได้จากการทำฟาร์มลดลงอย่างมีนัยสำคัญกว่าร้อยละ 30 จาก 283 ดอลลาร์ ในเดือนมกราคมสู่ 195 ดอลลาร์ ภายในเดือนเมษายน ซึ่งหากแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไปจะส่งผลกระทบเชิงลบต่ออุตสาหกรรมการเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50764323/the-effects-of-covid-19-on-farming/

กัมพูชาส่งออกผลิตผลทางการเกษตรมากกว่า 3 ล้านตัน

สินค้าเกษตรของกัมพูชามากกว่า 3 ล้านตัน ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ณ วันที่ 11 กันยายน ตามรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง โดยรายงานระบุเพิ่มเติมว่ากัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกรวม 463,805 ตัน ซึ่งจำนวน 164,962 ตัน ถูกส่งออกไปยังจีน 154,287 ตัน ไปยังสหภาพยุโรป 61,700 ตัน ไปยังกลุ่มประเทศในอาเซียนและตลาดอื่นๆ ที่ 83,127 ตัน นอกจากข้าวสารแล้วกัมพูชายังส่งออกมันเส้น 1.18 ล้านตัน มันสำปะหลังสด 512,350 ตัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 202,207 ตัน ข้าวโพด 193,660 ตัน กล้วยสด 213,486 ตัน มะม่วง 51,670 ตัน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกหลายรายการ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน สหภาพยุโรป อาเซียน ฮ่องกง ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารในประเทศเพื่อลดการนำเข้าอาหารในช่วงของการระบาดใหญ่ร่วมด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50764124/cambodia-has-exported-more-than-3-million-tonnes-of-agricultural-produce/

อัตราการเติบโตทางการเกษตรสปป.ลาว ต่ำกว่าเป้าหมาย

ตามรายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ ในปีนี้ภาคการเกษตรสปป.ลาว คาดว่าจะเติบโตในอัตราเพียง 0.9-1.7 % ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2.8-3 % การขาดแคลนเกิดจากปัจจัยต่างๆรวมทั้งการระบาดของโรคโควิด -19 การระบาดของโรคและภัยธรรมชาติซึ่งส่งผลให้ผลผลิตลดลง ตามรายงานของธนาคารโลก ภาคการเกษตรฟื้นตัวขึ้น แต่ในระดับปานกลางทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการหยุดชะงักของตลาดส่งออกและความเสี่ยงของสภาพอากาศ แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามเพิ่มการผลิตอาหารเพื่อการบริโภคในประเทศและการส่งออกมากขึ้น แต่ปริมาณผลผลิตก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ สินค้าเกษตรบางส่วนยังคงถูกนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศ มีความท้าทายหลายประการที่ขัดขวางการพัฒนาการเกษตร ที่ทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่การผลิตทางการเกษตรได้ สิ่งที่ทำได้คือใช้เทคนิคที่เหมาะสมและปรับปรุงการผลิตให้ทันสมัยเพื่อปรับปรุงปริมาณและคุณภาพของพืชที่ผลิตเพื่อการส่งออก แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามช่วยเหลือผู้ผลิตในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน แต่ผู้ปลูกยังคงต้องเจอกับต้นทุนที่สูงเนื่องจากต้องซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์และปุ๋ยจากประเทศอื่น ๆ ซึ่ง 64% ของประชากรสปป.ลาวทำงานในภาคเกษตร แต่ภาคนี้เติบโตขึ้นเพียง 3%  แม้ว่าการเข้าถึงแหล่งเงินจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ผู้ผลิตก็ต้องรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงมาก การเกษตรเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงเนื่องจากผู้ผลิตไม่เพียง แต่ต้องต่อสู้กับศัตรูพืชและโรคภัย รวมถึงน้ำท่วมและภัยแล้ง การชลประทานที่มีต้นทุนสูง อีกทั้งยังคงพึ่งพาการเกษตรแบบยังชีพตามวิธีการดั้งเดิม แต่ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและมีคุณภาพต่ำ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Agriculture_175.php