ราคาน้ำตาลในเมียนมาพุ่งสูงขึ้น คาดว่าจะแตะระดับสูงสุดใหม่

ตามรายงานของผู้ค้าน้ำตาล ระบุว่าในวันที่ 14 และ 16 มีนาคม ราคาน้ำตาลในตลาดย่างกุ้งเพิ่มขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยมีรายงานการพุ่งขึ้นอย่างมากเมื่อวันที่ 16 มีนาคม โดยแตะระดับ 4,550 จ๊าดต่อviss ซึ่งอัตราการขายส่งรายวันในตลาดย่างกุ้งในวันที่ 16 มีนาคมจะอยู่ที่ 4,340 จ๊าดต่อviss แต่ก็เพิ่มขึ้นเป็น 4,550 จ๊าดต่อviss ในช่วงเย็น แม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดี วิถีราคาน้ำตาลแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ปัจจัยด้านต้นทุนการขนส่งจากมัณฑะเลย์ไปย่างกุ้งก็ทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน โดยในย่างกุ้ง ราคาน้ำตาลเพิ่มขึ้นจาก 3,930 จ๊าดต่อviss ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เป็น 4,400 จ๊าดต่อviss ในช่วงกลางเดือนมีนาคม ซึ่งการคาดการณ์บ่งชี้ว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในช่วงปลายเดือนมีนาคม ก่อนถึงเทศกาลติงยาน นอกจากนี้ มีรายงานเพิ่มเติมว่าถึงแม้ราคาขายปลีกน้ำตาลจะสูงขึ้นแต่ราคาน้ำตาลทรายขาวในซุปเปอร์มาร์เก็ตยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยคาดว่าราคาขายปลีกน้ำตาลจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป โดยอาจถึง 5,000 จ๊าดต่อviss ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งจะเทียบเท่ากับราคาน้ำตาลโตนด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-prices-surge-expected-to-reach-new-highs/

เมียนมาร์ให้ความสำคัญกับเวียดนามในการส่งออกน้ำตาล

เมียนมาร์หันมาให้ความสำคัญกับเวียดนามในการส่งออกน้ำตาลมากขึ้น เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อน้ำตาลจำนวน 10,000 ตันจากเวียดนาม ตามการระบุของสมาคมที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลและอ้อยของเมียนมาร์ โดยเมียนมาร์วางแผนที่จะส่งออกน้ำตาลไปยังบังกลาเทศ อินโดนีเซีย และต่างประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากการบริโภคในประเทศ ในขณะที่การส่งออกน้ำตาลไปยังเวียดนามจะถูกจัดเตรียมก่อนเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา ทั้งนี้ การดำเนินการบดอ้อยของเมียนมาร์ดำเนินไปอย่างเต็มที่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งมีผลผลิตอ้อยประมาณ 400,000 ตันต่อปี อย่างไรก็ดี น้ำตาลล็อตใหม่จะเริ่มไหลเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ เดือนธันวาคมปีนี้ นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลขึ้นราคาอ้อยเป็น 150,000 จ๊าดต่อตันสำหรับฤดูอ้อยปี 2566-2567 จากอัตราที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ที่ 110,000 จ๊าดต่อตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-to-prioritize-viet-nam-for-sugar-export/#article-title

‘เมียนมา’ เผยราคาอ้อยพุ่งตามความต้องการของตลาดในประเทศ

จากคำประกาศของโรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่ง กล่าวว่าได้เข้าซื้ออ้อย 1 ตันในราคา 120,000 จ๊าตต่อวิสส์ เมื่อวันที่ 3 ต.ค. และยังซื้ออ้อยต่อวัน อยู่ที่ 6,500 ตัน หรือ 7,000 ตัน นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลยังส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกอ้อมมากขึ้น เนื่องจากโรงงานมีแผนที่จะขยายพื้นที่มากกว่า 2 ยูนิต โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตน้ำตาล ด้วยกำลังการผลิต 7,500 ตันต่อวันในปีการเงิน 2567-2568 และเพิ่มกำลังการผลิต 12,000 ตันต่อวันในปีการเงิน 2568-2569 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำตาลในตลาดโลก เดือน ก.ค. อยู่ที่ 650 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ปรับตัวลดลง 700 ดอลลาร์สหรัฐในเดือน มิ.ย.

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugarcane-price-set-to-rise-as-local-demand-surge/#article-title

‘เมียนมา’ เผยราคาน้ำตาลพุ่ง หลังจำหน่ายน้ำตาลสด

จากข้อมูลของตลาดน้ำตาล ระบุว่าราคาน้ำตาลในประเทศพุ่งสูงอีกครั้ง เพียงสองเดือนก่อนที่จะจำหน่ายน้ำตาลชนิดใหม่ออกสู่ตลาด สำนักข่าวท้องถิ่นเมียนมา GNLM เปิดเผยข้อมูลตลาดน้ำตาลในย่างกุ้ง (28 ก.ย.66) พบว่าราคาน้ำตาลขายส่ง อยู่ที่ 3,750 จ๊าตต่อวิสส์ อย่างไรก็ดี ราคาขายส่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 3,800 จ๊าตต่อวิสส์ในวันที่ 29 ก.ย. ทั้งนี้ ผู้ค้าน้ำตาลรายหนึ่งบอกกับสำนักข่าวเมียนมาว่าราคาประมูลน้ำตาลที่ขายให้กับโรงงาน ก่อนที่โรงงานจะเริ่มดำเนินการ ทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-price-peaks-again-two-months-before-release-of-fresh-sugar/#article-title

บังกลาเทศ ยื่นเสนอ 3 โมเดลการค้าแบบนำเข้าน้ำตาลจากเมียนมา

สมาคมผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยของเมียนมา (MSCA) เปิดเผยว่าบังกลาเทศได้ยื่นข้อเสนอให้มีการนำเข้าน้ำตาลจากเมียนมา ภายใต้รูปแบบระหว่างรัฐบาลกับหน่วยงานภาครัฐ (G2G), หน่วยงานรัฐกับภาคธุรกิจ (G2B) และธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ซึ่งผลปรากฎว่าทางสมาคมฯ พร้อมที่จะส่งออกน้ำตาลไปยังบังกลาเทศ เนื่องจากมีสต็อกเพียงพอในปีงบประมาณนี้ นอกจากนี้ ยังมีการยื่นข้อเสนอให้ซื้อข้าวจากเมียนมา เนื่องจากข้าวมีคุณภาพดี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/bangladesh-proposes-three-commercial-models-for-importing-sugar-from-myanmar/#article-title

‘เวียดนาม’ โตทุ่มตลาด เตรียมจ่อเก็บภาษีน้ำตาลจากไทย

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าเป็นครั้งแรกที่กระทรวงฯ ทำการทบทวนการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนน้ำตาลจากไทย โดยได้ออก Decision No. 1989/QD-BCT มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2566 – 15 มิถุนายน 2569 ทั้งนี้ ผลการบังคับจะมีผลต่อบริษัทไทยบางแห่ง ได้แก่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และบริษัทในเครือ 4 แห่ง ตามมาด้วยบริษัท ซีซาร์นิโคว, บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด และบริษัทในเครืออีก 5 แห่ง ด้วยเหตุนี้ จากการพิจารณามาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด พบว่าอากรตอบโต้การทุ่มตลาด เรียกเก็บขั้นต่ำ อยู่ที่ 25.73% และอัตราสูงสุดที่ 32.75% นอกจากนี้ ภาษีต่อต้านการอุดหนุน อยู่ที่ 4.65%

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-to-impose-anti-dumping-duty-on-sugar-imports-from-thailand/

‘เมียนมา’ เผยราคาน้ำตาลพุ่ง 3,400 จ๊าตต่อวิสส์

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) เปิดเผยว่าหลังจากการออกธนบัตรใหม่ 20,000 จ๊าต ที่มีผลต่อความเชื่อเรื่องความเสี่ยงของภาวะเงินเฟ้อ และสต็อกน้ำตาลที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ราคาน้ำตาลพุ่ง 3,400 จ๊าตต่อวิสส์ ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ที่ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น พบว่ามีบริษัทหลายแห่งวางแผนการเพาะปลูก 200,000 จ๊าตต่อเอเคอร์ สำหรับการเพาะปลูกอ้อยใหม่ในปี 2566-2567 นอกจากนี้ อูวินเท (U Win Htay) รองประธานสมาคมผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยของเมียนมา กล่าวว่าการผลิตน้ำตาลของเมียนมา อยู่ที่ประมาณ 450,000 ตันต่อปี และส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีนและเวียดนาม แต่ว่าในปัจจุบันส่งออกไปยังเวียดนามเท่านั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/local-sugar-price-surges-to-k3400-per-viss/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาน้ำตาลพุ่งทะยาน

ราคาน้ำตาลมีทิศทางที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดภายในประเทศ และอยู่ในระดับจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ประมาณ 3,300 จ๊าดต่อ Viss เป็นผลมาจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น อยู่ที่ 680 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ประกอบกับสต๊อกสินค้าในประเทศอยู่ในระดับต่ำและการนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศน้อยลง ทำให้ราคาน้ำตาลสูงขึ้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น สาเหตุมาจากการส่งเสริมผู้ปลูกอ้อย นอกจากนี้ คุณ อูวินเท (U Win Htay) รองประธานสมาคมผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยของเมียนมา กล่าวว่าก่อนหน้านี้ เมียนมาส่งออกน้ำตาลไปยังจีนและเวียดนาม ซึ่งเกินกว่าที่บริโภคไว้ในประเทศ แต่ในปัจจุบันเมียนมาส่งออกเพียงแค่ประเทศเวียดนาม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-price-on-upward-spiral/#article-title

“อุตสาหกรรมน้ำตาลเวียดนาม” มุ่งฟื้นฟูตลาดในประเทศ

จากข้อมูลของ Mercantile Exchange of Vietnam (MXV) เปิดเผยว่าราคาน้ำตาลในตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ (ICE) ของสหรัฐฯ ณ วันที่ 30 พ.ค. อยู่ที่ 559.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน นับว่าเป็นตัวเลขที่อยู่ในระดับสูงหลังจากในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับต้นปีนี้ แม้ว่าเผชิญกับผลผลิตตกต่ำในประเทศ โดยเฉพาะอินเดียที่เป็นซัพพลายเออร์น้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลกที่ทำการส่งออกน้ำตาลได้เพียง 6 ล้านตันในปี 2565-2566 ซึ่งลดลงอย่างมากจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 12 ล้านตันจากครั้งก่อน ทั้งนี้ จากข้อมูลของคุณ Pham Quang Anh จากบริษัท MXV ระบุว่าราคาน้ำตาลคาดว่าจะยังคงสูงต่อไปในอนาคต เนื่องจากข่าวที่แพร่หลายในตลาดถึงเรื่องการขาดแคลนน้ำตาล เหตุการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาลของเวียดนามและบริษัทน้ำตาลในประเทศที่จะกลับมาฟื้นตัว

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-sugar-industry-hopes-to-regain-home-market-2150036.html

ราคาน้ำตาลเคลื่อนไหวผันผวน หนุนราคาอ้อยพุ่งขึ้น 60,000 จัตต่อตัน

ชาวไร่อ้อยจากตำบลที่-กไหย่ง์ อำเภอกะตา  เขตซะไกง์ เผย หลังขึ้นราคาน้ำตาล ราคาอ้อยพุ่งขึ้นเป็น 60,000 จัตต่อตัน จากปีที่แล้วอยู่ที่ 43,000 จัตต่อตัน ในช่วงฤดูหีบอ้อยที่ผ่านมาเก็บเกี่ยวอ้อยได้เพียง 400,000 ตันทั่วประเทศ ลดลง 100,000 ตันเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนต้นทุนการเพาะปลูกต่อเอเคอร์อยู่ที่ประมาณ 600,000-700,000 จัต และหนึ่งเอเคอร์เก็บเกี่ยวอ้อยได้ประมาณ 30 ตัน ปัจจุบันมีการปลูกอ้อยประมาณ 65,850 เอเคอร์ในจังหวัดชเวโบ จังหวัดกั่นบะลู และจังหวัดกะทะ ของเขตซะไกง์ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ราคาอ้อยถูกกำหนดไว้ที่ 40,000 จัตต่อตัน ในปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-price-hike-rally-continues-sugarcane-price-surges-to-over-k60000-per-tonne/