เกาหลีใต้เล็งเจาะตลาดพลังงานไฟฟ้าใน สปป.ลาว

เกาหลีใต้แสดงความสนใจขยายการลงทุนใน สปป.ลาว และแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิคพลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่าย จึงได้จัดงานสำคัญที่มีชื่อว่า “สัมมนาพลังงานไฟฟ้าลาว-เกาหลี” และการประชุมจับคู่ธุรกิจที่มีชื่อว่า การประชุมคณะผู้แทนการค้าอุปกรณ์และอุปกรณ์ไฟฟ้าปี 2024 ที่มีผู้ร่วมจับคู่ธุรกิจระหว่างบริษัทชั้นนำของเกาหลีใต้ 10 แห่ง และบริษัทของ สปป.ลาว 20 แห่ง และร่วมจัดแสดงสินค้าและนวัตกรรม เช่น อุปกรณ์กราวด์แบบกะทัดรัด, รีโคลเซอร์แบบหุ้มฉนวนโพลีเมอร์, สวิตช์บอร์ดแบบปิด, แผงจ่ายไฟ, สวิตช์เกียร์, เบรกเกอร์แบบหล่อ, ระบบจัดการพลังงาน, สวิตช์เกียร์หุ้มฉนวนก๊าซที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, หม้อแปลงเฟสขั้ว และเครื่องปฏิกรณ์แบบซีรีส์ โดยงานนี้จัดขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์หลัก คือ การเร่งความร่วมมือและส่งเสริมความร่วมมือที่มั่นคงในภาคส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว และเกาหลีใต้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_123_S_Korea_eyes_y24.php

สปป.ลาว-สิงคโปร์-กัมพูชา ผนึกกำลังอำนวยความสะดวกการค้าไฟฟ้าข้ามพรมแดน

กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของ สปป.ลาว และกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา ร่วมมือจัดตั้งคณะทำงาน โดยมีหน้าที่กำหนดกรอบการทำงานที่ครอบคลุมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนภายในอาเซียน โดยเริ่มจากความร่วมมือระหว่างทั้งสามประเทศ นอกจากนี้ ยังจะปรับปรุงกระบวนการกำกับดูแลและขั้นตอนการออกใบอนุญาตสำหรับการผลิต การส่งออก และการนำเข้าไฟฟ้าอีกด้วย ซึ่งรวมถึงการลดความซับซ้อนของการสมัครและการอนุญาตให้มีกระบวนการสำรวจใต้ทะเลและการติดตั้งสายไฟใต้ทะเลข้ามพรมแดน ทั้งนี้ คณะทำงานจะสำรวจวิธีการอำนวยความสะดวกในข้อตกลงทางการค้า และส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตและการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า เพื่อให้มั่นใจว่าการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนระหว่างทั้งสามประเทศจะมีความราบรื่น

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/06/04/laos-singapore-cambodia-unite-to-facilitate-cross-border-electricity-trade/

แผนติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 14MW สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา

กระทรวงพลังงานไฟฟ้า (MoEP) ได้ประกาศแผนการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีกำลังการผลิตสูงสุด 14 เมกะวัตต์ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (SEZ) ในเมืองตันลยิน เขตย่างกุ้ง โดยปัจจุบัน โรงงานสามแห่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาได้ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 2 เมกะวัตต์ การศึกษาเพิ่มเติมที่ดำเนินการโดยบริษัทต่างๆ ในเขตดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าระบบพลังงานแสงอาทิตย์มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 14 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ดี บริษัทเมียนมา-ญี่ปุ่น ติละวา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (MJTD) ยืนยันว่าเมื่อติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว พลังงานส่วนเกินจะถูกส่งและแจกจ่ายไปยังโรงงานอื่นๆ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษผ่านสายไฟฟ้าของกระทรวงไฟฟ้ากำลัง ทั้งนี้ Thilawa SEZ ครอบคลุมพื้นที่ 667.275 เฮกตาร์ (ประมาณ 1,650 เอเคอร์) ดึงดูดการลงทุนจากบริษัท 114 แห่งใน 21 ประเทศ ในบรรดาเขตเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินการอยู่ในเมียนมา เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวามีความโดดเด่นและประสบความสำเร็จมากที่สุด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/installation-of-14mw-solar-power-system-planned-for-thilawa-sez/

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้าแห่งสหภาพเมียนมาร์ กลับจากการประชุมกำกับดูแลพลังงานระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 6

ตามคำเชิญของนาย Zhang Jianhua หัวหน้าคณะบริหารพลังงานแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะผู้แทนที่นำโดย U Nyan Tun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้าแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้เดินทางเยือนเซินเจิ้นและคุนหมิงระหว่างวันที่ 15-19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เพื่อเข้าร่วมการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 6 – ด้านกำกับดูแลพลังงานระดับภูมิภาคแปซิฟิก และเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตพลังงานลม จากนั้น รัฐมนตรีสหภาพฯ ได้พบกับนาย Zhang Jianhua หัวหน้าสำนักงานบริหารพลังงานแห่งชาติ (NEA) และหารือเกี่ยวกับการพัฒนาภาคส่วนพลังงานไฟฟ้า ทั้งนี้ยังได้เยี่ยมชมศูนย์นิทรรศการ Shenzhen Huawei Digital Power Edison Exhibition Hall และสถานีชาร์จรถยนต์ EV ที่จัดเก็บพลังงานแสงและการชาร์จ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกริดและยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ พวกเขายังได้เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังงานลมฝูหยวนซี ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง 800 เมกะวัตต์ ซึ่งสร้างโดย State Power Investment Corporation ในมณฑลยูนนาน นอกจากนี้ ในระหว่างการเยือนยังได้พบเพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกำหนดและแผนสำหรับการดำเนินโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ กับบริษัท China Southern Power Grid ซึ่งเป็นบริษัทของรัฐของจีน ร่วมมือกับกระทรวงพลังงานไฟฟ้า และบริษัทด้านพลังงานอื่นๆของจีนอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moep-union-minister-returns-from-6th-asia-pacific-regional-energy-regulatory-forum/

จับตาเวียดนามวิกฤตหนักไฟฟ้าส่อขาดแคลน

“เวียดนาม” ประเทศ “น่าลงทุน” และมีศักยภาพการพัฒนาอันดับต้น ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันนี้…กำลังเผชิญวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนอย่างหนักมาตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และส่อแววยืดเยื้อไปจนถึงฤดูร้อนในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ถึงขั้นต้องประกาศเวียนดับไฟฟ้าทั่วประเทศเพื่อรับมือกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยบางพื้นที่อาจต้องดับไฟฟ้านานกว่า 7 ชั่วโมง ทั้งที่ประเทศเวียดนามมีกำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้งในระบบมากถึง 80,704 เมกะวัตต์ ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 45,434 เมกะวัตต์ สะท้อนถึงปัญหาความมั่นคงระบบไฟฟ้าและคุณภาพไฟฟ้าของเวียดนามที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล

ที่มา : https://www.thaipost.net/hi-light/392968/

โรงไฟฟ้าตองดอวิน แหล่งพลังงานแสงอาทิตย์แห่งที่ 3 ของเมียนมา เสร็จสมบูรณ์แล้ว

บริษัท กรีน เพาเวอร์ เอ็นเนอร์จี จำกัด เผย โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตองดอวิน ใกล้กับเมืองธัญญวาและเมืองมิตธา ในภาคมัณฑะเลย์ ของเมียนมา ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งโรงไฟฟ้านี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 25 เมกะวัตต์ต่อปี ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวน 45,980 แผง และระบบติดตามแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มพลังงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ (PV) จากดวงอาทิตย์ โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้ที่มีแรงดันไฟฟ้าขนาด 132KV จะถูกส่งไปยังโครงข่ายสายส่งแห่งชาติ (National Grid) ผ่านระบบจ่ายไฟฟ้าแบบยกสูงขนาด 33 kV ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตองดอวินเป็นหนึ่งในโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 29 โครงการ และเป็นโรงไฟฟ้าแห่งที่ 3 ที่สร้างแล้วเสร็จของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/taungdawgwin-solar-power-project-completed/#article-title

‘เวียดนาม’ นำเข้าถ่านหินจากออสเตรเลีย หวั่นขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า

เวียดนามต้องการนำเข้าถ่านหินจากออสเตรเลีย ประมาณ 5 ล้านตัน สาเหตุมาจากปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรในประเทศ ทำให้โรงงานไฟฟ้าต้องลดการผลิตลง นาง Robyn Mudie เอกอัครรชทูตออสเตรเลียประจำเวียดนาม และนาย Nguyen Hong Dien รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม หารือในประเด็นความช่วยเหลือในการเชื่อมโยงบริษัทเวียดนามและคู่ค้าอย่างออสเตรเลีย เพื่อที่จะนำเข้าถ่ายหินในเดือนนี้ ทั้งนี้ การไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) เปิดเผยว่าในสัปดาห์นี้ โรงงานพลังงานหลายแห่งในภาคเหนือและภาคกลาง ต้องลดกำลังการผลิตลง 60-70% เนื่องจากขาดแคลนถ่านหิน อีกทั้ง ภายในปี 2568 เวียดนามจำเป็นต้องมีพลังงานหมุนเวียดนามอีก 5,500 เมกะวัตต์ เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/economy/vietnam-to-import-coal-from-australia-amid-power-shortage-fears-4446631.html

 

NA เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต้นทุนพลังงานไฟฟ้า

รัฐบาลสปป.ลาวถูกเรียกร้องให้แก้ไขข้อเท็จจริงที่ว่าการซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการเขื่อนมีราคาสูงเกินไปแต่ขายในราคาที่ต่ำกว่าซึ่งขัดต่อหลักการทางธุรกิจทั่วไป สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเวียงจันทน์และรองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว ขอให้รัฐบาลชี้แจงเรื่องนี้และหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ “ เราขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหานี้ในขณะที่กำลังมองหาตลาดเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการส่งออกไฟฟ้าของสปป.ลาวเพื่อลดภาระหนี้ของประเทศ” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่ารัฐบาลจะพิจารณาการลงทุนในภาคพลังงานเพื่อทำความเข้าใจสาเหตุของปัญหาให้ดีขึ้ เราต้องยึดข้อตกลงเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติหากนักลงทุนบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับต้นทุนการสร้างเขื่อนจะนำมาซึ่งปัญหาระยะยาว รัฐบาลจะประเมินต้นทุนการก่อสร้างเขื่อนที่แท้จริงอีกครั้งเพื่อให้การลงทุนเกิดประสิทธิภาพ สาเหตุที่รัฐบาลเข้ามากำหนดต้นทุนการสร้างเขื่อนที่แน่นอนเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงจะทำให้ค่าไฟฟ้าสูงซึ่งปัจจุบันความต้องการพลังงานที่คาดการณ์ไว้สูงกว่าความต้องการที่แท้จริงรัฐบาลคาดการณ์ว่าโครงการอุตสาหกรรมจะต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากโดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษและกิจการเหมืองแร่ ดังนั้นหากต้นทุนด้านไฟฟ้าสูงจะทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบและจะมีผลต่อการเติบโตต่อเศรษฐกิจ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_220.php

ADB ให้เงินกู้ 127.8 ล้านดอลลาร์ แก่กัมพูชาสำหรับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้า

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินกู้ 127.8 ล้านดอลลาร์ เพื่อขยายการก่อสร้างสายส่งและสถานีไฟฟ้าย่อย โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานในกรุงพนมเปญและอีกสามจังหวัดโดยรอบ ซึ่งโครงการนี้จะนำร่องระบบจัดเก็บพลังงานแบตเตอรี่ขนาดยูทิลิตี้แห่งแรกในกัมพูชา โดยคำแถลงกล่าวว่าโครงการนี้จะช่วย Electricite du Cambodge ที่ทำสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าแห่งชาติของกัมพูชาเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานระบบส่งโดยการจัดหาเงินทุนในการก่อสร้างสายส่ง 115–230 กิโลโวลต์ 4 สายและสถานีย่อย 10 แห่ง ในพนมเปญ กัมปงชนัง กำปงจาม และจังหวัดตาแก้ว ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถจัดเก็บไฟฟ้าได้ 16 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง และให้บริการเพื่อช่วยในการผสมผสานพลังงานหมุนเวียน การบรรเทาความแออัดของระบบส่งผ่านและการปรับสมดุลของอุปสงค์และอุปทานทางด้านไฟฟ้าของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50763512/adb-provides-127-8-million-loan-for-reliable-electricity-infrastructure/

เวียดนามจะซื้อพลังงาน 1.5 พันล้าน kWh ต่อปีจากสปป.ลาว

Vietnam Electricity (EVN) จะซื้อไฟฟ้าจากสปป.ลาวประมาณ 1.5 พันล้าน kWh ต่อปีเป็นระยะเวลา 2 ปี เริ่มในปี 64 ภายใต้สัญญาที่ลงนาม Vietnam Electricity (EVN) จะซื้อไฟฟ้ามากกว่า 596 ล้าน kWh ต่อปีจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำสองแห่งของกลุ่ม  Phongsubthavy และในปี 65 จะซื้อไฟฟ้า 632 ล้าน kWh จากโรงงานสองแห่งที่อยู่ในกลุ่ม Chealun Sekong อีกทั้งในปี 64 จะเริ่มซื้อไฟฟ้า 263 ล้าน kWh ต่อปีจากบริษัทอื่น การนำเข้าได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลเวียดนามเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าประมาณการในปี 64 การขาดแคลน 3.7 พันล้าน kWh และเกือบ 10 พันล้าน kWh ในปีต่อไป ในปี 66 คาดว่าปัญหาการขาดแคลนจะอยู่ที่ประมาณ 15 พันล้าน kWh จากนั้นจะลดลง เนื่องจากการขาดแคลนคาดว่าจะลดลงถึง 7 พันล้าน kWh และ 3.5 พันล้าน kWh ในปี 67 และ 68 ตามลำดับ กระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่าสามารถอนุรักษ์กระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 5-8% และทางออกเดียวคือการนำเข้ามากขึ้นจากสปป.ลาวและจีน แต่การซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นเพียงวิธีแก้ปัญหาด้วยคลื่นความถี่และในระยะยาวมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความเร็วในการทำงานในโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnam-to-buy-1-5-billion-kwh-of-power-annually-from-laos-4037485.html