‘เวียดนาม’ สูญเสียสินค้าเกษตร 3 พันล้านเหรียญฯ เหตุน้ำเค็มรุกพื้นที่

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเวียดนาม เปิดเผยผลการวิจัยพบว่าการรุกพื้นที่เพาะปลูกของน้ำเค็มในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่เป็นแหล่งอาหารและแหล่งชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนหลายสิบล้านคน ได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะจังหวัดก่าเมาเป็นจังหวัดใต้สุดของเวียดนามที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งอาจสูญเสียเงินประมาณ 665 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะเดียวกัน สื่อของเวียดนาม ‘วีเอ็นเอ็กซ์เพรส’ อ้างถึงผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าเวียดนามอาจการสูญเสียพืชผลเป็นมูลค่าเกือบ 2.94 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นอจากนี้ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำประสบกับคลื่นความร้อนที่ยาวนานผิดปกติในเดือน ก.พ. ทำให้เกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่และระดับน้ำในลำคลองของภูมิภาคลดต่ำลง

ที่มา : https://globalrubbermarkets.com/2024/03/21/vietnam-faces-3bn-annual-crop-losses-from-rising-saltwater-levels/

กระทรวงเกษตรและป่าไม้ เตรียมส่งออกพืชผลไปจีน

กระทรวงเกษตรและป่าไม้หวังว่าจะใช้ประโยชน์จากการรถไฟลาว-จีน ซึ่งจะเปิดดำเนินการในเดือนธันวาคม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่ากระทรวงกำลังแนะนำให้หน่วยงานด้านการเกษตรปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตของพืชผล 9 ชนิดเพื่อให้สามารถขายให้กับจีนได้หลังจากที่รัฐบาลลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทจีนในเดือนพฤษภาคมปีนี้ มีมูลค่ารวมกันกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อการรถไฟลาว-จีนเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม จะเป็นเส้นทางเชื่อมหลักระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งคาดว่าจะปรับปรุงการเชื่อมโยงทางการค้าและสนับสนุนกลยุทธ์ของสปป.ลาว โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระบุว่าตั้งแต่ปี 2558-2562 มูลค่าการส่งออกของลาวไปยังจีนเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีและเมื่อรถไฟเริ่มดำเนินการ ก็จะเพิ่มมูลค่าการค้าให้ทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นอีกระดับ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent /FreeConten_Ministry_195_21.php

ตลาดกัมพูชายังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการพืชผักภายในประเทศได้

รายงานการปลูกผักในกัมพูชามีการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ประเทศกลับไม่สามารถยุติการนำเข้าได้เนื่องจากการบริโภคในท้องถิ่นนั้นมีปริมาณที่มากกว่าการผลิต โดยกระทรวงและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดกำลังทำงานร่วมกันเพื่อสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่เพาะปลูกผักเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแรงผลักดันของการปลูกผักทั่วกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสู่ 60,000 เฮกตาร์ โดยการเก็บเกี่ยวผักภายในประเทศกัมพูชาอยู่ที่ 640,000 ตันต่อปี ในขณะที่ความต้องการผักของอยู่ที่ประมาณ 850,000 ตันต่อปี โดยความพยายามในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในกัมพูชายังคงเป็นความท้าทาย แต่กระทรวงและรัฐบาลจะยังคงดำเนินการต่อไปเพื่อเอาชนะปัญหาทั้งหมดเพื่อช่วยให้เกษตรกรเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50787580/vegetable-planting-up-but-not-yet-feeding-local-demand-in-full/

เกษตรกร สปป.ลาวเรียกร้องรัฐบาลช่วยเหลือช่องทางการจัดจำหน่ายพืชผล

เกษตรกรเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือในการหาตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศเพื่อขายผลผลิต คำขอดังกล่าวมีขึ้นในระหว่างงานแสดงความรู้เครือข่ายเกษตรกรสปป.ลาวและการประชุมสมัชชา งานนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 150 คนรวมถึงตัวแทนเกษตรกร 120 คนจากทั่วประเทศ สถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัยการเกษตร องค์กรระหว่างประเทศและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีรองอธิบดีกรมส่งเสริมวิชาการและแปรรูปเกษตรและประธานเครือข่ายเกษตรกรลาว (LFN) เป็นประธาน การประชุมครั้งนี้ได้รับทุนจากโครงการ LURAS ความท้าทายมากมายที่เกษตรกรต้องเผชิญที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเราและขยายความช่วยเหลือในการหาตลาดใหม่เพื่อขายผลผลิตของเราและเพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตจะได้ราคาที่ดีรมถึง การจ่ายภาษีที่แตกต่างกันระหว่างอำเภอและจังหวัด ความต้องการเงินช่วยเหลือพิเศษสำหรับค่าไฟฟ้าของเกษตรกร  และต้องการการสนับสนุนระบบชลประทานและแหล่งน้ำพุธรรมชาติเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีในพื้นที่ชนบท  กิจกรรมดังกล่าวสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมพัฒนาทักษะการเพาะปลูก เทคนิคใหม่ในการทำการเกษตรที่ลดแรงงาน แต่เพิ่มการเก็บเกี่ยวรวมทั้งนโยบายพิเศษสำหรับเกษตรกรรวม 25 เรื่อง เช่นเทคนิคการเกษตรชื่อ“ beautiful wife rice” การวิจัยนโยบายเกี่ยวกับนโยบายการเก็บภาษีเกษตร เป็นต้น ซึ่งได้รับการแบ่งปันให้กับผู้เข้าร่วม

ที่มา :  http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Farmers222.php

การลงทุนที่จำเป็นสำหรับสปป.ลาวเพื่อเก็บเกี่ยวผลกำไรจากการเกษตร

อุปสงค์ในระดับภูมิภาคสำหรับพืชผลและปศุสัตว์ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่สปป.ลาวไม่สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่จะสนองความต้องการของตลาดในภูมิภาคได้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้เน้นย้ำความจำเป็นที่  สปป.ลาวจะต้องดึงดูดการลงทุนด้านการเกษตรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดส่งออก หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญคือเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติการเกษตรแบบยังชีพด้วยวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมซึ่งไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ปัญหาอีกประการหนึ่งคือผลผลิตในฟาร์มคุณภาพต่ำและการกระจายตัวของห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งการรวมตัวกันของแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการทำฟาร์มเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และลดต้นทุน และเชื่อมโยงเกษตรกรและผู้ผลิตเข้ากับธุรกิจการเกษตรและโรงงานแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าส่งออก อีกทั้งสปป.ลาวยังมีศักยภาพสูงในการปลูกพืชอินทรีย์เพื่อการค้าเนื่องจากความต้องการอาหารที่สะอาดเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคมีความห่วงใยสุขภาพมากขึ้น

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/more-investment-needed-laos-reap-profits-agriculture-102737