YRIC รับรอง 3 โครงการผลิต CMP จาก 3 ประเทศ สร้างงานได้ถึง 3,373 ตำแหน่ง!

ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้ง (YRIC) ได้รับรองการลงทุนจากบริษัทในประเทศใน 3 แห่ง และจากต่างประเทศอีก 3 แห่ง เพื่อลงทุนในภาคการผลิต ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 4.44 พันล้านจัต และ 6.659 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ โดยโครงการทั้ง 6 จะทำการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ และการผลิตเสื้อชั้นใน ชุดชั้นใน และการผลิตเสื้อผ้าแบบการตัด การผลิต และการบรรจุ (CMP) ซึ่งสามารถสร้างงานได้ถึง 3,373 ตำแหน่ง จนถึงปัจจุบัน มีการลงทุนจากจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สาธารณรัฐเกาหลี เวียดนาม อินเดีย ไต้หวัน มาเลเซีย หมู่เกาะเวอร์จินของอังกฤษ และเสาธารณรัฐเซเชลส์ เริ่มเข้ามาลงทุนกันมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดความซับซ้อนในการตรวจสอบโครงการการลงทุน กฎหมายการลงทุนของเมียนมา ได้อนุญาตให้คณะกรรมการการลงทุนระดับภูมิภาคและระดับรัฐสามารถอนุมัติการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเงื่อนไขคือเงินลงทุนเริ่มต้นต้องไม่เกิน 6 พันล้านจัตหรือ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yric-endorses-3-domestic-3-foreign-cmp-manufacturing-projects-with-3373-job-opportunities/

เพิ่มสามโครงการการลงทุนในกัมพูชาเพื่อสร้างงานกว่า 2,000 ตำแหน่ง

สภาเพื่อการพัฒนาของกัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติโครงการลงทุนสามโครงการด้วยเงินทุนรวม 7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยโครงการใหม่สามโครงการจะสร้างงานเกือบ 2,000 ตำแหน่ง สำหรับคนในท้องถิ่น ซึ่งโครงการลงทุนแรกมูลค่าอยู่ที่ 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นของ บริษัท จินหมิงหลี่เจี้ยนวันจำกัดซึ่งจะสร้างโรงงานผลิตเส้นด้ายในเขตกงปิสซีจังหวัดกำปงสปือสามารถจ้างพนักงานได้ที่ 180 คน โครงการที่ 2 เงินลงทุนจำนวน 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดตบุงคุมเป็นของ บริษัท ซูเซ็น(กัมพูชา) อุตสาหกรรมจำกัด โดยต้องการคนงานอยู่ที่ 726 ตำแหนน่งในการผลิตเสื้อผ้า โครงการที่สามยังคงอยู่ในภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าคือ บริษัท มิลล์ยูไนเต็ดแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เงินลงทุนอยู่ที่ 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐในการก่อสร้างโรงงานในจังหวัดกันแลนด์คาดว่าจะสร้างงาน 912 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ แต่การลงทุนใหม่ในภาคเสื้อผ้ายังคงดำเนินต่อไปโดยให้ความหวังกับเยาวชนสำหรับโอกาสการจ้างงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702925/three-investment-projects-to-create-2000-jobs/

สปป.ลาว หลีกเลี่ยงการจ้างแรงงานต่างชาติจากพื้นที่ระบาด: กระทรวงแรงงาน

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ออกประกาศให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่เพื่อควบคุมแรงงานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 ก่อนเข้าประเทศ แรงงานต่างชาติต้องตรวจสอบอุณหภูมิที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองและผ่านการตรวจสอบอื่น ๆ ที่กำหนดโดยทางการ ยังได้แจ้งแผนกแรงงานและสวัสดิการสังคมเพื่อทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติ ยังได้รับคำสั่งให้ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและใช้ความระมัดระวังเมื่อส่งแรงงานไปต่างประเทศรวมถึงรับจากต่างประเทศ ให้นายจ้างจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับพนักงาน ได้แก่ สบู่ เจลล้างมือและมาสก์และต้องจัดให้ฟรี นายจ้างจะต้องตรวจสอบพนักงานอย่างใกล้ชิดเป็นประจำทุกวันและผู้ที่พบว่ามีอาการคล้ายไข้หวัด ต้องส่งโรงพยาบาลไปตรวจ ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อแผนกจัดการแรงงาน ที่หมายเลขโทรศัพท์: 021 213007 หรือโทรสาร: 021 213247 โดยก่อนหน้านี้ได้เตือนชาวสปป.ลาวว่าไม่ควรเดินทางไปยังเมืองหรือพื้นที่ที่เกิดการระบาด ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาระงับหรือเลื่อนการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ และยังได้แจ้งให้สายการบินต่างประเทศตรวจสอบอุณหภูมิของนักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและผู้โดยสารก่อนที่จะบินไปสปป.ลาวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19  ซึ่งเมื่อวานนี้ยังไม่มีการยืนยันกรณีของไวรัสในสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Avoid_52.php

ผลสำรวจความแตกต่างของมุมมองระหว่างนายจ้างกับสิ่งที่ผู้สมัครงานต้องการ

จากการสำรวจของ JobNet พบว่าผู้ประกอบการในเมียนมากำลังเจอความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของธุรกิจในปัจจุบัน คือการจ้างงานและรักษาคนเก่งเอาไว้ ผลการสำรวจของหอการค้าอังกฤษพบว่า 3 ใน 4 ของผู้บริหารระดับสูงในเมียนมากล่าวว่าความท้าทายครั้งใหญ่ที่กำลังเผชิญไม่ใช่เพิ่มทุนหรืออัตราการเติบโตของตลาด การสำรวจเผยให้เห็นมุมมองที่แตกต่างจากนายจ้างและลูกจ้าง เช่น 72% ของนายจ้างกล่าวว่าเงินเดือนสูงเป็นสิ่งที่ผู้หางานต้องการพียง 60% ของพนักงาน 2,000 คน จากการสำรวจ อย่างไรก็ตามเกือบ 80 คนและ 66 คนมองว่าการเติบโตของอาชีพและโอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนาเป็นสิ่งที่สำคัญสุด 8% ของบัญชีผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เพศชายส่วนใหญ่มีเป้าหมายงานสมัครงานในการผลิตและ เพศหญิงสนใจงานด้านการศึกษา การดูแลสุขภาพ และการสื่อสารมากขึ้นในขณะที่ผู้ชายมุ่งไปที่อาหารและเครื่องดื่ม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการออกกำลังกาย จำนวนเพศชายและหญิงสมัครงานด้านการท่องเที่ยวและกาโรงแรมมีจำนวนเท่ากัน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/employer-employee-views-differ-what-jobseekers-want-survey.html