‘สปป.ลาว จะใช้มาตรการเข้มขึ้น’ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

พรรคปฏิวัติประชาชนลาว ได้มีมติในการดำเนินมาตรการที่เข้มข้นขึ้นเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพของสกุลเงิน​​กีบ ในระหว่างการประชุมสมัยที่ 7 คณะกรรมพรรคฯ เห็นพ้องเกี่ยวกับมาตรการที่ไม่เพียงแต่เพื่อรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ แต่ยังเพื่อเร่งบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วมไปพร้อมกันด้วย โดยขอให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนรับมือกับไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นและทำงานหนักขึ้นเพื่อกระตุ้นการผลิตทางการเกษตร ลดการนำเข้าสินค้าที่สามารถปลูกหรือผลิตในประเทศได้ นอกจากนี้ คณะกรรมการยังได้แนะนำให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาชนบทและการลดความยากจนมากขึ้น ตลอดจนยกระดับมาตรฐานการศึกษาและบริการด้านสุขภาพ สร้างงานมากขึ้น และบรรเทาปัญหาสังคม รวมถึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการอย่างละเอียดถี่ถ้วนสำหรับกิจกรรมสำคัญของประเทศในปีหน้า รวมถึงการประชุมสุดยอดอาเซียนและการรณรงค์การท่องเที่ยวในปี 2567

ที่มา : https://english.news.cn/20231030/9c87d6967a994892a36a4a93e5706cfd/c.html

แนวโน้มเศรษฐกิจ ‘เวียดนาม’ ปี 65 พุ่งทะยานเกินกว่าที่คาดการณ์

แนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2565 จะขยายตัวเหนือความคาดหมาย เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวและกระแสการไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งกองทุนต่างชาติหลายสำนักได้ประมาณการว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปีนี้จะขยายตัว 7.5%

อย่างไรก็ตาม ไม่น่าแปลกใจที่เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวในระดับที่สูง สาเหตุสำคัญมาจากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของอุปสงค์ในประเทศ การก่อสร้างและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ตลอดจนมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มีมูลค่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ นาย Michael Kokalari หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก VinaCapital แสดงความเห็นว่าการบริโภคในครัวเรือนของเวียดนามมีแนวโน้มฟื้นตัวจากลดลง 6% ในปี 64 และเพิ่มขึ้น 5% ในปีนี้ นอกจากนี้ ผลการสำรวจของสหรัฐฯ รายงานว่าขณะนี้ยังมีประเทศที่ต้องการเดินทางไปเวียดนามเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ภาคการท่องเที่ยวจะช่วยให้ GDP ของเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3% ในปีนี้ และในอีกปี 2566 นักท่องเที่ยวชาวจีนจะกลับมาสู่ตลาดเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-forecast-to-grow-beyond-expectation-in-2022/222789.vnp

‘เวียดนาม’ เผยโฉมแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ 15.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19

เวียดนามวางแผนเปิดแพ็คเกจการใช้จ่ายเงินมูลค่า 347 ล้านล้านดอง หรือประมาณ 15.25 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี 2565-66 เพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 และเยียวผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่เข็มงวด โดยแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งล่าสุดนั้น มีมูลค่าต่ำกว่าที่เสนอไว้ที่ 800 ล้านล้านดองในเดือน พ.ย. รวมถึงมาตรการลดดอกเบี้ยเงินกู้และการชะลอการชำระคืนเงินกู้ของกิจการ ทั้งนี้ ตามแพ็คเกจดังกล่าว ธนาคารกลางเวียดนามจะดำเนินการขายพันธบัตรรัฐบาลคิดเป็นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับในประเทศ เพื่อใช้ในการแทรกแซงตลาดและบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2564 เพิ่มขึ้น 2.58% ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่เติบโต 2.91%

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20220105/vietnam-seeks-153-bln-stimulus-package-to-prop-up-virushit-economy/65064.html

ทางการกัมพูชาวางแผนกำหนดร่างนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนกำหนดร่างกรอบนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับใหม่ ภายหลังการประชุมของคณะทำงานในรัฐบาลกัมพูชา ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้งหลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการหลายอย่างในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบภายในประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนทางด้านการเงินและการระดมทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและภาคการแปรรูปทางการเกษตร เป็นสำคัญ เนื่องจากมีแนวโน้มในการเติบโตที่ดีในทุกมิติ ซึ่งรัฐบาลตั้งกรอบเงินงบประมาณในการสนับสนุนทางด้านสินเชื่อไว้ที่ 250 ล้านดอลลาร์ ให้แก่ภาคเอกชน ผ่านธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท ภายใต้กรอบปีงบประมาณ 2022 โดยคิดบนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ระหว่างร้อยละ 5-5.5 แก่สาขาที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ อาทิเช่น สาขาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นต้น รวมถึงมีการกำหนดมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การยกเว้นภาษี นำเข้า-ส่งออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50972244/draft-policy-to-boost-economy-amid-covid-19-pandemic/

สรท.มั่นใจทั้งปี’64 ปิดจ๊อบส่งออก 12% จับตาปัญหาค่าระวางเรือ-โควิด หวั่นส่งผลระยะยาว

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า ระบุภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนสิงหาคม 2564 กับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 21,976.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 8.93% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 715,416.40 ล้านบาท ขยายตัว 12.83% ทั้งนี้ สรท. มั่นใจว่าการส่งออกไทยในปี 2564 เติบโต 12% โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ เศรษฐกิจประเทศคู้ค้าสำคัญฟื้นตัวต่อเนื่องและอุปสงค์ยังคงทรงตัวในระดับสูง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน และค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากที่สุดในระยะ 4 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 ได้แก่ 1.สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่มีความรุนแรงในประเทศ และการกระจายวัคซีนยังไมทั่วถึง 2.ค่าระวางเรือมีทิศทางทรงตัวในระดับสูงจนถึงปลายปี 2565 และ 3.ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ ชิป, เหล็ก ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2974556

คลังชงขยายเวลา’เราชนะ’เพิ่ม1เดือน ใช้จ่ายได้ถึงสิ้นมิ.ย.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ชี้แจงว่า ชี้แจงว่า ในการประชุม ครม.วันที่ 20 เม.ย.64 ได้เสนอขออนุมัติงบเพิ่มเติมสำหรับใช้ในโครงการเราชนะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะเดียวกันได้ขยายระยะเวลาการใช้เงินเพิ่มอีก 1 เดือนด้วย จากเดิมสิ้นสุดเดือนพ.ค.64 เป็น 30 มิ.ย.64 เพื่อให้ผู้ที่เพิ่งได้รับสิทธิเราชนะบางส่วน เช่น ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ไม่มีสมาร์ทโฟน ผู้พิการ ผู้สูงวัย เพื่อให้มีโอกาสวางแผน และทยอยจับจ่ายใช้เงินได้ดีขึ้น ทั้งนี้ยังยืนยันว่าทุกคนยังได้รับวงเงิน 7,000 บาทเท่าเดิม ส่วนการใช้จ่ายปัจจุบันใช้ไปแล้วเกือบ 2 แสนล้านบาท เหลืออีกประมาณ 1 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะมียอดใช้จ่ายได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/838071