มูลค่าการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้น

มูลค่าการส่งออกยางพาราของสปป.ลาวเพิ่มขึ้น โดยสร้างรายได้แก่สปป.ลาวถึง 217.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 จากการที่พื้นที่เพาะปลูกลดลงในระยะ 3 ปีที่ผ่านทำให้ราคายางพาราเพิ่มขึ้นจาก 3,000-4,000 kip ในปี 60 มาเป็น5,000-6,000 kip ในช่วงนี้ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากความต้องการยางพาราของจีนมากถึง 10,000 ตัน จากปีที่แล้วและปี63สปป.ลาวได้รับโควต้าในการส่งออกไปยังจีนอีก 20,000 ตัน ปัจจุบันถึงแม้เกิดการแพร่ระบาดของ covid-19 แต่การส่งออกยางาราไปยังจีน จากแขวงน้ำทาก็ยังทำได้ปกติและสร้างมูลค่ามหาศาลแก่สปป.ลาว

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/rubber-falls-second-place-export-value-despite-rise-foreign-sales-114828

เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในกัมพูชาต้องรับกับสภาวะราคายางตกต่ำ

เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราภายในประเทศกัมพูชาได้แสดงความกังวลเป็นอย่างมากต่อภาคการเพาะปลูกยางพาราในปัจจุบันในขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดพยายามดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอดหลังจากราคายางตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี โดยรองประธานของ An Mady Group บริษัทผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางอธิบายถึงปัญหาในด้านราคายางของกัมพูชาที่ราคาตกต่ำ รวมถึงยังส่งผลกระทบต่อตลาดยางในมาเลเซียและไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก โดยเน้นย้ำว่าสงครามการค้าเสรีระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทต้องจ่ายภาษีส่งออก 50 เหรียญสหรัฐต่อตัน โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้ออกข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณาลดอัตราภาษีปัจจุบัน ในปี 2562 กัมพูชาส่งออกยางเกือบ 300,000 ตันเพิ่มขึ้น 30% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สร้างรายได้เกือบ 400 ล้านเหรียญสหรัฐด้วยราคาเฉลี่ยที่ 1,336 เหรียญต่อตัน ซึ่งหากผู้ประกอบการต้องการกำไรจากการเพาะปลูกจำเป็นต้องขายที่ประมาณ 1,500 เหรียญสหรัฐต่อตัน ถึงจะเกินต้นทุนด้านการผลิต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50690273/local-rubber-farmers-suffer-from-a-decade-of-low-prices

การส่งออกยางของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 30% ในปีที่แล้ว

กัมพูชาส่งออกยางพาราจำนวน 282,071 ตันในปี 2562 เพิ่มขึ้น 30% จาก 217,501 ตันในปีก่อนหน้า โดยประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีรายรับรวมราว 377 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกผลิตภัณฑ์จากยางพาราในปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 31.8% จาก 286 ล้านเหรียญสหรัฐใน 2561 ซึ่งรายงานประจำปีของกระทรวงรายงานว่ายางแห้งหนึ่งตันมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,336 เหรียญสหรัฐในปี 2562 หรือสูงกว่าปีก่อนประมาณ 19 เหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2561 โดยกัมพูชาส่งออกสินค้าส่วนจากยางพาราส่วนใหญ่ไปยังประเทศมาเลเซีย, เวียดนาม, สิงคโปร์และจีนเป็นหลัก ซึ่งประเทศกัมพูชาได้ปลูกต้นยางพาราบนพื้นที่รวม 406,142 เฮคตาร์ ซึ่งใน 247,113 เฮกตาร์หรือ 61% ของพื้นที่เพาะปลูกต้นยางมีอายุมากพอที่จะถูกเก็บเกี่ยวน้ำยางได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50684115/cambodias-rubber-export-up-30-percent-last-year

บริษัทยางจากเวียดนามที่บริหารงานโดยรัฐวางแผนขยายกิจการในกัมพูชา

Vietnam Rubber Group (VRG) กำลังวางแผนที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยปัจจุบันในกัมพูชา VRG ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฯเวียดนามได้ลงทุนในฟาร์มยางขนาดใหญ่ใน 7 จังหวัด โดยเปิดเผยแผนการขยายตัวในระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรในกรุงพนมเปญ ซึ่งระบุว่า บริษัท เก็บน้ำยาง 50,000 ตันจากพื้นที่ในกัมพูชา 47,000 เฮกตาร์เมื่อปีที่แล้ว โดย VRG ดำเนินธุรกิจผ่าน บริษัท ย่อย 19 แห่งในกัมพูชามีรายงานการลงทุนมูลค่าประมาณกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในปี 2019 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 23 ซึ่งทำรายได้อยู่ที่ประมาณ 1.28 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัท ซึ่งมีพื้นที่เกือบ 10,000 เฮคตาร์ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลในการทำสวนยางพาราในจังหวัดพระวิหารได้ลงทุน 40 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสร้างงาน 3,000 ตำแหน่งให้แก่คนงาน จากข้อมูลของธนาคารแห่งชาติกัมพูชาระบุว่ากัมพูชาสร้างรายได้มากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้วจากการส่งออกยางในปีที่แล้วลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50682038/state-run-vietnam-rubber-firm-plans-expansion-in-kingdom

การนำเข้าเมล็ดพันธุ์ถูกแบนจากโรคเชื้อรา กระทบต้นยางไทย

หลังจากการระบาดของเชื้อรา Pestalotiopsis หรือโรคใบร่วงชนิดใหม่ ในต้นยาง เมล็ด และกล้ายางของไทย จะไม่ได้รับอนุญาตผ่านสนามบินและประตูชายแดน โรคเชื้อราแพร่กระจายในสวนยางพาราบางแห่งในประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการป้องกันไว้ก่อน นอกจากนี้การนำเข้าจากประเทศอื่น ๆ ก็จะถูกระงับเช่นกัน การระบาดของเชื้อราครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดยางและการนำเข้ายางดิบและน้ำยาง ต้นยางพาราที่เชื้อรา pestalotiopsis จะทำให้ได้น้ำยางมีคุณภาพต่ำ จากข้อมูลของพบว่าเชื้อรายังแพร่กระจายในอินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และศรีลังกาแม้ว่าจะยังไม่ได้รับการยืนยัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/seed-imports-banned-fungal-disease-hits-thai-rubber-trees.html

พ่อค้ากดซื้อ ทุบราคายางดิ่ง รัฐแบกชดเชย

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมนำเสนอเรื่องต่อครม.เพื่อเดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางพาราระยะที่ 1 งบประมาณ 2.43 หมื่นล้านบาท โดยยางแผ่นดิบคุณภาพดีประกันรายได้ที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) น้ำยางสด (DRC 100%) ที่ 57 บาทต่อกก. ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ที่ 23 บาทต่อกก. โดยจะจ่ายเงินส่วนต่างราคาตลาดกับราคาประกัน เข้าบัญชีเกษตรกรผู้ปลูกยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทยผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในทุก 2 เดือน ซึ่งงวดแรกจะจ่ายในเดือนธันวาคมนี้ อย่างไรก็ดีผลพวงที่ตามมาเวลานี้ได้รับเสียงสะท้อนจากเกษตรกรว่าผู้ค้ายางเริ่มกดราคารับซื้อยาง เพื่อหวังฟันกำไร โดยผลักภาระในการชดเชยส่วนต่างราคาให้กับรัฐบาล หากไทยไม่รีบปรับตัวสร้างนิวบาลานซ์ใหม่โดยใช้ยางในประเทศและส่งออกให้สมดุลกัน อนาคตอุตสาหกรรมยางพาราไทยทั้งระบบจะลำบาก เพราะเวลานี้นอกจากไทย อินโดนีเซีย มาเลเซียที่เป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่แล้ว จีนก็มีการปลูกยางได้เองในมณฑลยูนนาน และยังมาเช่าพื้นที่ปลูกใน CLMV ขณะที่อินเดียก็เร่งขยายพื้นที่ปลูกในประเทศ ซึ่งผลผลิตจะทยอยออกมากขึ้นในทุกปีนับจากนี้ ดังนั้นตลาดจีน รวมถึงตลาดอื่นๆ จะลดการนำเข้ายางพาราจากไทยลงแน่นอน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 26 – 28 ก.ย. 2562—

กลุ่มอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีรายได้และกำไรพุ่งสูงขึ้น

จากรายงานของอุตสาหกรรมยางเวียดนาม (GVR) เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2562  ธุรกิจของอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีรายได้ และกำไรหลังหักภาษี ด้วยมูลค่ารวม 7.6 ล้านล้านด่อง และ 1 ล้านล้านด่อง ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ โดยกลุ่มธุรกิจของอุตสาหกรรมยางเวียดนามมีข้อได้เปรียบในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ และไม้แปรรูปให้มีคุณภาพ โดยบริษัทในเครือกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ มีโครงการแปรรูปไม้กว่า 13 โครงการ ที่สามารถผลิตสินค้าทำมาจากไม้ ได้แก่ แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง (MDF) ไม้อัด และยาง เป็นต้น ซึ่งกลุ่มธุรกิจของอุตสาหกรรมนี้ มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตอุตสาหกรรมพิเศษอย่างต่อเนื่อง ในนิคมอุตสาหกรรม Nam Tan Uyen , Rach Bap และ Thai Binh เป็นต้น นอกจากนี้ ก็มีการพัฒนาทางด้านที่อยู่อาศัย และการบริการ ในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523414/rubber-group-sees-both-revenue-and-profit-rise.html#YtS2E50RP8KLJwOb.97