เงินเฟ้อเมียนมาขยายตัว กระทบ ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้น

เมียนมากำลังพบกับปัญกาาเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 10-15 ในหมวดอาหารหลักจากความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งเกิดขึ้นจากที่ผู้ค้าส่งปลาและเนื้อสัตว์ และผู้ค้าปลีกอาหารหลั โดยอาหารหลักประกอบด้วย ข้าว น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์ ผักรวมทั้งยา ได้ขึ้นราคากระทบต่อผู้มีรายได้น้อย ด้านราคาข้าวส่วนใหญ่ยังคงมีเสถียรภาพโดยเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 เช่น ข้าวคุณภาพดีเพิ่มจาก 40,000จัตต่อถุง เพิ่มเป็นประมาณ 50,000 จัตต่อถุง ส่วนราคาผักเพิ่มขึ้นสองเท่า ในขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐานและยาบางชนิดก็มีราคาสูงขึ้นเช่นกัน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-witness-rising-inflation-in-basic-goods

เวียดนามเผยราคาอาหารพุ่ง ส่งสัญญาภาวะเงินเฟ้อ

นาย Ðỗ Văn Khuôl ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหาบริษัทไซ่ง่อน ฟู้ด กล่าวว่าต้นทุนของปัจจัยการผลิตทั้งมาจากในประเทศและต่างประเทศ ล้วนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงข้าวและอาหารทะเลที่มีผลผลิตลดลง และอีกปัจจัยหนึ่ง การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าและราคาสูงขึ้นราว 10-25% ในไตรมาสที่ 3-4 ปีนี้ ทั้งนี้ นาย Nguyễn Anh Đứ ผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัทไซ่ง่อน คอร์ป กล่าวว่าในเดือนเมษายน ซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่แจ้งว่ามีแผนที่จะปรับราคาในเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะน้ำมันสำหรับทำอาหาร นมและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ทางกระทรวงการคลัง ระบุว่าจะดำเนินติดตามราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นและยังเสนอแนวทางแก้ไข เพื่อรักษาเสถียรภาพของอุปสงค์และอุปทานของตลาด หากจำเป็น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/950553/foodstuff-prices-rise-pose-inflation-threat.html

ยูเอ็นชี้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นนับตั้งแต่ทหารยึดอำนาจ

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าองค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ ชี้ราคาอาหารและเชื้อเพลิงในเมียนมา ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนฐานะยากจน ในขณะที่โครงการอาหารโลก (WFP) เผยว่าราคาอาหารเพิ่มสูง โดยเฉพาะราคาน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้น 20% ในบางพื้นที่รอบเมืองย่างกุ้ง และราคาข้าวเพิ่มขึ้น 4% ในเมืองย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ตลอดจนในบางพื้นที่ของรัฐคะฉิ่น ราคาข้าวปรับตัวพุ่ง 35% โดยปัจจัยที่ทำให้ราคากลุ่มอาหารและเชื้อเพลิงสูงขึ้นนั้น เป็นผลมาจากภาคธนาคารเป็นอัมพาต ทำให้ส่งเงินกลับเข้าประเทศเป็นไปอย่างล่าช้าและปัญหาการขาดแคลนเงินสด

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/troubling-signs-of-myanmar-food-price-rises-since-coup-un-agency

ความกังวลด้านเงินเฟ้อในกัมพูชาที่ส่งผลต่อราคาอาหารและเสถียรภาพภายในประเทศ

ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 ได้เริ่มขึ้นส่งผลให้เกิดความกังวลในด้านราคาอาหารที่อาจเพิ่มขึ้น แต่ตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่ายังคงค่อนข้างคงที่สำหรับสินค้าอาหารส่วนใหญ่ในช่วงเจ็ดเดือนที่ผ่านมา โดยราคาสินค้าส่วนใหญ่มีการเพิ่มขึ้นบางอย่างในช่วงโควิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับราคาผักที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ไข่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 และหมูเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งแม้ว่าราคาอาหารขายปลีกจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม โดยเมษายนถึงเดือนมิถุนายนความผันผวนของราคาสินค้าได้ลดลงมาสู่ระดับปรกติ จนถึงขณะนี้ผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ต่อความมั่นคงด้านอาหารมีแนวโน้มที่จะมาจากด้านอุปสงค์มากขึ้นโดยมีครัวเรือนที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจร่วมด้วย จากการสูญเสียรูปแบบการดำเนินวิถีชีวิตและรายได้เนื่องจากผลกระทบของไวรัส

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743104/fear-of-food-price-inflation-dropping-as-stability-returns/

ผู้บริโภคสปป.ลาวได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่จำเป็นเพิ่มขึ้น

จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้มีกิจการปิดตัวลงมากมาย ทำให้มีแรงงานตกงานจำนวนมากจากตัวเลขอัตราการว่างงานในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 25 ซึ่งจากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 3 ในปีที่แล้ว ไม่เพียงแค่ปัญหาดังกล่าวที่สปป.ลาวต้องเผชิญในปัจจุบัน  แต่ในปัจจุบันระดับราคาสินค้าที่จำเป็นปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารสดจำพวกผักเช่น หัวหอม ผักชี พริกและมะเขือ ราคาเพิ่มขึ้นไปเกือบ 2 ซึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรได้ให้ความเห็นว่า “เป็นการยากที่จะควบคุมต้นทุนผักและสินค้าจำเป็นอื่น ๆ ในตลาดเนื่องจากการปรับตัวเป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทานโดยคาดว่าราคาสินค้าดังกล่าวจะปรับตัวลงมาในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพราะจะเข้าสู่ช่วงหน้าฝนซึ่งจะทำให้มีผลผลิตออกมาจำนวนมากจนส่งผลให้ระดับราคามีการปรับตัวลง” ถึงอย่างไรก็ตามรัฐบาลกำลังหารือถึงแนวทางในการช่วยเหลือผู้บริโภคหากราคามีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีก

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/prices-06162020154319.html