ธนาคาร ACLEDA พิจารณาขยายเพดานสินเชื่อมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ ในกัมพูชา

ธนาคาร ACLEDA พิจารณาขยายเพดานสินเชื่อมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ ในกัมพูชา โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของ The International Finance Corporation (IFC) ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก โดย IFC ได้เสนอการขยายเพดานสินเชื่อนี้เพื่อให้ธนาคารสามารถขยายโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเมื่อเดือนกันยายน 2020 ธนาคาร ACLEDA มีสินเชื่อรวมอยู่ที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์ และมีเงินฝากรวมราว 4.2 พันล้านดอลลาร์ โดยธนาคารผู้ให้กู้กล่าวถึงผลกระทบในการพัฒนาภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ จึงส่งผลให้เกิดข้อเสียเปรียบในการขยายธุรกิจหรือการเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ ด้วยปัญหาเบื้องต้นทางธนาคารจึงมีแนวคิดที่จะร่วมพัฒนาธุรกิจขนาด SMEs จากการสนับสนุนและส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50825298/200m-loan-for-cambodias-leading-commercial-bank-acleda-in-the-works/

กองทุนฉุกเฉินสำหรับช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกัมพูชา

รัฐบาลเปิดตัวกองทุนพิเศษ 50 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มผลผลิตและการดำเนินธุรกิจท่ามกลางผลกระทบของการระบาดของโรค Covid-19 และการถูกถอน EBA บางรายการสินค้าของสหภาพยุโรป โดยกองทุนพิเศษของรัฐบาลสำหรับ SMEs จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร, การแปรรูปอาหาร, ธุรกิจเกษตร, พืชผัก, ปศุสัตว์และธุรกิจสัตว์น้ำและองค์กรต่างๆที่ใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตร ซึ่ง SMEs สามารถกู้ยืมเงินได้สูงถึง 3 แสนเหรียญสหรัฐ ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปีสำหรับเงินทุนหมุนเวียน (สูงสุด 2 ปี) และ 6.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีสำหรับกองทุนการลงทุนตลอดระยะเวลาการชำระ 5 ปี โดยรัฐบาลจะให้การผ่อนผันระยะเวลา 1 ปี ซึ่ง SMEs ที่มีสิทธิ์ได้รับกองทุนพิเศษคือ SMEs ที่ทำงานเกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าเกษตร ที่สามารถขยายการดำเนินงาน สามารถสร้างงานได้จาก 5-30 แห่งและเป็น SMEs ที่จดทะเบียนในกรมสรรพากรและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทและการเกษตร (RDAB)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702354/50-million-emergency-fund-for-small-and-medium-enterprises/

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (MSMEs)กำลังขาดโอกาสทางการตลาดที่ดี

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (MSMEs)ของสปป.ลาวกำลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจนอกเหนือจากปัญหาเดิมอย่างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยาก นั้นคือการจัดแสดงในงานแสดงสินค้าเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในท้องถิ่นที่ต้องการส่งเสริมอย่างสม่ำเสมอเพื่อยกระดับโปรไฟล์ของพวกเขาโดยกลุ่มเจ้าของบริษัทต่างๆ บอกกับเวียงจันทน์ไทมส์ว่า“ เราต้องจ่ายค่าเช่าบูธมากเกินไปในงานแสดงสินค้าต่างๆ หากเป็นไปได้รัฐบาลควรช่วย MSME ในการจัดเตรียมพื้นที่ว่างหรือให้เงินอุดหนุน 50%สำหรับการเช่าบูธในงานแสดงสินค้า” ทั้งนี้ปัจจุบันภาครัฐมีการส่งเสริมการผลิตและบริโภคสินค้าในประเทศเพื่อลดการนำเข้าน่าจะเป็นโอกาสที่ดีของ MSME ที่แต่กลับกัน MSME หลายๆธุรกิจไม่เป็นที่รู้จักและเข้าถึงลูกค้าได้ยากเพราะไม่มีโอกาสจัดแสดงในงานต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อมาต่อยอดธุรกิจทำให้ยังไม่เกิดการพัฒนาในธุรกิจ ดังนั้นรัฐบาลควรมีการสนับสนุนในการสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำธุรกิจเพราะจะเป็นการช่วยกระตุ้นทั้งการลงทุนในประเทศจากภาคครัวเรือนรวมถึงการบริโภคระดับครัวเรือนที่มากขึ้นอีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lack-marketing-opportunities-budget-add-msme-woes-111627