10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2567

ม.หอการค้าไทย เผย 10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง – ร่วง ปี 2567
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าผลสำรวจการจัดอันดับ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง – ดาวร่วง ปี 2567

10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งในปี 2567

1.ธุรกิจที่ทำการซื้อขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์หรือธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ YouTuber การรีวิวสินค้าและอินฟลูเอนเซอร์
2.ธุรกิจการแพทย์และความงาม ธุรกิจโฆษณาและสื่อออนไลน์ ธุรกิจโทรคมนาคมสื่อสาร เช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือสัญญาณสื่อสารต่าง ๆ
3.โซเชียลมีเดียและออนไลน์เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ธุรกิจด้านการเงินธนาคาร ฟินเทค และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี ธุรกิจคลาวด์เซอร์วิส และธุรกิจบริการไซเบอร์ ซีเคียวริตี้
4.งานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้า ธุรกิจอีเวนท์ ธุรกิจความเชื่อ เช่น สายมู หมอดู ฮวงจุ้ย ธุรกิจอัญมณี เช่น ทอง
5.ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต ธุรกิจEV และธุรกิจเกี่ยวข้อง ธุรกิจ Soft Power เช่น ซีรีส์ ภาพยนตร์
6.ธุรกิจอาหารเสริม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ธุรกิจเกี่ยวกับน้ำตาล
7.ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่โมเดิร์นเทรด ธุรกิจโลจิสติกส์ เดลิเวอรี่ และคลังสินค้า ธุรกิจเงินด่วน โรงรับจำนำ
8. ธุรกิจสัตว์เลี้ยง ธุรกิจบันเทิงยามค่ำคืน ผับ บาร์ คาราโอเกะ
9. ธุรกิจอีสปอร์ต เกมส์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ธุรกิจตลาดเพื่อการท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยวโรงแรม ทัวร์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
10. ธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง

ส่วน 10 อันดับธุรกิจดาวร่วงในปี 2567 ได้แก่

อับดับ 1 โทรศัพท์พื้นฐาน, ธุรกิจร้านเช่าหนังสือ CD-VDO, ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่มีแพลตฟอร์มออนไลน์
อันดับ 2 ธุรกิจผลิต CD-DVD ที่จัดเก็บข้อมูลฮาร์ดดิสไดร์ฟ หรือเมมโมรี่ การ์ด, บริการส่งหนังสือพิมพ์
อันดับ 3 ธุรกิจคนกลาง, เครื่องปั้นดินเผา เซรามิก
อันดับ 4 ธุรกิจผลิตสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม
อันดับ 5 ธุรกิจผลิตสารเคมี
อันดับ 6 ร้านถ่ายรูป
อันดับ 7 ร้านขายเครื่องเล่นเกมส์ แผ่นเกมส์, ธุรกิจทอผ้าจากธรรมชาติ
อันดับ 8 ธุรกิจถ่ายเอกสาร
อันดับ 9 ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไม้
อันดับ 10 ร้านโชห่วย, ธุรกิจผลิตกระดาษ

สำหรับการจัดอันดับของธุรกิจดังกล่าวนำข้อมูลมาจากจากข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยการสำรวจผู้ประกอบการรายสาขา สถานภาพธุรกิจไทย ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ รวมถึงข้อมูลทุติยภูมิต่างๆ เช่น ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก, ข้อมูลสินเชื่อธนาคารพาณิชย์, ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม, ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ได้มีเกณฑ์การให้คะแนนธุรกิจใน 5 ด้านรวม 100 คะแนน ประกอบด้วย ยอดขาย ต้นทุน กำไรสุทธิ ผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงและการแข่งขัน ความต้องการ-กระแสนิยม

ที่มา : https://shorturl.asia/JSjWB

ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจต่อภาคธุรกิจไทย

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566  รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ร่วมกับผศ.ดร.วชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจต่อภาคธุรกิจไทย โดยสำรวจผู้ประกอบ 600 ราย ระหว่างวันที่ 1-15 มีนาคม 2566 พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลและสภาพธุรกิจส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากต้นทุนที่สูงขึ้น มีผลต่อยอดขายและกำไรลดลง แต่ภาระหนี้เพิ่มขึ้น

 

ซึ่งปัจจัยเชิงลบสำคัญ คือ ภาวะเงินเฟ้อสูง  และมองว่าเงินเฟ้อที่เหมาะสมควรสูงไม่เกิน 2-3% อัตราดอกเบี้ยที่สูงกระทบต่อโอกาสผิดนัดชำระหนี้ อัตราค่าจ้างแรงงานกว่า 22% มองว่าเหมาะสมอยู่ที่ 325 บาท/วัน จากเฉลี่ยอยู่ที่ 328-354 บาท/วัน หากปรับขั้นค่าแรงอีก 10% กว่า 50% ระบุว่าอาจต้องปรับขึ้นราคาสินค้า และเลิกจ้างแรงงานบางส่วน

 

ด้านค่าไฟฟ้าส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราค่าไฟฟ้าที่จะลดจาก 5.69 บาทต่หน่วน เหลือ 5.33 บาทต่อหน่วยยังสูง ที่เหมาะสมมองที่ 3.94 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกับภาระค่าน้ำมันดีเซลที่สูง ธุรกิจ 80% ระบุว่าจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาสินค้าทันที ขณะที่ส่วนใหญ่ 95% ไม่ได้เตรียมรับมือเงินบาทผันผวน

 

สำหรับผลกระทบจากแบงก์สหรัฐล้ม ส่วนใหญ่เกือบ 90% ระบุว่าได้รับผลกระทบน้อยถึงไม่ได้รับผลกระทบ รวมถึงไม่ได้รับผลกระทบและได้รับผลกระทบน้อยจากการส่งออกหรือนำเข้า แต่อย่างไรก็ตาม บางส่วนกังวลในปานกลางหากผลกระทบแบงก์ล้มจะขยายวงกว้างกว่านี้ ส่วนปัจจัยเชิงบวกต่อธุรกิจวันนี้ คือ การกลับมาท่องเที่ยวไทยของชาวจีนภายหลังจากการเปิดประเทศ

 

ส่วนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ผู้ประกอบการมองว่าจะฟื้นตัวได้เร็วขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4/2566 และจีดีพีทั้งในปีนี้ขยายตัวได้ 3.35-3.82% แม้ธุรกิจ 37% ยังมองเศรษฐกิจปีนี้โตต่ำกว่า 3% โดยยังกังวลถึงเสถียรภาพการเมืองไทยและปัจจัยเสี่ยงใหม่ๆ ภายนอกประเทศ

 

สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่ต้องการให้รัฐบาลใหม่ช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่

  • ดูแลต้นทุนการผลิตของภาคเอกชนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่สูงเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่ เศรษฐกิจกาลังฟื้นตัว ณ ปัจจุบัน เช่น ไม่ปรับขึ้นค่าพลังงาน ต้นทุนอัตราดอกเบี้ย ค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นต้น
  • เร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีรัฐบาลรักษาการ และยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากต่างประเทศและในประเทศให้เหมาะสม เพื่อเป็นปัจจัยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ฟื้นตัวในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังไม่แน่นอน
  • ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพและอ่อนค่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการส่งออกให้ขยายตัว
  • ดูแลสถานการณ์หนี้ครัวเรือนโดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจ โลกถดถอยโดยให้ธุรกิจและประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้อย่างดีและมีเงื่อนไขในการปรับโครงสร้างหนี้ หากมีปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น

 

ที่มา: https://bit.ly/42nzc1f

10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง ดาวร่วง ปี 2566

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุมสภา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ร่วมกับ อาจารย์วชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าผลสำรวจ การจัดอันดับ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2566

10 ธุรกิจที่มาแรงสุดคือ

  1. ธุรกิจการแพทย์และความงาม
  2. ธุรกิจ e-commerce (ธุรกิจที่ทำการซื้อขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์)
  3. Social Media และ Online Entertainment, ธุรกิจด้าน fintech และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี และธุรกิจงานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้า ธุรกิจ event
  4. ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ youtuber การรีวิวสินค้า และ influencer และธุรกิจสื่อโฆษณาออนไลน์
  5. ธุรกิจ แพลตฟอร์ม และธุรกิจ Matching เช่น platform หาคู่ สั่งอาหาร เรียกรถอื่นๆ
  6. ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต และธุรกิจบันเทิงยามค่ำคืน ผับ บาร์ คาราโอเกะ
  7. ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และธุรกิจ Modern Trade/ ร้านค้าปลีกสมัยใหม่
  8. ธุรกิจโลจิสติกส์ delivery และคลังสินค้า, ธุรกิจตู้ยอดเหรียญ เช่น น้ำ เครื่องซักผ้า อาหาร อื่นๆ และธุรกิจ e sport และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
  9. ธุรกิจอาหารเสริม และธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (ที่ไม่มีแอลกอฮอลล์)
  10. ธุรกิจความเชื่อ (สายมู, หมอดู,ฮวงจุ้ย), ธุรกิจบันเทิง เช่น ละครหนังซีรีย์ Y และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และธุรกิจเกี่ยวกับกัญชา ใบกระท่อม

ส่วน 10 ธุรกิจดาวร่วงนั้นนำโดย

  1. ธุรกิจฟอกย้อมและธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ และวารสาร หนังสือพิมพ์ที่เป็นรูปแบบกระดาษ
  2. ธุรกิจรับส่งสื่อสิ่งพิมพ์ตามบ้านและสถานที่ทำงานและธุรกิจโรงพิมพ์/การพิมพ์ เช่น หนังสือ แผ่นพับ
  3. ธุรกิจคนกลาง
  4. ร้านขายหนังสือ
  5. ธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก
  6. ธุรกิจร้านถ่ายรูปและธุรกิจหัตถกรรม
  7. ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ไร้ฝีมือ หรือเสื้อผ้าโหล
  8. ธุรกิจคลิปโต
  9. โรงเรียนเอกชน
  10. ธุรกิจร้านโชห่วย

สำหรับการจัดอันดับของธุรกิจดังกล่าวนำข้อมูลมาจากจากข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยการสำรวจผู้ประกอบการรายสาขา สถานภาพธุรกิจไทย ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ รวมถึงข้อมูลทุติยภูมิต่างๆ เช่น ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก, ข้อมูลสินเชื่อธนาคารพาณิชย์, ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม, ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ได้มีเกณฑ์การให้คะแนนธุรกิจใน 5 ด้านรวม 100 คะแนน ประกอบด้วย ยอดขาย ต้นทุน กำไรสุทธิ ผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงและการแข่งขัน ความต้องการ-กระแสนิยม

ที่มา: https://bit.ly/3PDTA84

10 ธุรกิจเด่น ครึ่งปีหลัง 2565

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุมสภา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ร่วมกับ อาจารย์วชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าผลสำรวจ การจัดอันดับ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง ครึ่งปีหลัง 2565
10 ธุรกิจที่มาแรงสุดคือ
1.ธุรกิจการแพทย์และความงาม และธุรกิจ e-commerce (ธุรกิที่ทำการซื้อขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์)ยังคงเป็นธุรกิจดาวรุ่งต่อเนื่อง
2.ธุรกิจ แพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางด้าน อิเล็กทรอนิกส์)และธุรกิจโลจิสติกส์ delivery และคลังสินค้ำ
3.ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต และธุรกิจอาหารเสริมและสุขภาพ
4.ธุรกิจ E-Sports และธุรกิจ Social Media และ Online Entertainment
5.ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ youtuber influencer และการรีวิวสินค้าและ ธุรกิจ Media ธุรกิจสื่อโฆษณา
6.ธุรกิจเวชภัณฑ์ยา ธุรกิจการขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และ ทางการแพทย์ และธุรกิจธุรกิจด้าน fintech และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี และธุรกิจงานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้ำ ธุรกิจ event
7.ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน
8.ธุรกิจ Modern Trade/ร้านค้าปลีกสมัยใหม่และธุรกิจสมุนไพรไทย เช่น กัญชง กัญชา ใบกระท่อม
9.ธุรกิจสถานบันเทิงและธุรกิจยานยนต์
10.ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์แนวราบและธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
ส่วน 10 ธุรกิจดาวร่วงนั้นนำโดย
1.ธุรกิจผลิตโทรศัพท์พื้นฐานและครื่องโทรสาร
2.ธุรกิจฟอกย้อม
3.ธุรกิจหัตถกรรมที่ไม่มีการออกแบบและราคาถูก
4.ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ และวารสาร
5.ธุรกิจรับส่งสื่อสิ่งพิมพ์ตามบ้านและสถานที่ทำงาน
6.ธุรกิจโรงพิมพ์/การพิมพ์ เช่น หนังสือ แผ่นพับ
7.ธุรกิจคนกลางและธุรกิจผลิตและขายต้นไม้/ดอกไม้ประดิษฐ์
8.ธุรกิจ call center และธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก
9.ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ไร้ฝีมือ หรือเสื้อผ้าโหล
10.ธุรกิจร้านเช่าหนังสือ ขายหนังสือ และธุรกิจร้านถ่ายรูป
สำหรับการจัดอันดับของธุรกิจดังกล่าวนำข้อมูลมาจากจากข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยการสำรวจผู้ประกอบการรายสาขา สถานภาพธุรกิจไทย ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ รวมถึงข้อมูลทุติยภูมิต่างๆ เช่น ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก, ข้อมูลสินเชื่อธนาคารพาณิชย์, ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม, ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ได้มีเกณฑ์การให้คะแนนธุรกิจใน 5 ด้านรวม 100 คะแนน ประกอบด้วย ยอดขาย ต้นทุน กำไรสุทธิ ผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงและการแข่งขัน ความต้องการ-กระแสนิยม
ที่มา: https://bit.ly/3OweGUg

สถานภาพธุรกิจ SME ไทย หลังโควิด-19 ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจ สถานภาพธุรกิจไทย หลังโควิด-19 ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 625 ราย ผลการสำรวจ ดังนี้

สถานการณ์ยอดขายเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด ยอดขายของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ลดลง 65.2% โดยประเภทธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ การค้า 75.8% รองลงมาคือ ภาคบริการ 67.1% นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูงขึ้น 60.7% ซึ่งภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบยังเป็นกลุ่มการค้า และกลุ่มบริการ ส่งผลให้กำไรลดลงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20.6%  และจากการสำรวจผู้ประกอบการจากปัจจัยต่าง ๆ กว่า 40.1% มีโอกาสที่ผู้ประกอบการจะปิดธุรกิจสูงมาก โดยกลุ่มธุรกิจการค้าและการบริการ เป็นกลุ่มที่เสี่ยงปิดสูง โดยต้องการวงเงินเข้ามาช่วยเหลือกิจการเพื่อเสริมสภาพคล่องเฉลี่ยอยู่ที่ 654,924 บาท และคาดว่าธุรกิจจะกลับมาเป็นปกติภายในไตรมาสที่ 4/65 แต่ปัญหาของผู้ประกอบการที่เข้าไม่ถึง คือ การไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน งบการเงินไม่ดี มีประวัติ ไม่รู้จะติดต่อธนาคารอย่างไร ดังนั้น จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล และมีมาตรการช่วยเหลือเพราะเห็นว่ามาตรการที่รัฐออกมานั้นยังน้อย

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ความคิดเห็นมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินผู้ประกอบการ

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินผู้ประกอบการ พบว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระรอกที่ 3 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากกว่าระรอกที่ผ่านมา ร้อยละ 41.80  ส่วนโอกาสที่ธุรกิจจะปิดกิจการ ร้อยละ 48.00 อยู่ในระดับน้อย หากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังยืดเยื้อออกไปอาจปิดกิจการภายใน 11 เดือน ภาครัฐควรผ่อนคลายมาตรการควบคุมให้กลับมาเป็นปกติภายใน 4 เดือน และโอกาสที่กิจการจะกลับมาดำเนินธุรกิจได้ปกติภายใน 4 เดือน

ทัศนะต่อมาตรการของภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ พบว่า มาตรการเพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 40.00 อยู่ในระดับน้อย ผู้ประกอบการมองว่าได้รับประโยชน์จากมาตรการของรัฐ ร้อยละ 50.00 อยู่ในระดับน้อย ส่วนโครงการหรือมาตรการของภาครัฐธุรที่ธุรกิจเข้าร่วมมากที่สุดคือ โครงการคนละครึ่ง ร้อยละ 78.57 ด้านมาตรการมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูทางการเงินุรกิจสนใจเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ (Soft Loan) ร้อยละ 39.39 แต่ไม่แน่ใจว่าสามารถเข้าร่วมได้ ร้อยละ 64.95 เพราะมองว่าธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้เพราะเต็มวงเงินและเงื่อนไขไม่ชัดเจน ร้อยละ 50.00 และวงเงินสินเชื่อที่ธุรกิจต้องการคือต่ำกว่า 1 แสนบาท ร้อยละ 60.00

นอกจากนั้น ประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเพิ่มเติม ได้แก่ ภาครัฐควรควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเร่งการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศโดยเร็ว รวมถึงคลายล็อกดาวน์ เร่งเปิดประเทศ มีการยกเว้นภาระทางด้านภาษี รวมถึงพักชำระหนี้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ส่งเสริมมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเดิมที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการคนละครึ่ง สนับสนุนค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการลดภาระภาคเอกชน และแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นและขั้นตอนในการดำเนินงานที่ล่าช้าของรัฐบาล

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย