ราคาถั่วดำและถั่วแระ พุ่ง ! จากความต้องการของต่างประเทศที่สูงขึ้น

หอการค้าแห่งภูมิภาคย่างกุ้ง เผย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ราคาของถั่วแระอยู่ที่ 1,930,000 จัตต่อตัน ในขณะที่ราคาถั่วดำอยู่ที่ 1,762,000 จัตต่อตัน แต่ ณ ปัจจุบัน (25 กุมภาพันธ์ 2566) ความต้องการจากตลาดจีนและอินเดียเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาถั่วแระขยับขึ้นเป็น 2,126,500 จัตต่อตัน ส่วนราคาถั่วดำขยับขึ้นเป็น 1,860,000 จัตต่อตัน โดย 10 เดือนที่ผ่านมาในปีงบประมาณปัจจุบัน 2565-2566 (เดือนเมษายน 2565 ถึง เดือนมกราคม 2566) เมียนมามีรายได้จากการส่งออกถั่วทั้งหมด 1.5 ล้านตัน มีมูลค่ากว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการส่งอออกถั่วดำ 595,886.762 กิโลกรัม (489.688 ล้านดอลลาร์) และถั่วแระ 185,505.772 กิโลกรัม (144.611 ล้านดอลลาร์) ที่เหลือเป็นถั่วชนิดอื่นๆ โดยถั่วดำและถั่วแระส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังอินเดียและจีนเป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/prices-of-black-grams-pigeon-peas-on-upward-trajectory-amid-robust-foreign-demand/#article-title

10 เดือน ของปีงบฯ 65-66 เมียนมาโกยเงินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกถั่วพัลส์

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2565 ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2566 ของปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมามีรายได้จากการส่งออกถั่วพัลส์ จำนวน 1.4 ล้านตัน มูลค่า 1.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกทางทะเลจำนวน 1,252,818 ตัน มูลค่า 982.588 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการส่งออกผ่านชายแดนจำนวน 181,268 ตัน มูลค่า 128.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกถั่วดำและถั่วแระเป็นหลัก โดยตลาดนำเข้าสำคัญคือ อินเดีย ส่วนถั่วเขียวจะถูกส่งออกไปยังจีนและยุโรป ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกถั่วพัลส์ของเมียนมามีมากกว่า 1.1 ล้านเอเคอร์ พบว่า ถั่วดำและถั่วแระคิดเป็น 35% ของพื้นที่ปลูกถั่วพัลส์ทั้งหมดของประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pockets-over-1-bln-from-pulses-exports-over-past-ten-months/

 

เมียนมาส่งออกถั่วทะลุ 1 ล้านตันในช่วง 8 เดือนของปี 65

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา  8 เดือนของปีงบประมาณ 2565-2566 (เดือนเมษายน-เดือนพฤษจิกายน 2565) เมียนมาส่งออกถั่วและถั่วพัลส์มากกว่า 1.05 ล้านตัน เป็นการส่งออกทางทะเล 897,499 ตันผ่านเส้นทางทะเล และทางบก153,311 ตัน จากข้อมูลของสมาคมพ่อค้าถั่ว ถั่วพัลส์ และงาของเมียนมา พบว่า การส่งออกถั่วและงาของประเทศนั้นสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกและสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วและถั่วพัลส์มากกว่า 249,245 ตัน มูลค่า 217 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถั่วเป็นพืชที่มีการเพาะปลูกมากเป็นอันดับ 2 ของเมียนมา รองจากข้าว และคิดเป็นร้อยละ 33 ของผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดของประเทศ ทั้งนี้ตลาดส่งออกหลัก คือ จีน อินเดีย และประเทศในแถบยุโรป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-brings-in-over-826-mln-from-pulses-exports-in-eight-months/

5 เดือนแรกของปีงบฯ 65 – 66 เมียนมามีรายได้ส่งออกถั่วพุ่งแตะ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC) เผย รายได้จากการส่งออกถั่วในช่วง 5 เดือนของปีงบประมาณปัจจุบัน 2565-2566 (วันที่ 1 เมษายนถึง 26 สิงหาคม 2565) พุ่งไปถึง 513.347 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณการส่งออกกว่า 660,806 ตัน ซึ่งที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมามีรายได้จากการส่งออกถั่ว 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปริมาณการส่งออกทั้งสิ้นกว่า 2.02 ล้านตัน โดยเป็นการส่งออกทางเรือ 1.24 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 966.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และทางชายแดนอีก 786,920 ตัน คิดเป็นมูลค่า 604.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้การเพาะปลูกถั่วของเมียนมาครอบคลุมพื้นที่ 20% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด โดยมี ถั่วดำ ถั่วแระ และถั่วเขียวคิดเป็น 72% ของพื้นที่เพาะปลูกถั่ว ซึ่งภาคเกษตรกรรมถือเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจประเทศและสินค้าเกษตรหลักก็รวมอยู่ในสินค้าส่งออกหลักเมียนมาอีกด้วย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-500-mln-from-export-of-various-pulses-in-nearly-5-months/

ตลาดถั่วมัณฑะเลย์ เริ่มกลับมาคึกคัก หลัง เทศกาล “ตินจาน”

ตลาดค้าถั่วมัณฑะเลย์เริ่มกลับมาซื้อ-ขายกันคึกคักอีกครั้งหลัง เทศกาลตินจาน (สงกรานต์เมียนมา) พบว่าส่วนใหญ่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งนาย U Soe Win Myint เจ้าของคลังสินค้าในเมืองมัณฑะเลย์ เผยว่า ถั่วดำ ถั่วแระ ข้าวโพด งา ถั่วลิสง ถั่วแดง เนยถั่ว และถั่วลันเตานั้นเริ่มกลับมาขายดีกันมากขึ้น โดยปัจจุบันมีการส่งออกถั่วดำและถั่วแระไปยังอินเดีย ส่วนถั่วเขียว งา ถั่วลิสง ถั่ว heirloom ถั่วแป๋ และเนยถั่ว ถูกส่งไปยังจีน ส่วนข้าวโพดส่วนใหญ่ส่งไปยังไทย ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันพืชสําหรับบริโภค ยังคงทรงตัวเช่น น้ำมันถั่วลิสงและน้ำมันงา 8,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันจะอยู่ระหว่าง 5,500-6,000 จัตต่อ viss  และราคาน้ำมันถั่วเหลืองจะอยู่ระหว่าง 6,500-7,000 จัตต่อ viss

ทีมา: https://www.gnlm.com.mm/mandalay-bean-market-bustling-in-post-thingyan-period/#article-title

พ่อค้าถั่วชี้ เกษตรควรปลูกถั่วดำ ถั่วแระเพิ่ม คาดราคาพุ่งขึ้นถึงปีหน้า

ผู้ค้าถั่ว เผย เกษตรกรควรหันมาปลูกถั่วดำและถั่วแระให้มากขึ้นเนื่องจากราคามีแนวโน้มสูงขึ้นจนถึงปีหน้าจากความต้องการของอินเดียที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันอินเดียขอโควต้าการนำเข้า 400,000 ตัน ขณะที่สต๊อกถั่วมีประมาณ 250,000 ตัน ส่งผลให้ราคาเพิ่มตามไปด้วย โดยถั่วดำจะทำการเพาะปลูกในเดือนตุลาคมพฤศจิกายนและธันวาคม ในเขตพะโคและเขตอิระวดี พื้นที่ตอนบนของมัณฑะเลย์และเขตมะกเว ส่วนถั่วแระจะมีการเพาะปลูกอยู่ทั่วประเทศและส่วนใหญ่ผลิตในตอนกลางของประเทศ ราคาของถั่วดำและถั่วแระขึ้นอยู่กับความต้องการของอินเดีย โดยราคาส่งออกถั่วเมียนมาลดลง 97,000 จาก 120,000 จัตในปี 2558 ซึ่งตั้งแต่ปี 60 จะเห็นว่าราคถั่วเมียนมาลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อปีที่แล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของอินเดียส่งผลต่อพื้นที่เพาะปลูกในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเริ่มหันมานำเข้าถั่วจากเมียนมามากขึ้น เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 64 ราคาถั่วดำอยู่ที่ 100,000-130,000 จัตต่อ 60 visses ในขณะที่ถั่วแระราคาอยู่ที่ 86,000-95,000 จัตต่อ 60 visses (1 visses เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/more-black-beans-pigeon-peas-to-be-grown-as-prices-likely-to-rise-higher-until-next-year/