โครงการนำร่องเลี้ยงกุ้งลูกผสมน้ำจืดประสบความสำเร็จในเขตอิระวดี

U Tun Win Aung หัวหน้ากรมประมงในเมืองลาบุตตา รายงานความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งน้ำจืดนำร่องในเขตอิระวดี เนื่องจากเมืองลาบุตตาในเขตอิระวดีตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่ง การเลี้ยงกุ้งทะเลจึงประสบความสำเร็จ โดยได้รับประโยชน์จากน้ำทะเลที่ไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีรายงานว่ากุ้งน้ำจืดลูกผสมกำลังได้รับการเพาะพันธุ์บนพื้นที่ 115 เอเคอร์ของเมืองลาบุตตา  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นและตลาดที่กำลังเติบโต การทำฟาร์มนำร่องกุ้งน้ำจืดลูกผสมก็แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม กุ้งน้ำจืดลูกผสมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้จะไม่ใช่พันธุ์ดั้งเดิมของพม่า แต่สามารถเพาะพันธุ์ได้ในเชิงพาณิชย์ โดยมีกุ้งตั้งแต่ 80,000 ตัวไปจนถึงกุ้ง 100,000 ตัวบนพื้นที่หนึ่งเอเคอร์ ซึ่งการผสมพันธุ์ใช้เวลาเพียง 6 เดือน หลังจากนั้นกุ้งเหล่านี้ก็สามารถส่งออกสู่ตลาดได้ นอกจากนี้ ธุรกิจห้องเย็นไม่เพียงดำเนินการเพื่อการส่งออกเท่านั้น แต่ยังเพื่อการบริโภคในท้องถิ่นด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/hybrid-freshwater-hybrid-shrimp-pilot-farming-successful-in-ayeyawady-region/#article-title

เมียนมาเตรียมสร้างท่าเรือเพื่อพัฒนาการขนส่งทางน้ำ

กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารกำลังวางแผนที่จะพัฒนาท่าเรือภายในประเทศหลายแห่งที่แม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำชิดวิน เพื่อปรับปรุงการขนส่งทางบกและการขนส่งทางแม่น้ำ ท่าเรือแห่งใหม่นี้จะได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือหลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ นอกจากนี้ยังยกระดับการค้ากับอินเดีย จีน และไทยและสอดคล้องกับแผนพัฒนาแห่งชาติของเมียนมาและแผนแม่บทโลจิสติกส์ ท่าเรือทั้ง 5 แห่งอยู่ใน จังหวัดปะโคะกู เขตมะกเว เมืองบะมอฝั่งแม่น้ำอิรวดี รวมถึงเมืองกะเล่วะและเมืองโมนยวาริมแม่น้ำชิดวิน (Chindwin) โดยมีมูลค่ารวม 182 ล้านดอลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีการเปิดประมูลและคาดว่าจะเริ่มได้ในปีงบประมาณที่จะถึงนี้  ท่าเรือทั้ง 5 แห่งซึ่งเมื่อพัฒนาแล้วคาดว่าจะยกระดับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการขนถ่ายสินค้าและการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีประสิทธิภาพและสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนในท้องถิ่นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเขตเศรษฐกิจและเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ นอกจากนี้ยังช่วยลดราคาสินค้าเนื่องจากต้นทุนการขนส่งสินค้าที่ลดลง ประหยัดเวลาการเดินเรือด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายที่รวดเร็ว ลดการสูญเสียและความเสียหายต่อสินค้าและการขนถ่ายสินค้าที่ปลอดภัยและมีความเชื่อถือมากขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-build-inland-ports-improve-river-transportation.html

เมียนมามีแผนสร้างสะพานในอิระวดี-รัฐฉาน

จากข้อมูลของกระทรวงการก่อสร้าง สะพานปะเต็ง 2 (Pathein 2) ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงกับถนน Mahabandoola ของเมืองปะเต็ง กับฝั่งตะวันตกของแม่น้ำงะวูน (Ngawun) ในเขตอิรวดีจะเปิดให้สัญจรใช้งานอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน 2563 สะพานถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการขยายที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำ ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม รถโดยสารจะสามารถใช้สะพานได้ระหว่างเวลา 05.00 น. ถึง 19.00 น. ก่อนการเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนหน้า สะพานมีความยาว 725 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ขณะนี้กระทรวงการก่อสร้างกำลังขออนุมัติเพื่อสร้างสะพานแห่งใหม่ในเมือง Thanlwin ชองรัฐฉานโดยใช้เงินกู้ 8.4 ล้านยูโรจากออสเตรีย Thanlwin Bridge ปัจจุบันเชื่อมระหว่างเมียนมาตอนกลางกับรัฐฉานถูกใช้งานมาตั้งแต่ปี 2542 ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ครั้งละ 16 ตันเท่านั้นเมื่อเทียบกับความจุเดิมที่ 30 ตัน ดังนั้นต้องย้ายสินค้าจากรถบรรทุกขนาดใหญ่ไปยังรถขนาดเล็กเพื่อให้สินค้าผ่านได้ต้องใช้เวลานานเกินและไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ สะพานสายใหม่มีความยาว 870 ฟุตและรับน้ำหนักได้สูงสุด 60 ตัน เงินกู้ซึ่งได้รับการอนุมัติจากธนาคาร Uni Credit ของออสเตรียจะปลอดดอกเบี้ยและมีกำหนดชำระคืนภายใน 28.5 ปี ซึ่งรวมระยะเวลาผ่อนผัน 14 ปี

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-bridge-infrastructure-planned-ayeyarwady-shan.html

บริษัทในพื้นที่ลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือพาณิชย์แห่งใหม่ในอิระวดี

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 63  Ever Flow River Public Co (EFR) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้งและ Ayeyar Hinthar Holdings (AHH) จะร่วมมือกันพัฒนาท่าเรือ Ayeyarwaddy International Industry Port (AIIP) โดย EFR  Unison Choice Services ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของ EFR จะร่วมมือกับ AHH เพื่อจัดตั้ง A Logistics Co Ltd ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการสำหรับโครงการ โดย AIIP Unison Choice Service จะถือหุ้นร้อยละ 60 ใน A Logistics ขณะที่ AHH จะถือร้อยละ 40 AIIP จะมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าที่ผลิตในเมียนมาและการนำเข้าวัตถุดิบ วัสดุก่อสร้าง และอุปกรณ์เสริมที่จำเป็น นอกจากนี้ยังจะเปิดใช้เส้นทางเดินเรือที่เชื่อมต่อโดยตรงกับท่าเรือในและต่างประเทศ EFR ให้บริการโลจิสติกส์รวมถึงการขนส่งการขนส่งทางอากาศ คลังสินค้า การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ และการกระจายสินค้า จนถึงช่วงการระบาดของ COVID-19 EFR ได้พัฒนาโครงการที่สำคัญ 2 โครงการ Hlaing Inland Terminal และ Logistic Center มีมูลค่า 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐในย่างกุ้งจะประกอบไปด้วยศูนย์โลจิสติกส์ คลังสินค้าทัณฑ์บน (bonded warehouse ) คลังสินค้าภายในประเทศและอาคารสำนักงาน 7 ชั้นบนพื้นที่ 40 เอเคอร์ และกำลังสร้างศูนย์กระจายสินค้าในมัณฑะเลย์อีกด้วย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/local-firms-develop-new-commercial-port-ayeyarwady.html