อุตสาหกรรมรองเท้าของเมียนมามุ่งมั่นครองตลาดในประเทศ

ผู้ผลิตในประเทศกำลังเตรียมรับมือกับความท้าทายและพยายามแข่งขันกับแบรนด์ต่างประเทศและสินค้านำเข้าที่ครองตลาด โดยพวกเขาจะพยายามคว้าส่วนแบ่งการตลาดในประเทศให้มั่นคง ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสหพันธ์ผู้ผลิตรองเท้าเมียนมา สหพันธ์จะพยายามคว้าส่วนแบ่งการตลาดจากแบรนด์ต่างประเทศที่ครองส่วนแบ่งในตลาดในประเทศประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ดี U Kan Nyunt ประธานสหพันธ์กล่าวว่า รองเท้าบางรุ่นมีแบรนด์ของตัวเอง ผู้ผลิตต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพและการรับประกันเพื่อรักษาชื่อเสียงของแบรนด์ที่แข็งแกร่งและได้รับความชื่นชมจากลูกค้า พวกเขาต้องให้ความสำคัญกับความทนทาน คุณภาพ และความสบายของรองเท้าที่เหมาะสม หากแบรนด์ไม่สามารถรับประกันความทนทานได้ ชื่อเสียงของแบรนด์ก็จะลดลงอย่างแน่นอน ผู้ผลิตต้องให้การรับประกันรองเท้าอย่างน้อย 2 เดือนและครอบคลุมข้อบกพร่องในการผลิต ถือเป็นการส่งเสริมตลาดอย่างหนึ่ง ในปัจจุบัน ตลาดสามารถเข้าถึงกาวติดรองเท้าแบบน้ำที่ผลิตในประเทศได้แทนที่จะนำเข้า โดยบริษัทจัดหาวัตถุดิบในประเทศร้อยละ 85 และจากต่างประเทศเพียงร้อยละ 15 เท่านั้น และมีแผนที่จะจัดจำหน่ายรองเท้าภายใต้โลโก้ Made in Myanmar

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/myanmar-footwear-industry-striving-to-dominate-domestic-market/

เวียดนามเผยอุตสาหกรรมรองเท้า รุกขยายห่วงโซ่อุปทานโลก

สมาคมเครื่องหนัง รองเท้าและกระเป๋าถือของเวียดนาม (LEFASO) ระบุว่าอุตสาหกรรมรองเท้าของเวียดนามเริ่มเห็นสัญญาเขิงบวก หลังจากยอดการส่งออกรองเท้าและกระเป๋าถือลดลง 11% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับ 19.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 อุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีสัญญาแสดงให้เห็นว่าเวียดนามพยายามเข้าห่วงโซ่อุปทานรองเท้าหนังมากขึ้น ในขณะที่กระบวนการออกแบบและการวิจัยได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ทั้งนี้ แหล่งวัตถุดิบส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 60% ของทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปและเวียดนามนับว่าเป็นโอกาสอันดีของเวียดนามที่จะส่งออกไปยังตลาดอียู ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้หวังว่าในปี 2564 ยอดคำสั่งซื้อและรายได้จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับประโยชน์หลังวิกฤติโควิด-19

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/866852/footwear-sector-further-penetrates-global-supply-chain.html