เกษตรกรเมืองซะไกง์ โอด ราคาแตงโม ดิ่งฮวบ

นาย U Wai Myint ผู้ปลูกแตงโมและรองประธานสมาคมผู้ส่งออกในเขตซะไกง์ เผย เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมและเมล่อนผิดหวังกับราคาที่ลดลง ปัญหาเกิดจากผลผลิตเกินความต้องการเพราะขายแตงโมต่อวันได้เพี่ยง 100 หรือ 200 ลูก แต่มีการประมาณขนส่งประมาณ 1,000 ลูกต่อวัน ดังนั้นรถบรรทุกจึงต้องจอดรอคิวที่ด่านชายแดนมูเซ (Muse 7 Mile และ 5 Mile) ทำให้ผลผลิตไม่สดใหม่และเน่าเสีย ซึ่งปีที่แล้วผลผลิตแตงโมและเมล่อนจากเขตซะไกง์เสียหายประมาณ 90% ดังนั้นปีนี้จึงลดลงอย่างมากเทียบกับปีที่แล้ว ด้านพื้นที่เพาะปลูกเขตซะไกง์ เติบโตขึ้นทุกปี พื้นที่แตงโมประมาณ 20,000 เอเคอร์และเมล่อน 40,000 เอเคอร์ ส่วนแหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ในเมืองช่องอู้ (Chaung-U) เขตซะไกง์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/growers-in-sagaing-frustrated-over-lower-prices-of-melons/

เกษตรกรเมืองยาง ปลื้ม ราคาผลผลิตฟักทองสีทองปีนี้ สร้างกำไรงาม

เกษตรกรเมืองยาง (Mongyang) ในรัฐฉาน (ตะวันออก) ปลื้มผลผลิตและราคาฟักทองพันธุ์สีทองพุ่งขึ้นเป็นที่น่าพอใจ ผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังการปลูก 120 วันโดยพื้นที่เพาะปลูกหนึ่งเอเคอร์สามารถให้ผลผลิตได้ประมาณ 2,000 ลูก ส่งผลให้แรงงานรายวันมีรายได้จากการเก็บผลผลิต 10,000 จัตต่อวัน  เมืองยางมีบทบาทในธุรกิจการเกษตร ซึ่งเกษตรกรปลูกหัวหอม พริก มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะเขือยาว และถั่ว โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุมตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จากนั้นจึงจะเพาะปลูกฟักทองในฤดูหนาวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งปีนี้ให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจมาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/farmers-from-mongyang-happy-with-golden-pumpkin-yield-prices-this-year/

เกษตรกรเมืองยองปลูกพริก สร้างสร้างกำไรงาม

เกษตรกรผู้ปลูกพริกจากเมืองยองในรัฐฉานตะวันออก กำลังเก็บเกี่ยวพริกและมีรายได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน นอกจากการปลูกพืชตามฤดูกาล เช่น แตงกวา ฟักทอง มะเขือเทศ แตงโม และเมล่อน ส่วนพริกจะมีกรปลูกหลากหลายสายพันธ์ โดยทำการปลูกในพื้นที่ปิดหลังจากนั้น 15 วันจะถูกย้ายลงแปลงปลูกและรดน้ำทุกๆ 5 วัน แม้ว่าจะมีราคาอยู่ถึง 5,000 จัตต่อกิโลกรัมต่อกิโลกรัมในฤดูเก็บเกี่ยว แต่เเร็ว ๆ นี้ราคาได้ลดลงเหลือประมาณ 2,000 จัตต่อกิโลกรัม ปัจจุบันเมียนมาส่งออกพริกสดไปยังจีนและไทย ซึ่งการส่งออกไปไทยจะผ่านชายแดนเมียวดี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/chilli-growers-from-mong-yawng-earning-regular-income/

เกษตรกรบ้านเมาะ “ปลูกแตงโม” สร้างยอดขายกำไรงาม

เกษตรกรผู้ปลูกแตงโม (แตงโมยักษ์ไต้หวัน) เมืองบ้านเมาะ เขตสะกายมีรายได้จากยอดขายที่พุ่งขึ้น หลังการเพาะปลูกข้าวเกษตรกรบ้านเมาะใช้เวลาปลูกแตงโมงเป็นเวลา 100 วัน ราคาขายจะอยู่ระหว่าง 2,500 ถึง 4,000 จัตขึ้นอยู่กับขนาด สามารถทำกำไรได้ปีละ 1 ถึง 1.5 ล้านจัต นอกจากนี้การปลูกแบบปลอดสารเคมียังดึงดูดผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับการดำรงชีพและเศรษฐกิจและสังคมของคนในท้องถิ่น ขณะนี้รถบรรทุกแตงโมมากกว่า 1,000 คันติดอยู่ในเขตการค้า 105 ไมล์ในเมืองมูเซ รถบรรทุกกว่า 200 คันกำลังแล่นผ่านชายแดนเมียนมา-จีน ส่งผลให้ส่งผลให้แตงโมเกินความต้องการอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของระบบตลาด ซึ่งตลาดแตงโมพึ่งพาจีนเป็นหลัก ในเดือนธันวาคม 63 และมกราคม 64 เมียนมาได้ส่งแตงโมไร้เมล็ด 45 ตันไปยังตลาดดูไบ และมีแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ ในช่วงปีที่ผ่านมาเกษตรกรได้รับความเสียหายจากราคาที่ไม่แน่นอนและปัญหาการขนส่งจากการระบาดของ COVID-19 แตงโมและเมลอนจะเก็บเกี่ยวได้จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมยกเว้นรัฐกะยาและชิน เมียนมาส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันต่อปีและเมลอนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/1-april-2021/#article-title

เกษตรกร สปป.ลาวเรียกร้องรัฐบาลช่วยเหลือช่องทางการจัดจำหน่ายพืชผล

เกษตรกรเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือในการหาตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศเพื่อขายผลผลิต คำขอดังกล่าวมีขึ้นในระหว่างงานแสดงความรู้เครือข่ายเกษตรกรสปป.ลาวและการประชุมสมัชชา งานนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 150 คนรวมถึงตัวแทนเกษตรกร 120 คนจากทั่วประเทศ สถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัยการเกษตร องค์กรระหว่างประเทศและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีรองอธิบดีกรมส่งเสริมวิชาการและแปรรูปเกษตรและประธานเครือข่ายเกษตรกรลาว (LFN) เป็นประธาน การประชุมครั้งนี้ได้รับทุนจากโครงการ LURAS ความท้าทายมากมายที่เกษตรกรต้องเผชิญที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเราและขยายความช่วยเหลือในการหาตลาดใหม่เพื่อขายผลผลิตของเราและเพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตจะได้ราคาที่ดีรมถึง การจ่ายภาษีที่แตกต่างกันระหว่างอำเภอและจังหวัด ความต้องการเงินช่วยเหลือพิเศษสำหรับค่าไฟฟ้าของเกษตรกร  และต้องการการสนับสนุนระบบชลประทานและแหล่งน้ำพุธรรมชาติเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีในพื้นที่ชนบท  กิจกรรมดังกล่าวสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมพัฒนาทักษะการเพาะปลูก เทคนิคใหม่ในการทำการเกษตรที่ลดแรงงาน แต่เพิ่มการเก็บเกี่ยวรวมทั้งนโยบายพิเศษสำหรับเกษตรกรรวม 25 เรื่อง เช่นเทคนิคการเกษตรชื่อ“ beautiful wife rice” การวิจัยนโยบายเกี่ยวกับนโยบายการเก็บภาษีเกษตร เป็นต้น ซึ่งได้รับการแบ่งปันให้กับผู้เข้าร่วม

ที่มา :  http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Farmers222.php

เกษตรกรเมืองชัยธานีร่วมมือกันเพื่อเพิ่มอุปทานของผลผลิตอินทรีย์

กลุ่มเกษตรอินทรีย์ในหมู่บ้านทองมัง เมืองชัยธานีไซธานีเวียงจันทน์ได้จัดตั้งสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทองมังเพื่อจัดหาผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดและตอบสนองผู้บริโภค นางคำมนต์ หลวงลัท หัวหน้าสหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ทองมังกล่าวในพิธีเปิดสหกรณ์ “ เราจะปรับปรุงร้านค้าที่ขายผลิตผลและสถานที่บรรจุผลิตผล เราจะจัดฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการสหกรณ์และการผลิตสำหรับสมาชิกของเราตลอดจนการฝึกอบรมด้านการเงินและการตลาดให้ธุรกิจเราแข็งแกร่ง” โดยกลุ่มเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องและตั้งเป้าที่จะปลูกผักเพื่อสุขภาพบนพื้นที่ทำกินรอบเมืองหลวงเพื่อรองรับความต้องการของคนในประเทศรวมถึงสร้างความมั่นคงด้นอาหารแก่สปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Xaythany206.php

อินเดียขยายโควตานำเข้าถั่วเพื่ออุ้มเกษตรกรในเมียนมา

ภายหลังการเจรจา 2 เดือน อินเดียได้อนุมัติการนำเข้าถั่วเขียว 150,000 ตัน ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2564 ตามประกาศของรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ซึ่งจะขยายจากกรอบเวลาเดิมคือสามเดือนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม นอกจากนี้ยังจะผลักดันราคาและเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ค้าในท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่มขึ้น อินเดียเริ่มกำหนดโควต้าการนำเข้าถั่วในเดือนสิงหาคม 2560 โดยปีนี้กำหนดโควต้าไว้ที่ 400,000 ตัน สำหรับถั่วที่จะส่งออกระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม อย่างไรก็ตามเกษตรกรเมียนมาสามารถส่งออกได้เพียง 100,000 ตันเท่านั้น ซึ่งเมียนมาถือเป็นผู้ผลิตถั่วและพัลส์รายใหญ่ที่สุดให้กับอินเดีย ขณะนี้อินเดียได้ให้โควต้าการนำเข้าถั่วเขียวไปแล้ว 150,000 ตัน ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2564 ในขณะเดียวกันเมียนมาส่งออกถั่วและพัลส์ไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บังกลาเทศ และเนปาล ความต้องการที่สูงขึ้นมีแนวโน้มทำให้ราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ราคาถั่วเขียวได้พุ่งสูงถึง 1.12 ล้านจัตต่อตันเมื่อเทียบกับ 1.08 จัตล้านต่อตันก่อนการประกาศในวันที่ 1 ตุลาคม 2563

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/india-extension-bean-import-quota-benefit-myanmar-farmers.html

การลงนามแผนการทำงานในการร่วมพัฒนาข้าวฉบับใหม่ในกัมพูชา

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงและสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ได้ลงนามแผนการทำงานร่วมกันสำหรับปี 2563-2566 โดยข้อตกลงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทั้งสององค์กรสำหรับกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาพืชผลที่เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายปี ซึ่งการสนับสนุนของ IRRI สำหรับภาคข้าวของกัมพูชาเริ่มต้นขึ้นในปี 1960 เมื่อได้ฝึกฝนนักวิทยาศาสตร์ชาวกัมพูชาและรวบรวมพันธุ์ข้าวในท้องถิ่นมากกว่า 4,000 ชนิด เพื่อการอนุรักษ์ใน International Genebank เพื่อเติมเต็มความหลากหลายของข้าวในประเทศ โดยความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการกับบันทึกความเข้าใจครั้งแรกในปี 2529 และด้วยการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของ IRRI ทำให้กัมพูชาสามารถเพิ่มการผลิตข้าวได้อย่างมีนัยสำคัญจาก 2.4 ล้านตันในปี 1993 เป็น 10.8 ล้านตันในปี 2562 รวมถึงยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเติบโตของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50725298/new-rice-collaboration-inked/

รัฐบาลเมียนมาสร้างงานภาคเกษตรและชนบทภายใต้แผน CERP

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 63 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทาน (MOALI) จะมีการจ้างงานในภาคเกษตรและก่อสร้างสำหรับผู้ว่างงานภายใต้แผนบรรเทาเศรษฐกิจจากผลกรทบของ COVID-19 (CERP) นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานทางการเกษตรรวมทั้งสนับสนุนเกษตรกรด้วยการจัดหาปัจจัยการผลิตเพื่อการเพาะปลูกและการจัดหาเงินทุน แผนนี้คาดว่าจะสร้างงานให้กับคนอย่างน้อย 800,000 คน โดยต้องทำงานในพื้นที่การเกษตร 400,000 เอเคอร์ ธนาคารโลกจะให้เงินกู้ช่วยเหลือการพัฒนาระหว่างประเทศมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับโครงการอาหารและการเกษตรแห่งชาติ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-create-agri-and-rural-jobs-support-farmers-under-cerp.html

กระทรวงเกษตรฯ ร่วมมือสหประชาชาติโครงการอาหารโลกลดผลกระทบด้านอาหาร

องค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) ของสหประชาชาติโครงการอาหารโลก (WFP) ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและป่าไม้ของสปป.ลาวเพื่อร่างแผนรับมือและให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่เกษตรกร การวิเคราะห์ของ FAO พบว่าประเทศมีหลายๆ ประเทศนำเข้าอาหารลดลง 2 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ส่งผลกระทบด้านโภชนาการต่อประชากร 14.4 ล้านถึง 80.3 ล้านคนทั่วโลก จากสถานการณ์ทำให้องค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) พยายามปรับปรุงด้านโภชนาการเพื่อปกป้องวิถีชีวิตและความมั่นคงด้านอาหารของกลุ่มประชากรในประเทศ หากไม่มีนโยบายที่มีประสิทธิภาพผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะประสบกับความหิวโหยเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบ COVID-19 ที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงด้านโภชนาการ นอกจากนี้ด้วยการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการอาหารลดลง ในทางกลับกันราคาก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกันซึ่งจะช่วยลดยอดขายและรายได้ของภาคเกษตร ดังนั้นการแก้ปัญหาด้านโภชนาการและราคาของสินค้าเกษตรก็ควรได้รับการแก้ปัญหาและสนับสนุนต่อไปในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Agriculture_92.php