3.5 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการเมล็ดพันธุ์มันฝรั่งในกัมพูชา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของกัมพูชาได้บอกกับสื่อท้องถิ่นว่ากระทรวงได้วางแผนที่จะซื้อเมล็ดมันฝรั่งมูลค่า 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐจากเกาหลีใต้เพื่อผลิตมันฝรั่งในจังหวัดมณฑลคีรี ซึ่งเมื่อการระบาดของ COVID-19 สิ้นสุดลงการเพาะปลูกเมล็ดมันฝรั่งจะเริ่มต้นขึ้น โดยจังหวัดมณฑลคีรีถือเป็นสถานที่ที่ดีสำหรับการปลูกมันฝรั่งเนื่องจากมีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก และระบบโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำที่ดี ซึ่งหากผลิตมันฝรั่งในกัมพูชาประสบความสำเร็จจะช่วยลดการนำเข้ามันฝรั่งจากประเทศเพื่อนบ้านได้ โดยปัจจุบันอยู่ที่ 5,000 ตันต่อปี การปลูกมันฝรั่งถูกเริ่มขึ้นในจังหวัดมณฑลคีรี ตั้งแต่ปีที่แล้ว ให้ผลผลิตที่ดีอยู่ที่ 18 ตันต่อเฮกตาร์และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร 15,000 – 17,000 เหรียญสหรัฐต่อฤดูปลูกสามเดือน ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประกาศว่าพวกเขาได้คัดเลือกพันธุ์มันฝรั่ง 5 พันธุ์เพื่อทำการเพาะปลูกที่เมืองมณฑลคีรี โดยคัดเลือกพันธุ์ที่มีความสามารถในการสร้างผลผลิตสูงและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคในอนาคต มันฝรั่งสายพันธุ์ที่เลือกคือ “ทอร์นาโด” พืชนำเข้าจากไอร์แลนด์ “มาเดรา” และ “โคโรนาดา” พันธุ์จากประเทศเยอรมนีและ “PO3” และ “PO7” ทั้งจากเวียดนามเพื่อนบ้าน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50713733/3-5m-for-potato-seeds-project/

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในจ.ห่าติ๋ญ ได้ฟื้นฟูการผลิต

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในจ.ห่าติ๋ญ ได้ดำเนินการลงทุนเพื่อฟื้นฟูการผลิต หลังจากเผชิญกับอุปสรรคอย่างหนักในช่วงต้นเดือนกันยายนของปีนี้ เนื่องมาจากฝนตกหนักและน้ำท่วม ทำให้ปลาหลายสิบตันตาย ซึ่งชาวเกษตรกรท้องถิ่นที่ใช้กรงกรงเพาะพันธุ์ปลา หันมาใช้ประโยชน์จากแม่น้ำ ‘Do Diem’ โดยสินค้าส่วนใหญ่ใช้ในการบริโภคภายในจังหวัดและตลาดขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าจะดำเนินการป้องกันจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมในปีที่แล้ว ส่งผลให้คณะกรรมจังหวัดได้ตัดสินใจที่จะผลักดันเงินรวม 707 ล้านดอง (30,400 ดอลลาร์สหรัฐ) แก่ชาวเกษตรกรที่ใช้กรงดักจับปลา ซึ่งการเลี้ยงปลาที่ใช้กรงเพาะพันธุ์ปลาในพื้นที่เปิดของแม่น้ำจะมีข้อได้เปรียบมากกว่าลักษณะเพาะพันธุ์ปลาแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านคุณภาพและผลผลิตของปลา ดังนั้น นักเพาะพันธุ์ปลาจำเป็นต้องติดตามปฏิทินฤดูกาลและสภาพอากาศ เพื่อที่จะลดความเสียหายให้น้อยที่สุด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ha-tinhs-cage-fish-farmers-restore-production/169071.vnp

โครงการ CLEAN พัฒนาผลผลิตเกษตรส่งออกยุโรป

CLEAN หรือโครงการสร้างความเชื่อมโยงสำหรับเครือข่ายเกษตรโดยความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรโดยช่วยเกษตรกรในการผลิตและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ CLEAN ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาและดำเนินการในสปป.ลาวโดย Winrock Internationalมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตและขยายการค้าในโครงการเกษตรที่ใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของสปป.ลาวในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ไปยังตลาดโลกซึ่งมีประชากรชนชั้นกลางจำนวนมากที่เต็มใจจ่ายในราคาที่สูงสำหรับพืชสวนคุณภาพสูง โครงการดังกล่าวให้ความสำคัญกับการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำโดยการเน้นปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์โดยมีนักวิชาเข้ามาช่วยเกษตกร และยังได้รับการส่งเสริมโดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนเช่น Shopping D และ Living Fresh ในการจัดการกระบวนการจัดเก็บคลังสินค้าตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปอีกด้วย โครงการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มผลผลิตในประเทศและยังสร้างรายได้แก่ประเทศด้านการส่งออกไปยังตลาดโลกอีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/clean-project-helps-farmers-explore-export-potential-114152

ผู้ส่งออกเรียกร้องให้เกษตรกรกัมปอตในกัมพูชาผลิตพริกไทยที่เน้นถึงคุณภาพ

ผู้ส่งออกขอให้เกษตรกรให้ความสำคัญกับการผลิตพริกไทยคุณภาพสูงโดยทำตามมาตรฐานที่เข้มงวดเพื่อเพิ่มความต้องการของผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ โดยพริกไทยจากเมืองกัมปอตยังคงเป็นที่นิยมในระดับสากลโดยเฉพาะในกลุ่มยุโรป แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรจะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพเพื่อรักษายอดขายให้แข็งแกร่ง ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่สนใจเรื่องราคาจนไม่สนใจคุณภาพ ซึ่งคุณภาพถือเป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกให้ความสำคัญ โดยพริกไทยกัมปอตได้รับสถานะบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในสหภาพยุโรปในปี 2015 ซึ่งสมาคมส่งเสริมพริกไทยกัมปอตระบุว่า 50% ของพริกไทยกำปอตส่งออกไปยังสหภาพยุโรปในขณะที่ 30% บริโภคภายใน ส่วนที่เหลือจะถูกส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในส่วนของ Confirel โดยขายพริกไทยกัมปอตภายใต้แบรนด์ Kirum ส่งออกประมาณ 14 ตันของพริกกัมปอตในต่างประเทศใน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า 20% ถึง 25% ของเกษตรกรรายย่อย (เกษตรกรที่มีพื้นที่น้อยกว่า 3,000 ตารางเมตร) จะทำการยกเลิกการเพาะปลูกหลังจากจบฤดูเก็บเกี่ยวในปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50673130/exporter-urges-kampot-pepper-farmers-to-focus-on-quality

การเรียกร้องให้มีการลดอัตราดอกเบี้ยให้กับเกษตรกร

ตัวแทนจากสมาพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา (CRF) ได้เรียกร้องให้สถาบันการเงินทบทวนอัตราดอกเบี้ยเพื่อการเกษตรเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ประสิทธิภาพการผลิตและหนุนการเติบโตของภาคเกษตร โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในการประชุมเศรษฐกิจมหภาค NBC ประจำปีครั้งที่ 6 ด้านการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างรวดเร็วและสภาพแวดล้อมการค้าโลกที่ไม่แน่นอนซึ่งจัดโดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยสำหรับเกษตรกรอยู่ในระดับสูง คือ 12%-18% ต่อปี ซึ่งรองประธาน CRF กล่าวว่าสำหรับภาคการค้าและการค้าปลีกเพียง 6.5%-8.5% โดยสิ่งนี้ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประเทศอื่นซึ่งภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนประมาณ 30% ของ GDP ของประเทศคิดเป็นมูลค่า 6-8 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตามพอร์ตสินเชื่อจากภาคการเงินไปสู่ภาคเกษตรกรรมมีเพียง 10% ของพอร์ตสินเชื่อรวม โดยปัญหาดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อองค์กรขนาดใหญ่และขนาดกลางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเกษตรกรรายย่อยและชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งการเติบโตของภาคการเงินจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของภาคเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50670590/call-for-lower-interest-rates-for-farmers/

การยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของเกษตรกรในปราสาทเขาพระวิหาร

ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกกำลังจะสิ้นสุดลง โดยผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวกำลังรวบรวมข้าวเปลือกจากเกษตรกรผ่านโครงการการทำสัญญาระหว่างเกษตรกรและผู้ซื้อ ซึ่งเกษตรกรได้รับประโยชน์มากกว่า 5,000 ครอบครัว ในจังหวัดพระวิหาร โดยผู้ส่งออกท้องถิ่นสามราย ได้แก่ Amru Rice, Signatures of Asia และ Golden Rice ได้ทำสัญญากับชุมชนกว่า 34 แห่งในจังหวัด โดยปีนี้ในชุมชนขายข้าวอินทรีย์จำนวน 22,461 ตัน ให้แก่บริษัทคู่สัญญา ซึ่งกรมวิชาการเกษตรของเขาพระวิหารกล่าวว่าการทำฟาร์มแบบสัญญามีประโยชน์กับ 5,341 ครอบครัว โดยทำการเพาะปลูกบนพื้นที่รวม 14,769 เฮกตาร์ ซึ่งปีนี้ Amru Rice ได้ซื้อข้าว 12,841 ตัน จากการทำสัญญาโดยคิดเป็นประมาณ 75% ของเป้าหมายในปี 2019 ขณะที่ Signatures of Asia ซื้อข้าวเปลือก 1,000 ตัน หรือ 70% ของเป้าหมาย และ Golden Rice ได้บรรลุเป้าหมายในปี 2562 โดยได้ซื้อข้าวเปลือก 3,129 ตัน ในสัปดาห์นี้ ซึ่งผู้ส่งออกตกลงที่จะซื้อข้าวขาว (ไม่ใช่ข้าวหอม) ในราคา 1,200 ถึง 1,300 riel ($ 0.29 ถึง $ 0.32) ต่อกิโลกรัม ราคาข้าวหอมมะลิถูกตั้งไว้ที่ 1,450 ถึง 1,650 เรียล (0.36 ถึง $ 0.4) โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคมกัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 457,940 ตัน เพิ่มขึ้น 5%

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50669031/contract-farming-lifting-farmers-living-standards-in-preah-vihear/

เกษตรกรเลี่ยงชำระเงินกู้ตั้งแต่ปี 55

เกษตรกรที่เป็นหนี้เงินกู้ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรของเมียนมา (MADB) จำนวน 200 พันล้านจัต ยังไม่ได้ชำระตั้งแต่ปี 55 ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดอิรวดี พะโค และย่างกุ้ง ปัจจุบันการออมลดลงต่ำมากขณะที่สินเชื่อเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบพบว่ามีเงินฝาก 77 พันล้านจัต แต่เงินกู้ยืมรวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 61-62 เหตุผลหนึ่งที่เกษตรกรเลี่ยงการชำระคือ การชำระหนี้เจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า MADB ที่มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 8% ขณะเดียวกันสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ยากที่จะรักษาคุณภาพและผลผลิตไม่คงที่ ซึ่งส่งผลให้รายได้ผันผวนตลอดหลายปี และการขาดแรงงานรุ่นใหม่ๆ ที่หลั่งไหลไปทำงานในต่างประเทศแทน MADB ได้ขยายการชำระคืนเงินกู้ในเดือน ต.ค. – ธ.ค. ปีที่แล้วจนถึงเดือน มิ.ย. – ก.ย. ที่ผ่านมา ทั้งการที่ธนาคารปล่อยเงินกู้มากขึ้น เช่น เกตรกรผู้ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 จัต จาก 100,000 จัต ขณะเดียวกันเกษตรกรที่ปลูกพืชอื่น ๆ สามารถกู้เพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 100,000 จัต ปัจจุบัน MADB ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรตาม 3 ฤดูการเพาะปลูกหลัก ได้แก่ มรสุม ก่อนมรสุม และฤดูหนาว

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/farmers-have-shirked-loan-repayments-2012.html