อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซเวียดนาม เผชิญกับข้อจำกัดเงินลงทุนจากต่างประเทศ

จากคำแถลงการณ์ประชุมของรองประธานบริษัทน้ำมันปิโตรเลียม PetroVietnam (PVN) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซเคยได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศอยู่ราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี แต่ในปัจจุบันเงินลงทุนจากต่างประเทศดังกล่าวลงลงเหลือประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมไปถึงเงินทุนสำหรับน้ำมันสำรองลงลงเช่นกัน และด้วยเรื่องกฎระเบียบในการสำรวจแหล่งน้ำมันใหม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เช่น กฎหมายทรัพยากรน้ำที่ต้องเสียค่าภาษีในการสำรวจพื้นที่ประมาณ 10-15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าอุตสาหกรรมรับไว้ รวมไปถึงข้อจำกัดเงินทุน เป็นต้น นอกจากนี้ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันปิโตรเลียมเวียดนาม ระบุว่าแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต้องแก้ไขกฎหมายฉบับปัจจุบันให้ได้ก่อน

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/declining-investment-limits-vietnam-s-oil-and-gas-industry-3954621.html

เวียดนามเกินดุลการค้า 1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปี 2562

จากรายงานสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่า เวียดนามเกินดุลการค้า 1.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 โดยมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 122.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าที่รัฐฯ ตั้งเป้าการส่งออกไว้ และผลจากการขยายตัวของการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมและแปรรูป หากจำแรกรายสินค้าส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม ได้แก่ โทรศัพท์และส่วนประกอบ รองลงมาคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกต่างมีแนวโน้มลดลง ทำให้ยากลำบากในการเร่งการขยายตัวส่งออกของเวียดนาม โดยอุตสาหกรรมสินค้าหลายๆประเภทกำลังจะถูกแทนที่จากสินค้าจีนที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ เนื่องมาจากผลของสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ที่ยังไม่แสดงถึงแนวทางในการหาทางออกร่วมกัน ในขณะที่ เวียดนามได้ลงนามข้อตกลงทางการค้าเสรีกับสหภาพอียู (EVFTA) ซึ่งจะทำเวียดนามสามารถขยายไปยัง ตลาดต่างประเทศ และผลประโยชน์ทางด้านภาษีสินค้าอีกด้วย

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/522932/vn-has- trade-surplus-of-about-16-billion-in-h1.html#FxG5WuqDiZTcTeDR.97

ร้านขายยาของญี่ปุ่นเล็งขยายกิจการไปยังเวียดนาม

จากรายงานของ Nikkei Asian Review เปิดเผยว่าร้านขายยาของมัทสึโมโตะ คิโยชิ ของเครือบริษัท Matsumoto Kiyoshi Holding Co., Ltd ได้วางแผนในการขยายกิจการไปยังเวียดนาม ท่ามกลางความต้องการของผลิตภัณฑ์สุขภาพมาก ขึ้น โดยทางบริษัทญี่ปุ่นจะร่วมมือกับเครือบริษัทโลตัสในโฮจิมินห์ ซึ่งทางบริษัทชนชั้นนำด้านข้อมูลการตลาดของ Euromonitor มองว่ากลุ่มผู้ที่มีรายได้ฐานะปานกลางของเวียดนามกำลังเติบโต ทำให้มีความสนใจในด้านสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพ ถือว่าเป็นการใช้จ่าย 1 ใน 6 ของหมวดของการใช้จ่ายรวมทั้งประเทศ ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ บริษัทวิจัยระดับโลกของ Business Monitor International (BMI) ระบุว่าเวียดนามถือเป็น 1 ใน 17 ของกลุ่มประเทศตลาดยาเกิดใหม่ (Pharmerging) ซึ่งคาดว่าตลาดเวียดนามจะเป็นอุตสาหกรรมหลักทางด้านเวชภัณฑ์ทั่วโลก และในอีก 5 ปีข้างหน้า ตลาดยาทั่วโลกจะเติบโตร้อยละ 10 ต่อปี

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/companies/japanese-pharmacy-chain-eyes-vietnam-expansion-3953769.html

เวียดนามนำเข้าไฟฟ้าจากสปป.ลาว และจีนมากขึ้น

จากรายงานการประชุมของการไฟฟ้าและพลังงานทดแทนเวียดนาม (Department of Electricity and Renewable Energy) ในวันพุธที่ผ่านมา เปิดเผยว่าเวียดนามเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้า เนื่องมาจากความล่าช้าในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ โดยจะนำเสนอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 200 เมกะวัตต์ ซึ่งเวียดนามมีปริมาณการบริโภคไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ ปริมาณถ่านหินและแก๊สมีแนวโน้มลดลง จึงมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนพลังงานในปี 2563 ด้วยเหตุนี้ ทางกระทรวงฯ จะดำเนินการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากสปป.ลาว และจีน คาดว่าเวียดนามจะนำเข้าพลังงานไฟฟ้ากว่า 3.6 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ในปี 2564 และ 9 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงในปี 2566 ผลจากการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของเวียดนามอย่างรวดเร็ว ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ขาดแคลนพลังงานอย่างมาก โดยจากสถิติความต้องการไฟฟ้า พบว่าอัตราการขยายตัวของการบริโภคไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnam-to-import-more-electricity-from-laos-china-3954206.html

ขนส่งสินค้าผ่านแดนไปเวียดนาม โอกาสที่ไม่ควรมองผ่าน

โดย กมลมาลย์ แจ้งล้อม I ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ I SCBS

การค้าผ่านแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนามซึ่งถือเป็นประเทศคู่ค้าผ่านแดนสำคัญ มีสัดส่วนปริมาณการค้ากว่า 60% ของปริมาณการค้าผ่านแดนโดยรวม โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2014-2018) การค้าชายแดนไปเมียนมา ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย ขยายตัวราว 3% CAGR ขณะที่ การค้าผ่านแดนไปจีนตอนใต้ สิงคโปร์และเวียดนาม เติบโตกว่า 12%CAGR โดยในปี 2018 ปริมาณการค้าผ่านแดนไปเวียดนามสูงถึง 1.3 ล้านตัน หรือมีสัดส่วนกว่า 60% ของปริมาณการค้าผ่านแดนโดยรวม

เวียดนามจึงเป็นตลาดที่น่าจับตามองและเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปเวียดนาม ได้แก่ ผลไม้สด แช่แข็งและอบแห่ง, เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกฮอล์ และชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ในระยะกลาง (2019-2021) การค้าผ่านแดนของไทยกับเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 30%CAGR ตามทิศทางเศรษฐกิจเวียดนามที่เติยโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการผลิตและการบริโภคภาคในประเทศ เวียดนามถือเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเป็นอันดับต้นๆ ของโลกและยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติในการตั้งฐานการผลิตเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะนักลงทุนจีนที่มีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตมายังเวียดนามมากขึ้นเพื่อเลี่ยงสงครามการค้า อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมการผลิตของเวียดนามส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศ

ด้านการบริโภคภายในประเทศ ด้วยจำนวนประชากรชาวเวียดนามที่มากถึง 90 ล้านคนและราว 15% เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพ รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการขยายอย่างรวดเร็วของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade)

ที่ผ่านมา ปัญหาสภาพถนน ความแตกต่างของกฎหมายขนส่ง และความซับซ้อนของพิธีการศุลกากร ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขนส่งสินค้าผ่านแดนจากไทยไปเวียดนาม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการขนส่ง โดยส่วนใหญ่การขนส่งสินค้าผ่านแดนจากไทยไปเวียดนามใช้เส้นทาง R12 เป็นหลัก เนื่องจากระยะทางที่สั้นกว่าเส้นทางอื่นและเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังนครหนานหนิงมณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของจีนใต้

เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน ในเดือนมิถุนายน 2018 ที่ผ่านมา กลุ่มประเทศสมาชิกในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจึงเริ่มเปิดเดินรถขนส่งสินค้าผ่านแดนอย่างเป็นทางการภายใต้ข้อตกลง GMS-CBTA ซึ่ง อีไอซี ประเมินว่า จะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งลงราว 45% และลดต้นทุนการขนส่งลงกว่า 20% โดยกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ (GMS-CBTA) เพื่อลดข้อจำกัดและอุปสรรคของการขนส่นผ่านแดนรูปแบบเดิม โดยครอบคลุทั้งทางด้านพิธีการศุลกากรและระบบการจราจร เช่น การดำเนินพิธีการศุลกากรแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (SWI) การปฏิบัติการร่วมกันในการตรวจสอบสินค้า ณ จุดผ่านแดน (SSI) และการกำหนดเส้นทางเดินรถที่ชัดเจน เป็นต้น ซึ่งตามกรอบความตกลงนี้จะอนุญาตให้รถบรรทุกสัญชาติไทยสามารถขนส่งสินค้าไปถึงเวียดนามได้โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าที่พรมแดนลาว

จากการเติบโตของการค้าผ่านแดนที่ผ่านมา ส่งผลให้รายได้ผู้ประกอบการเติบโตเฉลี่ยราว 10% และอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยอยู่ที่ราว 20% และคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยของผู้ประกอบการภายใต้โควตา GMS-CBTA จะมีแนวโน้มสูงขึ้นจากต้นทุนการขนส่งที่ลดลง จากการวิเคราะห์ของอีไอซี พบว่าจำนวนรถขนส่งสินค้าที่จดทะเบียนไม่ได้แสดงถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ สะท้อนจากอัตรากำไรขั้นต้นของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนรถขนส่งสินค้าน้อยกว่า 30 คันเฉลี่ยสูงถึงราว 23% และการเติบโตของรายได้ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนรถขนส่งสินค้าระหว่าง 30-100 คันอยู่ที่ 13%

หลังจากเปิดการเดินรถขนส่งสินค้าผ่านแดนภายใต้กรอบความตกลง GMS-CBTA อีไอซี ประเมินว่าผู้ประกอบการที่ถือโควตาจะสามารถควบคุมต้นทุนการขนส่งและลดระยะเวลาในการขนส่งให้แข่งขันได้มากขึ้น จากการลดการพึ่งพาผู้ประกอบการท้องถิ่น ซึ่งส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี ความท้าทายสำคัญของธุรกิจนี้ ได้แก่

  1. ข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  2. การแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น และจากผู้ประกอบการต่างชาติภายใต้โควตา GMS-CBTA
  3. การขยายโครงข่ายขนส่งระบบรางในภูมิภาคอาเซียน

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/6139

เวียดนามเผยยอดส่งออกยางในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

จากรายงานของกรมศุลกากร (General Department of Customs) เปิดเผยว่ายอดส่งออกยางในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 122,760 ตัน และคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 174.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.4 และ 56.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน รวมไปถึงราคาส่งออกเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 1,421 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ปี 2561 ในส่วนของตลาดสำคัญของยางเวียดนาม พบว่าปริมาณการส่งออกยางไปที่จีนลดลง ในขณะปริมาณส่งออกไปนังอินเดียและมาเลเซียเพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกยางสำคัญที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.7 ของปริมาณการส่งออกยางทั้งหมด ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการส่งออกยางไปยังจีนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 387,110 ตัน มูลค่าอยู่ที่ 523.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ในปริมาณ และร้อยละ 0.8 ในมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/522786/rubber-exports-in-june-increased-strongly.html#p75wo8WisvDWUJyT.97

IMF ประเมินเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวลดลง 6.5% ในปี 2562

จากรายงานการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในวันอังคารที่ผ่านมา เปิดเผยว่าการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2562 มีแนวโน้มชะลอตัวสู่ระดับร้อยละ 6.5 จากระดับสูงที่สุดร้อยละ 7.1 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงปัจจัยภายนอกที่เปราะบาง โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของเวียดนาม (GDP) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 อีกครั้ง ในปี 2563 และช่วงการขยายตัวระยะปานกลาง นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 , 3.8 ในปี 2562 และปี 2563 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผลของความตึงเครียดทางการค้าและความผันผวนของการค้าทั่วโลก แต่เศรษฐกิจเวียดนามยังคงสามารถรับมือต่อปัจจัยภายนอกได้ เนื่องมาจากการขยายตัวของกลุ่มผู้บริโภครายได้ในระดับปานกลาง และการบริโภคที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงภาคเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20190717/imf-sees-vietnam-s-economic-growth-slowing-to-65-in-2019/50678.html

โอกาสทางการค้าการลงทุนจากข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนาม-รัสเซีย

จากคำแถลงของพรรคสหรัสเซีย (The United Russia Party: ER) เกี่ยวกับการลงนามข้อลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนาม และรัสเซีย ได้มีการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเวียดนาม (VNA) ในวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ นครวลาดิวอสต็อก (Vladivostok) โดยให้ประเด็นที่น่าสนใจว่าเวียดนามเป็นประเทศแรกที่ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) และรัสเซีย ซึ่งทางผู้นำของรัสเซียให้ความสนใจกับเขตสหพันธ์ตะวันออกไกล และพร้อมให้โอกาสกับต่างชาติในการลงทุนในเขตภูมิภาคนี้ รวมไปถึงความพร้อมของสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจกรรมการลงทุนจากต่างชาติ ทั้งด้านกฎหมาย ภาษีและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เป็นต้น จากสถิติการลงทุนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีโครงการใหม่กว่า 1,600 โครงการ ด้วยมูลค่ารวม 8.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสามารถสร้างงานประมาณ 37,000 ตำแหน่งอีกด้วย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/bright-prospects-for-vietnamrussia-cooperation-highlighted/156083.vnp

เวียดนามส่งออกปลาสวายพุ่งไปยังมาเลเซีย

จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกปลาสวายเวียดนาม (Pangasius) ไปยังตลาดอาเซียนสูงกว่า 87.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งตลาดมาเลเซียเป็นหนึ่งในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่มีการนำเข้าของปลาสวายสูงที่สุดจากเวียดนาม และในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มาเลเซียมีมูลค่าการนำเข้าปลาสวายกว่า 18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 47.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในส่วนของการนำเข้าปลาสวายของไทย พบว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกปลาสวายไปยังไทยกว่า 32.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับปี 2561

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7682902-vietnamese-tra-fish-exports-to-malaysia-rise-sharply.html

นครดานังดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ 542 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปี 2562

        จากการประชุมคณะกรรมการพรรคและคณะกรรมการประชาชนนครดานัง ครั้งที่ 11 (The Party Committee and People’s Committee of Da Nang City) ในวันอังคารที่ผ่านมา เปิดเผยว่าในงานดังกล่าวได้มีการมอบใบรับรองการลงทะเบียนการลงทุน (Investment Registration Certificate) ให้กับโครงการรวม 8 โครงการ โดยมีมูลค่าการลงทุนกว่า 492 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมไปถึงหน่วยงานท้องถิ่นที่มีโครงการวิจัยรวม 11 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนวิจัย 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถึงแม้ว่าทิศทางการลงทุนยังอยู่ในเชิงบวก แต่ภาครัฐฯต้องดำเนินงานในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งด้านการค้าและการลงทุนให้รอบด้านมากขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/522456/da-nang-attracts-542-million-of-foreign-investment-in-h1.html#YOZfMohBZeZiDqAg.97