ข้อกำหนดกฎหมายการลงทุนแฟรนไชส์ในเวียดนาม

โดย SME Go Inter

ตลาดแฟรนไชส์ในเวียดนามยังคงเป็นที่น่าศึกษา ติดตามเพื่อขยายฐานการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจสินค้าบริการอาหารและเครื่องดื่มแบบแฟรนไชส์ที่ไปได้ดีและโตแรง ขณะที่รูปแบบการนำแฟรนไชส์จากต่างประเทศมาเปิดดำเนินการในเวียดนามมีรูปแบบ ที่หลากหลายทั้งแบบสัญญา แฟรนไชส์โดยตรง (Direct franchising) ที่มีการพัฒนาให้สิทธิ์ในการเปิดกิจการได้มากกว่าหนึ่งแห่ง ตัวอย่างเช่น รูปแบบแฟรนไชส์ที่มีการให้สิทธิ์ในการเปิดดำเนินธุรกิจได้หลายสาขา (multi-unit) หรือการให้สิทธิ์แบบ Development agreements รวมทั้งแบบสัญญาแฟรนไชส์หลัก (Master franchise agreements) เป็นต้น

ดังนั้นการเข้าไปเล่นตลาดแฟรนไชส์ในเวียดนาม จะต้องดำเนินกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค และกฎระเบียบข้อบังคับของกฎหมายการลงทุนแฟรนไชส์ในเวียดนาม เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  1. ควรทำการสำรวจตลาดก่อนที่จะมีการตั้งราคาของผลิตภัณฑ์และค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
  2. เลือกผลิตภัณฑ์/บริการที่มีศักยภาพหรือเป็นที่นิยม แม้ว่าธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะยังคงเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
  3. เน้นกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีการเติบโตสูง
  4. เข้าร่วมงานแสดงสินค้าหรือเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องในเวียดนามอย่างต่อเนื่อง เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ สร้างความรับรู้และจดจำสินค้าแก่ผู้บริโภค อย่างน้อย 3 ปีติดต่อกัน จะทำให้คู่ค้าเกิดความคุ้นเคยต่อแบรนด์สินค้า
  5. เลือกทำเลที่เหมาะสมและราคาไม่แพง ในเมืองที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น นครโฮจิมินห์ และกรุงฮานอย ที่ยังมีทำเลให้เลือกมาก
  6. ปรับกลยุทธ์ให้เข้าถึงตลาดที่มีวัฒนธรรมแตกต่าง ด้วยการศึกษาวัฒนธรรม นิสัยและรสนิยมของคนในท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จของธุรกิจ

การขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจแฟรนไชส์กับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม

  1. เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ประกอบไปด้วย สำเนาเอกสารแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์ (The Franchise Introduction Statement) และข้อตกลงของแฟรนไชส์ รวมไปถึงใบสมัครและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. ข้อตกลงแฟรนไชส์ในเวียดนาม กฎหมายของประเทศเวียดนามไม่ได้บังคับให้มีข้อกำหนดเพิ่มเติมใดๆ ในข้อตกลงธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์และผู้รับสิทธิ์ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ มีอิสระที่จะเจรจาข้อกำหนดและเงื่อนไขของข้อตกลงแฟรนไชส์
  3. ภาษีธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม ถึงแม้ว่าเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์ต่างชาติจะไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจในเวียดนาม แต่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้รับสิทธิดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม และถือเป็นการทำสัญญาระหว่างบริษัทเวียดนามกับบริษัทต่างชาติ จึงจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับค่าธรรมเนียมใดๆ ที่เรียกเก็บจากผู้รับสิทธิดำเนินกิจการ
  4. การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเวียดนาม การเข้ามาลงทุนธุรกิจในเวียดนาม เจ้าของสิทธิแฟรนไชส์ควรจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า รวมถึงการจด URL และเว็บไซต์กับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติเวียดนาม
  5. การเป็นผู้รับสิทธิดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศในเวียดนาม นักลงทุนต่างชาติสามารถเป็นผู้รับสิทธิ์ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ได้ เมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม สามารถเปิดธุรกิจเฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโดยชาวต่างชาติตามที่เวียดนามได้ผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO)
  6. การจัดตั้งธุรกิจค้าปลีกในเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ไม่มีการกำหนดเงินทุนขั้นต่ำสำหรับการดำเนินการธุรกิจในเวียดนาม

สำหรับคำแนะนำในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในเวียดนามของผู้ประกอบการไทยนั้น มีรูปแบบดังนี้

  1. ลงทุนร่วมกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ชาวเวียดนามโดยเป็นการลงทุนลักษณะ Offshore
  2. การจัดตั้งกิจการในแบบบริษัทต่างชาติ (Foreign-own company)
  3. การควบรวมและการซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions (M&A)
  4. เลือกพันธมิตรหรือคู่ค้าที่เหมาะสม โดยบริษัทท้องถิ่นหลายแห่งอาจไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงในแบรนด์สินค้า รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์

ที่มา :

/1 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์ ศูนย์สนับสนุนธุรกิจใน AEC.ธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม.2562

/2 https://www.bangkokbanksme.com/en/franchise-investment-law-requirements-in-vietnam

EXIM BANK จัดงานสัมมนาออนไลน์ส่งเสริมนักธุรกิจ CLMV ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา (ที่ 4 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ต้อนรับนายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ (ที่ 4 จากขวา) อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผศ.ดร.สมชาย รัตนซื่อสกุล (ที่ 3 จากซ้าย) คณบดี คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) และนายทินกฤต สินทัตตโสภณ (ที่ 2 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท คามุ คามุ จำกัด วิทยากรในงานสัมมนาออนไลน์ Thai Franchise “Your Opportunity” จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าของ EXIM BANK (EXIM Excellence Academy : EXAC) ดำเนินรายการโดย ดร.นิ่มนวล ผิวทองงาม (ที่ 2 จากซ้าย) อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มธบ. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักลงทุนจาก CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และอาเซียน ในการเลือกลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ไทยและโอกาสของธุรกิจใน CLMV ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่

ที่มา : https://thaipublica.org/2020/08/exim-bank-thai-brand-franchise-businesses-in-clmv/

“มหากิจศิริ”ซุ่มขอไลเซนส์ ดัน”ทาโก้เบลล์”รุก CLMV

“มหากิจศิริ” ซุ่มเจรจาขอสิทธ์ทาโก้ เบลล์ รุกตลาดซีแอลเอ็มวี หลังเปิดตลาดในไทยได้ดี ลั่นอีก 5 ปีผุดสาขาครบ 40 แห่งในไทย ด้านยัมเจ้าของทาโก้เบลล์ ลั่นโหมตลาดเอเชียแปซิฟิกนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีทีเอ และกรรมการ บริษัท สยามทาโก้ จำกัด ผู้บริหารร้านทาโก้ เบลล์ (Taco Bell) ในไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯมีความสนใจที่จะขอลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ร้านทาโก้เบลล์ ซึ่งเป็นอาหารจานด่วนสไตล์เม็กซิกันเพื่อทำตลาดในกลุ่ม CLMV ( กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และ เวียดนาม) เพิ่มเติม ซึ่งก็เริ่มมีการเจรจากันบ้างแล้วแต่ยังไม่เป็นทางการ หลังจากที่บริษัทฯรับสิทธ์ทำตลาดในไทยมาปีเศษแล้วประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยส่วนในปี 2563 ได้เตรียมที่จะขยายแบรนด์ทาโก้ เบลล์ เข้าไปเปิดตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติม โดยเบื้องต้นมองไปที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย หลังจากที่เปิดตลาดไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ทั้งนี้ ร้านทาโก้ เบลล์ มีจำนวนสาขามากกว่า 7,000 แห่งในตลาดอเมริกา ส่วนตลาดนอกอเมริกามีประมาณ 580 สาขา กระจายในเกือบ 30 ประเทศทั่วโลก

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9620000118260