แรงงานในกัมพูชาที่ถูกปลดออกหวังว่าจะได้รับเงินเยียวยาในสัปดาห์หน้า

กระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมสายอาชีพกล่าวว่าการสนับสนุนค่าจ้างสำหรับผู้ว่างงานซึ่งงานในโรงงานที่ถูกระงับการดำเนินงานชั่วคราวคาดว่าจะเริ่มโอนเงินค่าเยียวยาภายในสัปดาห์หน้า โดยกระทรวงได้ร่วมมือกับ Wing Specialized Bank ในการโอนค่าจ้าง 40 เหรียญสหรัฐ ให้กับคนงานที่ถูกปลดออกทุกเดือน ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศงบประมาณสำรองสูงถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือเสาหลักทางเศรษฐกิจของกัมพูชารวมถึงการเกษตรและการธนาคาร เพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงานในภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าและการท่องเที่ยว โดยรัฐบาลสนับสนุน 40 เหรียญสหรัฐ และขอให้เจ้าของโรงงานร่วมจ่ายอีก 30 เหรียญสหรัฐ สำหรับเงินเยียวยาต่อเดือน ซึ่งการจ่ายเงินจะมอบให้แก่คนงานที่อยู่ในธุรกิจจดทะเบียนอย่างเป็นทางการกับกระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมอาชีพ กระทรวงการท่องเที่ยวหรือกระทรวงพาณิชย์ตามประกาศของรัฐบาล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50724620/laid-off-workers-hope-to-be-paid-next-week/

รัฐบาลให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ตกงานจากสถานการณ์ COVID-19

คนงานที่เดินทางกลับสปป.ลาวหลังจากออกจากงานในประเทศไทยเนื่องจากการระบาดของโรค Covid-19 จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในการหางานใหม่ โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ขอให้กรมแรงงานและสวัสดิการสังคมในแต่ละจังหวัดและเวียงจันทน์รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานหมู่บ้านเกี่ยวกับจำนวนคนตกงานจากประเทศไทยโดยกระทรวงคาดการณ์ว่ามีจำนวนประมาณ 79,208 คนและจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการที่ธุรกิจหลายแห่งปิดทำการชั่วคราว การช่วยเหลือดังกล่าวจะครอบคลุมไปยังแรงงานในประเทศที่ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งรัฐบาลจะจัดการหางานให้แก่แรงงานที่ประสงค์จะทำงานแต่ก่อนหน้านั้นจะต้องมีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของแรงงานก่อนจะถูกส่งออกไปยังองค์กรหรือธุรกิจต่างๆ เพื่อให้ทั้งภาคธุรกิจและแรงงานได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แรงงานมีงานทำและบริษัทได้แรงงานที่มีคุณภาพไปส่งเสริมธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt90.php

รัฐบาลออกมาตราการช่วยเหลือแรงงานและภาคธุรกิจจากผลกระทบ COVID-19

พนักงานที่เป็นสมาชิกของโครงการประกันสังคมของธุรกิจจะมีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือประมาณ 500,000 กีบเป็นระยะเวลาสองเดือนในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 จัดทำโดยกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) การจ่ายเงินจะทำเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ว่างงานในขณะนี้หลังจากที่โรงงานได้รับคำสั่งให้ปิดกิจการชั่วคราว ทำให้แรงงานอย่างน้อย 551,200 คนหรือประมาณ 70% ของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมว่างงานและต้องความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ภาคธุรกิจยังเรียกร้องรัฐบาลขอให้ธนาคารขยายระยะเวลาการชำระคืนสำหรับสินเชื่อและดอกเบี้ยรวมถึงกองทุนกู้เงินฉุกเฉินแบบด่วนสำหรับธุรกิจ สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID ในสปป.ลาวมีแนวโน้มดีขึ้นและคาดว่าจะกลับมาเป็นปกติในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt75.php

แรงงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าออกมาประท้วง

เกิดการประท้วงที่โรงงานทั้งหมดภายใต้สหพันธ์แรงงานเสื้อผ้าเมียนมา (FGWM) ซึ่งการประท้วงเกิดขึ้นที่โรงงานหกแห่งซึ่งอยู่ภายใต้สมาพันธ์ฯ  แต่ต่อมาก็แยกย้ายกันไป เหตุเพราะได้ทำการปิดชั่วคราวเพื่อปฏิบัติตามและการให้ความร่วมมือตามคำสั่งของรัฐบาล ในหกโรงงานนี้มีการระงับข้อพิพาทที่โรงงาน K World และ Charis Garment โรงงานแอมเบอร์สโตนที่ไม่ได้จ่ายค่าแรงให้คนงานในเดือนมีนาคม

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/protests-garment-factories-myanmar-called.html

แรงงานกัมพูชากว่า 5 แสนคนคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการยกเลิกคำสั่งซื้อ

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) ระบุว่าประมาณ 60% ของโรงงานได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากคำสั่งซื้อที่ถูกยกเลิก เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยเลขาธิการ GMAC กล่าวว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่ได้ยกเลิกคำสั่งซื้อจากโรงงานในกัมพูชาไปบ้างแล้ว ซึ่งคำสั่งยกเลิกส่วนใหญ่มาจากทั้งตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคิดเป็น 28% และ 46% ของตลาดส่งออกของกัมพูชาตามลำดับ หากทำคำนวณตัวเลขดังข้อมูลข้างต้นจะได้ 74% จากจำนวนพนักงานประมาณ 750,000 คนในภาคการ์เม้นท์ซึ่งเท่ากับพนักงานประมาณ 500,000 คนที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าเหล่านี้ ในปี 2019 การส่งออกเสื้อผ้ารองเท้าและสินค้าการท่องเที่ยวของกัมพูชามีมูลค่าถึง 9.35 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบเป็นรายปีจากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50710646/half-a-million-workers-already-affected-by-cancelled-orders/

สหภาพแรงงานเมียนมารณรงค์ให้รับค่าแรงเต็มจำนวนในเดือนเมษายนกรณีปิดโรงงาน

สหภาพแรงงานกำลังวางแผนล็อบบี้ให้รับค่าจ้างเต็มจำนวนในเดือนเมษายนกรณีที่ปิดโรงงาน หัวหน้าสหพันธ์แรงงานเสื้อผ้าของเมียนมา (FGWM) กล่าว โดยมีสหภาพแรงงานประมาณ 30 แห่งภายใต้ FGWM จะเข้าร่วมในการรณรงค์ในครั้งนี้ FGWM โดยจะมีการเจรจาล่วงหน้าที่โรงงานทุกแห่งทั้งช่องออนไลน์และการเคลื่อนไหวอย่างการตะโกนคำขวัญบนเรือข้ามฟากโดยมีประมาณ 30 โรงงานที่จะเข้าร่วม ปัจจุบันบริษัทบางแห่งตัดสินใจปิดตัวและจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนในเดือนเมษายนและบางบริษัทได้ให้กลับไปทำงานที่บ้านหรือที่จ่ายค่าจ้างครึ่งหนึ่ง ในวันที่ 31 มีนาคมคนงานโครงการ Yoma Central รวมตัวกันเพื่อขอลาหยุดในช่วงวันหยุดเทศกาลติงยัน ซึ่งบริษัทจะให้วันหยุดและจ่ายเงินในช่วงวันหยุด ผู้ที่ทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 9 เมษายนก่อนวันหยุดเทศกาลจะได้รับค่าตอบแทนเป็นสองเท่าและผู้ที่ไม่ต้องการทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวจะให้ออกจากงานพร้อมกับเงินเดือนครึ่งหนึ่ง หลังจากวันหยุดผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 20 ถึง 30 เมษายนจะได้รับเงินสองเท่าและผู้ที่ลาจะได้รับเงินเดือนครึ่งหนึ่ง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/worker-unions-myanmar-campaign-factory-closures-full-wages-april.html

แรงงานเมียนมาหลังไหลกลับเมียวดีเพิ่มขึ้น

แรงงานเมียนมาจำนวนมากขึ้นจะถูกส่งกลับผ่านทางท่าเรือของงเมียวดี การเดินทางจะถูก จำกัดที่สะพานมิตรภาพหมายเลข 2 เจ้าหน้าที่จากทั้งสองประเทศได้เจรจาเพื่อให้แรงงานราว 2,000 คนเดินทางผ่านสะพานและทำการตรวจสุขภาพก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าเมียวดี แรงงานอพยพจะถูกกักบริเวณในบ้านเป็นเวลา 14 วันที่เมืองและโดยจะถูกแยกไว้ที่เมียวดี และจะมีการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในตลาด ถนน บ้านเรือนและพื้นที่แออัดอีกด้วย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/more-myanmar-migrants-return-to-myawady

สถานทูตเมียนมาขอให้แรงงานในไทยงดเดินทางกลับในช่วงเทศกาลติงยาน

สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาในกรุงเทพฯ ได้ประกาศให้แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยไม่ให้กลับเมียนมาในช่วงวันหยุดเทศกาลติงยัน ซึ่งแรงงานข้ามชาติที่เดินทางกลับจากไทยจะถูกกักตัวเป็นเวลา 14 วันในประเทศไทย สำหรับการระบาดของ COVID-19 แรงงานข้ามชาติที่เข้าประเทศหรือประเทศบ้านเกิดที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 ต้องแจ้งให้เจ้าของโรงงานทราบ โดยจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (ประมาณกว่า 40,000 จัต) สำหรับการขอวีซ่าเข้าประเทศสำหรับแรงงานข้ามชาติที่เดินทางกลับประเทศในช่วงเทศกาลติงยาน จากข้อมูลพบว่าแรงงานชาวเมียนมากว่า 100,000 คนเดินทางกลับประเทศในช่วงเทศกาลติงยานในทุกๆ ปี ชาวต่างชาติรวมถึงประชาชนชาวเมียนมาที่วางแผนจะเดินทางมาประเทศไทยจำเป็นต้องติดตั้งแอพ AOT ที่สนามบินในโทรศัพท์มือถือ โดยเจ้าหน้าที่จะเก็บเอกสารเป็นเวลา 14 วันนับจากวันที่เดินทางมาถึงประเทศไทย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-embassy-urges-its-migrant-workers-in-thai-not-to-return-during-thingyan

COVID-19 ส่งผลกระทบต่อแรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในกัมพูชา

การระบาดทั่วโลกของ COVID-19 กำลังส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง รวมถึงส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในกัมพูชาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในภูมิภาค ซึ่งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากประเทศจีน ในขณะที่การผลิตลดลงในประเทศจีนเจ้าของโรงงานในกัมพูชาได้เริ่มหยุดดำเนินการและตัดทอนแรงงานลง ซึ่งโรงงาน 10 แห่งในกัมพูชาแจ้งรัฐบาลว่าจะระงับการผลิต และคาดว่าจะมีโรงงานอีกกว่า 200 แห่งในภาคอุตสาหกรรมที่จะหยุดการดำเนินงานหรือลดกำลังการผลิตลง โดยจากแหล่งข่าวรายงานว่าแรงงานกัมพูชา 5,000 คนตกงานแล้ว ซึ่งโรงงานที่หยุดการดำเนินงานจะต้องจ่ายค่าแรง 60% ของค่าแรงขั้นต่ำ ในช่วงพักงานพนักงานจะต้องได้รับการฝึกอบรมที่จัดทำโดยกระทรวงแรงงานและอาชีวศึกษาในสถานที่ทำงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50701601/covid-19-impacts-garment-workers-in-cambodia/

แรงงานสปป.ลาว ที่มีทักษะมีสิทธิ์ได้งานในญี่ปุ่น

แรงงานจำนวนจำกัดที่มีทักษะสามารถทำงานในประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนและญี่ปุ่น ในองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ด้นการเกษตรและสาขาอื่น ๆ จะต้องผ่านตัวแทนจัดหางาน โดยบริการจัดหางานของเวียงจันทน์ประกาศโครงการนี้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหางานเวียงจันทน์อธิบายถึงความสำคัญของแรงงานฝีมือที่ได้รับการจัดสรรงานในต่างประเทศในปีนี้คาดว่าจะมีคนประมาณ 20,000 คนที่ได้รับการคัดเลือกให้เดินทางไปประเทศไทยและญี่ปุ่นหลังจากผ่านการทดสอบทักษะ ซึ่งจะได้รับการบริการด้านการจ้างงาน ผู้สมัครต้องมีสุขภาพที่ดีและสามารถเดินทางได้ หลังจากการสัมภาษณ์ผู้สมัครจะทราบผลการทดสอบในวันเดียวกัน ผู้สมัครประมาณ 90% จะมาจากจำปาสัก สะหวันนะเขต สะระวันและคำม่วน อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นดูเหมือนว่าจะกลายเป็นจุดหมายปลายทางใหม่สำหรับแรงงานเนื่องจากประเทศนี้ต้องการจ้างชาวต่างชาติมากขึ้น กระทรวงศึกษาธิการยังคงจัดหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในปีที่ผ่านมาได้มีการจัดให้แรงงานไปญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาทักษะผ่านโครงการฝึกอบรมด้านเทคนิคของญี่ปุ่น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาชาวสปป.ลาวอย่างน้อย 50,000 คนรวมถึงผู้หญิง 27,176 คนได้รับการจ้างงานในประเทศอื่น ๆ พบมากที่สุดในประเทศไทย ในขณะที่เพียง 50 กว่ารายได้งานในญี่ปุ่น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Skilled_52.php