จำปาศักดิ์มองการเปลี่ยนแปลงปากเซให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการขนส่ง

แขวงจำปาศักดิ์และTai Hoe Holdings จะร่วมมือกันในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเพื่อจัดตั้งเมืองอัจฉริยะเชิงนิเวศในปากเซทางใต้สปป.ลาวหลังจากบรรลุข้อตกลงในสัปดาห์นี้ภายใต้ข้อตกลงบริษัท Tai Hoe จะขอสัมปทานที่ดินเพื่อพัฒนาแขวงจำปาศักดิ์ เป็นเมืองที่ชาญฉลาดและเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ตามนโยบายที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลเพื่อปรับปรุงชุมชนให้ทันสมัยและเสริมความเป็นอยู่ของท้องถิ่น นอกจากนี้ Tai Hoe จะรับผิดชอบการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและทางเทคนิคในการสร้างเมืองและให้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติเกี่ยวกับตลาดเครื่องเพชรพลอยการเกษตรและการแปรรูปอาหารโรงแรมและจะพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจที่ยั่งยืน (เมืองอัจฉริยะ) ซึ่งนักลงทุนและชุมชนท้องถิ่นสามารถหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ทำกำไรร่วมกันในสปป.ลาวใต้ได้รวมถึงเป็นโอกาศของนักลงทุนในการเข้าไปลงทุนในแขวงดังกล่าวอีกด้วย  

ที่มา:http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Champassak273.php

เกาหลีใต้สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของสปป.ลาว

ประธานาธิบดีเกาหลีใต้กล่าวเมื่อวันอังคารว่าประเทศของเขาจะช่วยสปป.ลาวให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาค ซึ่งให้คำมั่นสัญญาในการหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปีของความสัมพันธ์ ได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมการเชื่อมโยงและเสริมสร้างความร่วมมือในด้านการศึกษา ซึ่งเกาหลีใต้จะ “ร่วมมืออย่างแข็งขัน” ในความพยายามของประเทศแม่น้ำโขงในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาค ซึ่งนายกรัฐมนตรีสปป.ลาวกล่าวแสดงคาดหวังสำหรับบทบาทของเกาหลีใต้ในการพัฒนาภูมิภาคแม่น้ำโขง และการพัฒนาความร่วมมือใหม่ ๆ ที่เชื่อมโยงกับนโยบายมุ่งใต้ใหม่และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของรัฐบาลสปป.ลาว

ที่มา : http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20191126000869

ราคาไข่ในประเทศลดลงผลจากปัญหาโลจิสติกส์

ประธานสหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมาเผยราคาไข่ลดลงมาอยู่ที่ 1400 จัต ต่อ viss (1.65 กิโลกรัม) จากระดับ 2600 จัต เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก่อนที่จะดีดตัวขึ้นมาที่ระดับ 2100 จัต ปัญหาอุปสงค์และอุปทานไม่สมดุล ทำให้การขนส่งไข่ไปยังพื้นที่ชายแดนอย่างมูเซ และอากาศอบอุ่นในปีนี้ทำให้ผลผลิตลดลงและผลักดันราคาให้ลดลงอีก จากสถิติมีไก่อยู่ราว 20 ล้านตัวและ 75% เป็นไก่ไข่ ผลผลิตในท้องถิ่นกำลังเผชิญแรงกดดันจากนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาใน เช่น จีน ไทย และอินเดียได้ ซึ่งการเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่ทำโดยเกษตรกรเพียงเล็กน้อยและยังใช้วิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม มีเกษตรกรเพียง 5 –10% ที่เปลี่ยนวิธีการเลี้ยงเป็นแบบสมัยใหม่ซึ่งต้นทุนจะสองกว่าแบบดั้งเดิมถึงสองเท่า ในปีนี้การลงทุนจากต่างประเทศจะมาจากอเมริกา อินเดีย และมาเลเซียมากขึ้น ซึ่งเกษตรกรในท้องถิ่นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ตามปกติฟาร์มขนาดใหญ่จะมีความสามารถในการเลี้ยงไก่ไข่ 10,000-50,000 ตัว และที่ไก่เนื้อ 3,000 ตัว ขณะที่บริษัทต่างชาติคาดว่าจะเลี้ยงไก่หลายล้านตัวและสามารถขยายธุรกิจได้มากด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกและผลิตอาหารไก่ได้เองทำให้ต้นทุนต่ำลง ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสองข้อในการพัฒนาอุตสาหกรรมคือการจัดหาเงินทุนจากธนาคารและการเข้าถึงที่ดิน ผลผลิตที่ผ่านมาลดลงเนื่องจากความร้อนในเดือน มิ.ย.และราคาไก่สดสร้างสถิติสูงสุดเป็นเวลาสองสัปดาห์ เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนธุรกิจจะต้องหันไปใช้เทคนิคการทำฟาร์มแบบเย็นที่ทันสมัยมากขึ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/local-egg-prices-drop-due-logistical-issues.html

การศึกษาสำหรับศูนย์โลจิสติกส์ที่สำคัญของกัมพูชาจะพร้อมในไม่ช้า

การศึกษาความเป็นไปได้สำหรับศูนย์โลจิสติกส์สำคัญในกรุงพนมเปญและสีหนุวิลล์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนสิ้นปีนี้ โดยกระทรวงโยธาธิการและโทรคมนาคมศึกษาความเป็นไปได้สำหรับศูนย์โลจิสติกส์ในเมืองหลวงกำลังดำเนินการโดยความช่วยเหลือของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย ในขณะที่ IMF ให้ความช่วยเหลือในสีหนุวิลล์ ซึ่งศูนย์โลจิสติกส์เป็นส่วนสำคัญของแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ของรัฐบาล โดยมีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มตัวเลือกสำหรับการขนส่งทางบก ทางรถไฟและทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์และบริการในท้องถิ่น ซึ่งศูนย์บริการโลจิสติกส์ทำหน้าที่เป็น “ศูนย์บริการแบบครบวงจร” สำหรับกิจกรรมการนำเข้าและส่งออก โดยเป็นการรวมตัวกันของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเห็นได้ว่าปริมาณการขนส่งสินค้าที่ท่าเรือ Autonomous Sihanoukville (PAS) เพิ่มขึ้นกว่า 18% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของภาคการขนส่งที่สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50655287/studies-for-major-logistics-centres-to-be-ready-soon/

EVFTA ส่งผลให้บริษัทโลจิสติกส์ เผชิญกับความท้าทายและโอกาส

ผู้ประกอบการโลจิสติกส์เวียดนามจำเป็นต้องพัฒนาในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น เพื่อที่จะพยุงธุรกิจ เมื่อข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะทำให้กระตุ้นอุปสงค์ด้านโลจิสติกส์เพิ่มมากขึ้น โดยคุณ Thi Thu Trang, ผู้อำนวยการหอการค้าเวียดนาม ระบุว่าเมื่อผลของข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA มีผลบังคับใช้ จะเปิดโอกาสแก่บริษัทบริการโลจิสติกส์ของสหภาพยุโรป ทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น แต่สามารถนำเงินทุน เทคโนโลยีใหม่ๆ และโอกาสในการร่วมมือของธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยต้นทุนโลจิสติกส์เวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21-25 ของ GDP นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของประเทศยังไม่พร้อม ส่งผลต่อความสามารถในการกระจายสินค้า และภาวการณ์แข่งขันของสินค้าเวียดนามลดลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/evfta-to-bring-logistics-firms-both-opportunities-and-challenges-405316.vov

ย่างกุ้งวางแผนศูนย์กลางโลจิสติกส์สถานีรถบรรทุกเพื่อลดความแออัด

ย่างกุ้งวางแผนสร้างศูนย์กลางโลจิสติกส์และสถานีรถบรรทุกในเขตชานเมืองเพื่อลดความแออัดและจัดหาพื้นที่จอดรถให้เพียงพอ ปัจจุบันมีบริษัทขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก 22 ล้อ, 12 ล้อและ 6 ล้อจากโรงงานโดยตรงไปยังเมืองต่างๆ อย่างไรก็ตาม การขนย้ายสินค้าไปยังคลังสินค้าที่สถานีขนส่งทางหลวงบุเรงนอง ในเขตการปกครอง Mayangone ก่อนที่จะโหลดสินค้าลงบนรถบรรทุก ทำให้การจราจรหนาแน่นและสถานีที่ไม่สามารถรองรับจำนวนรถบรรทุกที่เพิ่มขึ้นได้ เครือข่ายการขนส่งสินค้าของประเทศครอบคลุมโดยรถบรรทุกเป็นส่วนใหญ่นอกเหนือจากช่องทางรถไฟและทางทะเล ในช่วงปีงบประมาณ 60-61 มีรถบรรทุกสินค้ารวม 530,000 คันขนย้ายสินค้าไปทั่วย่างกุ้ง ปริมาณการขนส่งสินค้าทางรถไฟมีจำนวน 526,000 ตันในขณะที่ 422,000 ตันและ 1,400 ตันถูกขนย้ายโดยเรือและเครื่องบินตามลำดับ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangon-plans-logistics-hub-truck-terminal-ease-congestion.html

สกสว. ชูงานวิจัยโลจิสติกส์ ช่วยลดต้นทุนต่ำกว่า 12%

งานครบรอบ 9 ปี การวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สกสว. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและทิศทางการพัฒนาการวิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของประเทศ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยของ สกสว. และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยหลายประเทศมองเห็นโอกาสจากไทย ในฐานะที่เป็นศูนย์กลาง AEC ที่สามารถเชื่อมโยงถึงการค้าในตลาด CLMV ได้ดีที่สุด รวมถึงการเป็นฐานการผลิตในอุตสาหกรรมสำคัญที่หลากหลาย โดยมีการประเมินว่าปัจจุบันมูลค่ารวมของตลาดโลจิสติกส์ในประเทศมากกว่า 7 แสนล้านบาทต่อปีทั้งระบบ โดยสัดส่วน 70% เกิดจากการบริการของกลุ่มทุนไทยและบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ และสัดส่วน 30% มาจากกลุ่มโลจิสติกส์รายเล็กรวมกัน การให้ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยในประเด็นดังกล่าว สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 ที่มีความหวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการค้า การลงทุน ตามตัวชี้วัด 4 ด้าน คือ 1) สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ไทยต่อ GDP ณ ราคาในปี 2564 ต้องต่ำกว่า 12% 2) ดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ต้องดีกว่าลำดับที่ 45 3) ประสิทธิภาพด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าต้องมีลำดับที่ดีกว่า 56 และ 4) จำนวนธุรกรรมการให้บริการนำเข้าและส่งออกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 100%

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/845495

โลจิสติกส์จะโตเป็นสามเท่าภายในปี 2573

กลุ่มโลจิสติกส์ของเมียนมาจะเพิ่มเป็นสามเท่าของจำนวนปัจจุบันภายในปี 2573 ตามแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ระดับประเทศ เกี่ยวกับแผนแม่บทการขนส่งแห่งประเทศเมียนมา (2014) และแผนแม่บทการขนส่งแห่งชาติ (2017) เมียนมาได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ที่ให้การส่งเสริมภาคการขนส่งทางทะเลอย่างสม่ำเสมอ โดยในแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์แห่งชาติ (2017) ความต้องการสินค้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสามเท่าภายในปี 2573 มีการสร้างท่าเรือแปดแห่งในย่างกุ้งภายในระยะเวลาสามปีและการขนถ่ายสินค้ากำลังดำเนินการในท่าเรือ 41 แห่งตามรายงานของการท่าเรือแห่งเมียนมา (Myanma Port Authority :MPA) โดยท่าเรือย่างกุ้งเป็นท่าเรือที่สำคัญที่สุดเพราะมากกว่า 90% ของการค้าทางทะเลระหว่างประเทศอยู่ที่ท่าเรือแห่งนี้

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/logistics-sector-to-grow-threefold-by-2030-minister