กัมพูชาเรียกร้องจีนสนับสนุนการนำเข้าข้าวสารเพิ่ม

กระทรวงพาณิชย์ (MoC) กล่าวว่ามีแผนที่จะเจรจาปัญหากับคู่ค้าของจีนในปีนี้ สำหรับการขอความสนับสนุนให้จีนเพิ่มโควต้าการนำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาเป็น 500,000 ตัน ซึ่งกำหนดเดิมจีนกำหนดโควต้าการนำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาไว้ที่ 400,000 ตัน โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ซึ่งการส่งออกข้าวของกัมพูชาในไตรมาสแรกของปีนี้สูงถึง 153,688 ตัน สร้างรายได้ 109.73 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขรายงานจาก CRF แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การส่งออกข้าวในปี 2021 อยู่ในทิศทางที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว ส่งผลให้เดือนมีนาคมปริมาณการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50834638/cambodia-wants-china-to-boost-milled-rice-imports/

ผู้เชี่ยวชาญชี้เวียดนามจำเป็นหาตลาดข้าวใหม่ แทนตลาดจีน

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Covid-2019) จะส่งผลต่อการส่งออกของเวียดนามไปยังประเทศจีน สำหรับการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูหนาว-ใบไม้ผลิที่จะเริ่มต้นเก็บเกี่ยวในพื้นที่กู๋ลองยาง (ราบลุ่มแม่น้ำโขง) ทั้งนี้ ในจังหวัดเหิ่วซางมีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ที่ 1,000 เฮกตาร์ ได้รับผลกระทบจากการรุกตัวของน้ำเค็ม แต่ชาวเกษตรได้เก็บเกี่ยวข้าวก่อนที่จะได้รับผลกระทบอยู่หลายร้อยเฮกตาร์และผลผลิตเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 7.7 ตันต่อเฮกตาร์ ในส่วนราคาสินค้าเกษตรยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากต้องหาตลาดใหม่ นอกจากนี้ ทางบริษัท VinaFood เปิดเผยว่าเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดจีนเป็นตลาดข้าวของเวียดนามรายใหญ่ที่สุด แต่ในปัจจุบันมีการขยายตัวส่งออกไปยังหลายๆประเทศ แสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของไวรัสอาจไม่กระทบมากนักต่อการส่งออกของเวียดนาม ซึ่งในปีที่แล้ว ตลาดฟิลิปปินส์ถือเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ที่วุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 885 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงควรขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ได้แก่ แอฟริกาและตะวันออกลาง เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592304/viet-nam-needs-to-find-new-rice-markets-to-replace-china-experts.html

พาณิชย์แนะชิงตลาดข้าวอิรักหลังเวียดนามแชมป์ 2 ปี ซ้อน

“ทูตพาณิชย์” แนะช่องทางส่งออกข้าวไปอิรัก ชี้เป็นตลาดศักยภาพสูงแต่สถิติชี้ 3 ปีย้อนหลังไร้ข้าวไทยในตลาดอิรักสวนทางเวียดนามครองตลาด 2 ปีซ้อน ตามที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุถึงการส่งออกไปยังตลาดอิรักที่เคยเป็นตลาดส่งออกข้าวเดิมของไทยแต่ปัจจุบันหยุดชะงักไปนั้น โดยปัจจุบันอิรักกำหนดการนำเข้าข้าวใน 2 รูปแบบได้แก่ การนำเข้าโดยรัฐบาล หน่วยงาน Grain Board – Ministry of Trade ของรัฐบาลนําเข้าข้าวโดยการประมูล เพื่อใช้ในระบบจัดสรรอาหารภาครัฐเพื่อประชาชน ส่วนรูปแบบที่ 2 ได้แก่ การนำเข้า ข้าวคุณภาพดีนําเข้าโดยเอกชน อิรักนำเข้าข้าวเฉลี่ยปีละ7 แสน – 1 ล้านตัน โดยการนำเข้าสูงสุดเมื่อปี 55 ปริมาณ 1.2 ล้านตัน เป็นการนำเข้าจากประเทศไทย 8.7 แสนตัน รองลงมาคือ สหรัฐ 2.7 แสนตัน ขณะที่สถิตินำเข้าย้อนหลัง 3 ปี พบว่าไม่ได้นำเข้าข้าวจากไทยอีกเลย โดยปี 59 นำเข้ารวม 3.6 แสนตัน เป็นการนำเข้าจากอินเดียสูงสุด 1.79 แสนตัน ปี 60 ปริมาณรวม 3.07 แสนตัน เป็นการนำเข้าจากเวียดนามสูงสุด 1.2 แสนตัน และ ปี 61 ปริมาณนำเข้ารวม 7.35 แสนตัน เป็นการนำเข้าจากเวียดนามสูงสุด 3.2 แสนตัน จากรายงาน การส่งออกข้าวในช่วงเดือนม.ค.-ก.ค. 62 มีปริมาณรวม 4.9 ล้านตัน โดยปริมาณส่งออกลดลง 21.6% มูลค่า 8.18 ล้านบาท ลดลง 18.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 61 ที่มีการส่งออกปริมาณ 6.3 ล้านตัน มูลค่า 100,826 ล้านบาท ส่วนการส่งออกทั้งปี 61ปริมาณ 11 ล้านตัน ส่วนการส่งออกเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ปริมาณ 5.4 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมิ.ย.ที่ส่งออกได้ปริมาณ 5.78 แสนตัน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/845035