ผลกระทบของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หากมีการจัดเก็บ 100% ต่อภาคธุรกิจไทย ครั้งที่ 2

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจผลกระทบของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ครั้งที่ 2 หากมีการจัดเก็บ 100% ต่อภาคธุรกิจไทย จากกลุ่มตัวอย่างหอการค้าจังหวัดและสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศ ผลการศึกษา พบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า หากมีการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างิ ในอัตราปกติ (100%) ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 90.6) ส่งผลให้ต้องเสียภาษีโดยรวมต่ำกว่า 1 แสนบาท (ร้อยละ 32.) และเมื่อพิจารณาภาษีที่ถูกจัดเก็บ คิดเป็นสัดส่วน 1-20% เมื่อเทียบกับรายได้ของธุรกิจ (ร้อยละ 73.7) โดยมีค่าฉลี่ยอยู่ที่ 15.2%

ด้านแนวทางในการรับมือหรือปรับตัวหากภาครัฐจะกลับมาเก็บภาษีฯ ในอัตราปกติ (100%) คือ

  • ควบคุมและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ อาทิเช่น ลดการจ้างงาน ลดต้นทุนในการผลิตลง ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
  • พิจารณาปรับเพิ่มราคาสินค้า/บริการให้สอดรับกับต้นทุนที่อาจจะเพิ่มขึ้น
  • ปรับแผนการในการดำเนินธุรกิจ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น
  • ชะลอการขยายธุรกิจ การลงทุน ในระยะสั้นไปก่อน และอาจจะพิจารณาเลิกกิจการหรือปิดกิจการเป็นการชั่วคราว l

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ คือ

  • ขยายการลดหย่อนภาษีออกไปอีก 1-2 ปี หรือจนกว่าเศรษฐกิจและธุรกิจจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
  • ปรับปรุงเงื่อนไขในการจัดเก็บภาษี โดยพิจารณาอ้างอิงจากประเภทธุรกิจ รวมถึงรายได้ของธุรกิจมาคำนวณในการจัดเก็บ เพื่อความเป็นธรรม
  • อยากให้จัดเก็บเป็นรูปแบบขั้นบันได ให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่น ทยอยเก็บเพิ่มขึ้นปีละ 5-10%
  • ออกนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการ โรงแรม/บ้านเช่า/หอ/อพาร์ตเมนต์ ที่อยู่ในวงจรธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัย
  • ไม่ควรจัดเก็บหรือทำการปรับขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย                                                        เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3fNBRNJ

ผลกระทบของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หากมีการจัดเก็บ 100% ต่อภาคธุรกิจไทย ครั้งที่ 1

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจผลกระทบของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ครั้งที่ 1 หากมีการจัดเก็บ 100% ต่อภาคธุรกิจไทย จากกลุ่มตัวอย่างภาคธุรกิจทั่วประเทศ จำนวน 1,252 ราย ผลการศึกษา พบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลยกเลิกการลดหย่อน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่อัตรา 90% ในปี 2565 ( ร้อยละ 84.1)  หากมีการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างิ ในอัตราปกติ (100%) จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 88.1) เมื่อรัฐบาลมีการยกเลิกการลดหย่อนภาษีฯ จะส่งผลกระทบโดยรวมต่อธุรกิจโดยรวมต่ำกว่า 5 แสนบาท (ร้อยละ 69.5) จากสถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างคิดว่าไม่เหมาะสมที่ภาครัฐจะดำเนินการจัดเก็บภาษีฯ ในอัตราปกติ (100%) (ร้อยละ 92.2) เหตุเพราะว่าสภาวะเศรษฐกิจยังไม่กลับสู่ภาวะปกติและมีความเปราะบาง(ร้อยละ 44.2) ส่วนเวลาที่เหมาะสมแก่การที่ภาครัฐจะกลับมาเก็บภาษีฯ ในอัตราปกติ (100%) พบว่าไม่สามารถคาดการณ์ได้ (ร้อยละ 62.8) ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน มาตรการหรือความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ต้องการได้รับมากที่สุดคือ ขยายกรอบระยะเวลาการลดหย่อนภาษีฯ  (ร้อยละ 30.2) หากภาครัฐขยายกรอบระยะเวลาในการยกเว้นการจัดเก็บภาษีฯ ออกไปในปี 2565-66 กลุ่มตัวอย่างจะนำเงินในส่วนที่จะต้องชำระภาษี ไปใช้รักษาสภาพคล่องของธุรกิจ (ร้อยละ 27.5) สิ่งที่อยากให้ภาครัฐดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขในกระบวน การจัดเก็บภาษีฯ  คือ หลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (ร้อยละ 23.0) หากจำเป็นต้องปรับอัตราภาษีฯ ในอัตราปกติ (100%) กลุ่มตัวอย่างเห็นว่ารัฐบาลควรลดอัตราภาษีลง เพื่อลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจ (ร้อยละ 32.0) และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีฯ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ คือ ลดอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อไม่เป็นการเพิ่มภาระแก่ธุรกิจ (ร้อยละ 40.4)

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย                                 เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3MfXiTD