การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรปในปี 2020

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรปมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 3.863 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับตัวเลขที่ได้ถูกบันทึกไว้ในปี 2019 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการระบาดของโควิด-19 และ Brexit ซึ่งกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป 3.203 พันล้านดอลลาร์ และได้ทำการนำเข้าสินค้าจากสหภาพยุโรปจำนวน 659 ล้านดอลลาร์ ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 คณะกรรมาธิการยุโรปแนะนำให้สหภาพยุโรปถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) ที่ให้แก่กัมพูชาร้อยละ 20 ของข้อตกลงการค้าภายใต้สิทธิพิเศษ โดยอ้างว่ากัมพูชาละเมิดสิทธิมนุษยชนและแรงงาน รวมถึงเรื่องของประชาธิปไตยภายในกัมพูชาเป็นหลัก ซึ่งทางสหภาพยุโรปได้ถอดถอนสัตยาบันไปแล้วเมื่อวันที่ 12 สิงหาคมปีที่แล้ว โดยสหภาพยุโรปได้รับการจัดอันดับให้เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของกัมพูชาในปี 2019 โดยคิดเป็นร้อยละ 11.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50819696/trade-with-eu-valued-at-3-8-billion-in-2020/

สนค. ชี้ส่งออก2563 มีโอกาสบวก เปิดลิสต์ “30 สินค้าดาวเด่น”

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออก 2563 คาดการณ์จะกลับมาดีขึ้น จากปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ คือ เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว โดย IMF คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 3.3 % ในปี 63 ท่าทีความพร้อมในการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของหลายประเทศ สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่เริ่มผ่อนคลายจากการลงนามข้อตกลงทางการค้าระยะแรก (Phase-1 Deal) สถานการณ์ Brexit มีความชัดเจนแล้ว และมีช่วงเปลี่ยนผ่านจนถึงสิ้นปี 2563 ซึ่งจะยังไม่ส่งกระทบต่อผู้ประกอบการไทย และค่าเงินบาทเริ่มมีแนวโน้มอ่อนค่าลง  ทั้งนี้ สนค. จึงได้ทำการวิเคราะห์สินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกขยายตัวได้ดี และควรที่จะเร่งผลักดันการส่งออกเพิ่มมากขึ้นในปี 2563 โดยพบว่ามีสินค้ากว่า 30 รายการ ครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตรและอาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม สำหรับสินค้าทั้ง 30 รายการ ในกลุ่มของสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง นมและผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เครื่องดื่ม สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องส่งวิทยุ โทรเลข โทรศัพท์ นาฬิกาและส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องสำอางสบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว  ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ส่วนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศจีน ยังไม่น่ากระทบต่อการส่งออกไทยในระยะสั้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารที่มีมูลค่าสูงในตลาดจีน เพราะมีอุปสงค์ซื้อสินค้าอาหารไทยที่มีความปลอดภัยและคุณภาพดีอย่างต่อเนื่อง ทางด้านการรับมือกับผลกระทบจากการที่จะถูกสหรัฐฯ ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่และเตรียมมาตรการรองรับในทุกกรณีอย่างรัดกุม และในด้านการรักษาตลาด มีแผนจัดกิจกรรมนำคณะภาครัฐและเอกชนบุกตลาดเป้าหมายกว่า 18 ประเทศ ในปี 2563 เพื่อรักษาฐานเดิมและขยายตลาดใหม่ที่มีศักยภาพอย่างครอบคลุม และกระจายความเสี่ยงจากมาตรการการค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยมีตลาดเป้าหมายการจัดกิจกรรมในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย บังคลาเทศ CLMV ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร รัสเซีย แอฟริกา แอฟริกาใต้ ตะวันออกกลาง บาห์เรน และออสเตรเลีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-417259